China-ASEAN Information Harbor Forum

China-ASEAN Information Harbor Forum

การประชุม China-ASEAN Information Harbor Forum เปิดเวทีส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

เวทีหลักและเวทีย่อยอีก 9 รายการของการประชุม China-ASEAN Information Harbor Forum ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหนานหนิง กุ้ยหลิน และเป๋ยไห่ ระหว่างวันที่ 11-18 กันยายนนี้ คาดว่าจะดึงดูดแขกและผู้มาร่วมประชุมได้มากกว่า 2,000 ราย ทำสถิติสูงสุดทั้งในแง่ของจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมและขนาดของการจัดงาน

การเจรจาระดับสูงหลายรายการได้ถูกจัดขึ้นระหว่างการประชุม ทั้งการจัดตั้งแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน 5 แพลตฟอร์มในด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย, ความร่วมมือทางเทคนิค, การให้บริการทางเศรษฐกิจและการค้า, การแบ่งปันข้อมูลและการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกัน ตลอดจนการดำเนินงานตามแผนริเริ่ม Belt and Road Initiative, ขับเคลื่อนการก่อตั้งโครงการ China-ASEAN Information Harbor, Digital Silk Road และโครงการเปิดประตูทางใต้ของจีน โดยมีรัฐบาลทำหน้าที่เป็นเวทีให้องค์กรต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับบริษัทและบรรดาพ่อค้าจากทั่วโลก นอกจากนี้ภายในงานยังรวบรวมการประชุม, การจัดแสดงผลงาน, การส่งเสริมโครงการ รวมทั้งการเจรจาทางการค้าและธุรกิจต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ยกเว้นการประชุม Huawei Global Logistics Summit รวมถึงการประชุมรายการย่อยอีก 8 รายการ อาทิ Satellite Industry Cooperation Forum และ Network-based Cultural Development Forum ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองกุ้ยหลินในวันที่ 18 กันยายนนี้

งานประชุม China-ASEAN Information Harbor Forum ปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม โครงการความร่วมมือจำนวนมากที่ได้รับการลงนามภายในงานจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนและประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพิธีลงนามความร่วมมือของโครงการ Guangxi Digital Economy Investment Attraction Cooperation Project ซึ่งจัดขึ้นที่หนานจิงเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ตลอดจนโครงการต่างๆ อีก 35 โครงการที่บริษัทและองค์ต่างๆทั้งจากจีนและต่างประเทศมาลงนามร่วมกัน รวมถึงโครงการความร่วมมือกับ 7 โครงการระหว่างจีนและประเทศในอาเซียน ซึ่งมีทั้งโครงการใหญ่ๆ อย่างการสร้างเมืองอัจฉริยะของมณฑลกว่างซี เพื่อพัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียน ตลอดจนการประสานความร่วมมือและนวัตกรรมเพื่อให้องค์กรต่างๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการของภาครัฐและมอบความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนในพื้นที่ชนบท

นอกจากนี้ ในการประชุมหัวข้อ New Generation Information Technology Industry Innovation & Development Forum ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเป๋ยไห่เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ยังมีการลงนามในโครงการต่างๆ อีก 59 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกันทั้งสิ้นกว่า 2 หมื่นล้านหยวน อาทิ โครงการจัดตั้งสถานีงานของนักวิชาการในเขตอุตสาหกรรมเหอเป่ยโดยนักวิชาการ 4 ราย (เฉิน กัวเหลียง, อี้ เหว่ยหนาน, จ้าว ฟาเจิน และ เจิ้ง เจี้ยนหัว), โครงการ CEC Beibu Gulf Information Port (เฟส 2), สมาพันธ์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, สถาบัน AI สาขาเป๋ยไห่, สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคและศูนย์ R&D ของ Huaxin Mining ตลอดจนกองทุน RedHorse Fund และบริษัท AsiaInfo เป็นต้น