นักวิทยาศาสตร์พ่อ-ลูกจาก 2 มหาวิทยาลัยดังนิวซีแลนด์สุดเจ๋ง

นักวิทยาศาสตร์พ่อ-ลูกจาก 2 มหาวิทยาลัยดังนิวซีแลนด์สุดเจ๋ง

เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ ของเซิร์น ช่วยในการวินิจฉัยโรค ชี้จุดมะเร็งและก้อนเนื้องอกได้แม่นยำมากขึ้น

โครงการพัฒนาเทคโนโลยีครั้งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของศาสตราจารย์ฟิล บัตเลอร์ (Professor PhilButler) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่ (University of Canterbury) และศาสตราจารย์แอนโธนี่ บัตเลอร์ (ProfessorAnthony Butler) นักรังสีวิทยาจากมหาวิทยาลัยโอทาโก้ (University of Otago) ประเทศนิวซีแลนด์ ในการนำเทคโนโลยีของเซิร์นที่เรียกว่า “เมดิพิกซ์” (Medipix) ช่วยปรับปรุงการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ ทำงานคล้ายกล้องตรวจจับ และนับอนุภาคที่ชนเข้ากับแต่ละจุดภาพ (Pixel) ขณะที่เปิดชัตเตอร์จะช่วยให้ได้ภาพที่มีความละเอียดและมีค่าเปรียบต่าง (Contrast) ที่สูงขึ้น

องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organisation for Nuclear Research) หรือองค์การเซิร์น (CERN) เผยว่า นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ได้พัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่จะเปลี่ยนโฉมการใช้เทคโนโลยีรักสีเอกซ์แบบขาว-ดำผสมมาเป็นแบบสี ซึ่งเมื่อนำเครื่องแฮดรอนมาพัฒนาสร้างถ่ายภาพรังสีเอกซ์แบบใหม่ ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดคมชัดสูงและแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างกระดูกกล้ามเนื้อและกระดูกอ่อน รวมถึงตำแหน่งและขนาดที่ชัดเจนของมะเร็งและก้อนเนื้องอกด้วย

ศ.แอนโธนี บัตเลอร์ กล่าวว่าหลังจากทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนามันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอย่างยิ่งที่ได้มาถึงจุดที่เห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีนี้จะนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้ โดยภาพเอกซ์เรย์สีสามมิตินี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวัดส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น ไขมัน น้ำ แคลเซียม และสัญญาณอื่นๆของโรค ซึ่งรังสีเอกซ์ขาว-ดำแบบดั้งเดิมสามารถวัดได้แค่ความหนาแน่นและรูปร่างของอวัยวะ

ด้าน .ฟิล บัตเลอร์ เสริมว่าเครื่องถ่ายภาพที่มีจุดขนาดเล็กและความละเอียดของพลังที่แม่นยำนั้น จะทำให้เราได้ภาพถ่ายที่ไม่สามารถหาได้จากภาพถ่ายอื่นๆ โดยจะปฏิวัติวงการแพทย์ทั่วโลกด้านการวินิจฉัยและการรักษา ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและอื่นๆ เนื่องจากมีรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับส่วนประกอบทางเคมีของร่างกาย นับเป็นมิติใหม่ที่ปฏิวัติวงการแพทย์ ที่จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ภายในตัวผู้ป่วยได้อย่างไม่จำกัด