สนุกแบบสร้างสรรค์เที่ยวเมืองน่านกับ อพท.

สนุกแบบสร้างสรรค์เที่ยวเมืองน่านกับ อพท.

แหล่งโบราณสถานที่ทรงคุณค่า อาทิ เมืองเก่าน่าน เวียงพระธาตุแช่แห้ง กำแพงเมืองและคูเมืองโบราณ แหล่งโบราณคดีชุมชนดอยภูซาง และเตาเผาโบราณบ่อสวก

 

มีโอกาสไปร่วมทริปโครงการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท. ที่จังหวัดน่าน โดยต้องขอบคุณอพท.ที่มอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะทำงาน Creative Tourism Brain Bank 

เขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่านครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล รวมพื้นที่ 138.37 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เขตอำเภอเมือง ตำบลในเวียง ตำบลดู่ใต้ ตำบลนาซาว ตำบลบ่อสวก เขตอำเภอภูเพียง ตำบลม่วงตึ๊ด รวมกันเป็นน่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต ซึ่งทริปนี้เราจะมาในภารกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้ความดูแลของอพท.6 ที่ดูแลพื้นที่พิเศษน่าน

ในพื้นที่นี้จะเป็นที่ตั้งชุมชนสมัยประวัติศาสตร์หลายยุคหลายสมัย มีแหล่งโบราณสถานที่ทรงคุณค่าอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ เมืองเก่าน่าน เวียงพระธาตุแช่แห้ง กำแพงเมืองและคูเมืองโบราณ แหล่งโบราณคดีชุมชนดอยภูซาง และเตาเผาโบราณบ่อสวก

ไปน่านทั้งทีต้องแวะวัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์อ.เมืองน่าน จ.น่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้แกะสลัก ลวดลายสวยงาม นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงชีวิต และวัฒนธรรม ที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จุดเด่นบนที่สุดบนภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด เป็นภาพของชายหญิงชาวไทลื้อในสมัย โบราณกําลังกระซิบสนทนา ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายตามแบบของชาวไทลื้อเต็มยศ ซึ่งภาพนี้ ถูกเรียกว่า ‘ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน’ 

ไปที่วัดสวยมากอีกแห่ง วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ เป็นที่ประดิษฐานของ เสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี พ.ศ.2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียก เสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง

ถึงเวลาเรียนรู้สินค้าสร้างสรรค์กันแล้ว เริ่มการทำโคมมะเต้าที่ บ้านม่วงตึ๊ด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง โคมมะเต้า คือ โคมของเมืองน่าน ใช้สําหรับแขวน สําหรับการประดิษฐ์โคมนั้น ประกอบ ด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ คือการขึ้น รูปด้วยโครงไม้ไผ่จากนั้นติดกระดาษ และตกแต่ง ให้สวยงาม

จากนั้นเราได้ไปถวายโคมเมืองน่าน ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง วัดที่ประดิษฐาน พระธาตุประจำปีเถาะ(กระต่าย) ตามความเชื่อของคนล้านนา

ได้ทำกิจกรรมถัดมา  คือการเรียนรู้การจักสาน ที่ชุมชนบ้านต้าม ในบ่อสวก ทำความรู้จักเครื่องจักสานที่ เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน ของคนบ้านต้าม รวมไปถึงเครื่องจักสานที่ใช้ใน พิธีกรรมของชุมชน คือ “ตาแหลว” ประเภท ต่างๆ  เช่น ตาแหลวหมายนา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สําคัญก่อน การเริ่มทํานาเป็นต้น

อีกกิจกรรมคือการทำ ตุงค่าคิง ตุง คือ ธงแขวนในวัฒนธรรมล้านนา “ตุงค่าคิง” (ตุงก้าคิง) หรือตุงที่ขนาดความยาว เท่ากับความสูงของผู้ทําหรือผู้อุทิศ (ค่า-เท่ากับ, คิง-ตนเอง) โดยถือว่าเป็นการทําเพื่อการสะเดาะห์ เคราะห์หรือจัดทําขึ้นในช่วงพิธีสงกรานต์หรือช่วงปีใหม่ของล้านนา พอทำเสร็จเราก็นำไปถวายในวัดพระเกิด

ขอขอบคุณ

พันเอกดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการอพท.

ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์  Perfect Link Consulting Group

ที่นำเสนอการเดินทางของ Travelista นักเดินทาง

ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยวได้ที่ www.bloggertravelista.com

https://www.facebook.com/Mediabloggerclub