มาสเตอร์การ์ดแนะนำเคล็ดลับป้องกันข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัย

มาสเตอร์การ์ดแนะนำเคล็ดลับป้องกันข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัย

ผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีด้านการชำระเงินระดับโลกขอแนะนำเกล็ดน่ารู้เล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณหมดกังวลกับการดูแลรักษาข้อมูลที่สำคัญของคุณ

 

ในปี 2561 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยมากถึง 10 ล้านคน[1] เดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องใช้งานระบบออนไลน์ระหว่างเดินทางท่องเที่ยว จากผลสำรวจดัชนีด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Safety and Security Index) พบว่าร้อยละ 35 ของผู้ใช้งาน มีความกังวลเกี่ยวกับการถูกละเมิดข้อมูลจากบรรดาแฮ็คเกอร์บนโลกออนไลน์ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว

 

มาสเตอร์การ์ด ผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีด้านการชำระเงินระดับโลกขอแนะนำเกล็ดน่ารู้เล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณหมดกังวลกับการดูแลรักษาข้อมูลที่สำคัญของคุณระหว่างเดินทาง ไม่ว่าจุดหมายปลายทางนั้นจะเป็นที่ใดก็ตาม

 

  1. 1. หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเครือข่ายไร้สายที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดี

            ปัจจุบันไม่ว่าจะเดินทางท่องเที่ยวในหรือต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่นักเดินทางใช้ประกอบการตัดสินใจในการสำรองที่พักคือการเข้าถึงเครือข่ายไร้สายหรือ WiFi และเมื่อเดินทางถึงจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวแล้ว ก็จะพบว่าสามารถค้นเจอสัญญาณไวไฟมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า หรือภายในสถานที่ท่องเที่ยวที่เข้าไปเยี่ยมชม แต่ถ้าเครือข่ายไวไฟขาดความมั่นคงปลอดภัย การทำธุรกรรมออนไลน์ เช่นการสำรองที่พัก หรือตั๋วเดินทางเพิ่มเติมในระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยว อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแฮกเกอร์จารกรรมข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นหากต้องมีการให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญบนระบบออนไลน์ ควรเชื่อมต่อระบบไวไฟที่มีระบบการป้องกันที่ดีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีการใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน

 

 

 

 

  1. 2. สังเกตสัญลักษณ์ “กุญแจสีเขียว” สำหรับเว็ปไซต์ที่มีความปลอดภัย

            เมื่อต้องชำระเงินด้วยบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตผ่านระบบออนไลน์ทุกครั้ง เว็ปไซต์ที่ทำธุรกรรมการเงินจะต้องมีรูป ‘กุญแจสีเขียว’ ปรากฏบนหน้า URL เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่า เว็บไซต์นั้น ๆ มีการเข้ารหัสระบบรักษาความปลอดภัยเอาไว้ ซึ่งก็คือ HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) เว็บไซต์ของธนาคาร หรือเว็บไซต์ที่มีการเก็บข้อมูลสำคัญ ๆ หรือเว็บไซต์ที่ขายสินค้าออนไลน์ เรามักจะเห็น HTTPS บนเว็บที่ต้องการความปลอดภัยสูง

  1. ลบข้อมูลการใช้งานทุกครั้งหลังใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

            หลีกเลี่ยงการใช้งานธนาคารออนไลน์หรือทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ เพราะเราไม่สามารถแน่ใจในความมั่นคงปลอดภัยได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้งาน หลังการใช้งานทุกครั้ง จะต้องลบประวัติการใช้งานและแฟ้มข้อมูลเสมอ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลที่สำคัญ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต การชำระเงิน จะไม่ถูกทิ้งไว้ในเครื่อง และถูกนำไปใช้งานได้

 

 

  1. 4. ใช้รหัสผ่านเพื่อปกป้องข้อมูลของคุณ

            ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) อย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยทุก 3 เดือน) ไม่เขียนรหัสผ่านทิ้งไว้ในที่ที่ผู้อื่นอาจพบเห็นได้ และควรตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การคาดเดา ไม่ควรนำ วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน หรือหมายเลขทะเบียนรถมาใช้เป็นรหัสผ่าน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลของคุณจะได้รับการป้องกันความปลอดภัย คุณควรตั้งรหัสผ่านในมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ของคุณในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว และควรตั้งให้มีการล็อคเครื่องอัตโนมัติหากไม่มีการใช้งานภายในสองสามนาที เพียงเท่านี้ ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ของคุณก็ปลอดภัยไร้กังวล

 

 

ข้อแนะนำที่กล่าวถึงข้างต้นนี้สามารถช่วยให้ท่านเดินทางท่องเที่ยวได้ด้วยความสบายใจ แต่อาจช่วยได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นระหว่างเดินทางท่องเที่ยวควรเพิ่มความระมัดระวังและพึงระลึกไว้เสมอว่าการกระทำธุรกรรมต่างๆ มีความเสี่ยงเสมอ

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการชำระเงิน สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่

 

 

ต้องการข้อมูล กรุณาติดต่อ:

เวเบอร์ แชนด์วิค โทรศัพท์ +662 343 6000

บรรยง หอมอบ อีเมล [email protected] ต่อ 183

รุ่งนภา ชาญวิเศษ อีเมล [email protected] ต่อ 061

 

 

[1] https://goo.gl/qjGGWY