ดีป้า ร่วมมือ VISTEC พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเฉพาะทาง

ดีป้า ร่วมมือ VISTEC พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเฉพาะทาง

 

ดีป้า ร่วมมือ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) นวัตกรรมดิจิทัลเฉพาะทาง พร้อมเสริมเขี้ยวเล็บเอสเอ็มอี หวังดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายผงาดในอีอีซี

สวิสโซเทลเลอคองคอร์ด– เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ลงนามความร่วมมือกับสถาบันวิทยสิริเมธี (Vidyasirimedhi institute of Science and Technology, VISTEC)ในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลด้าน Data Science, IOTและ AI รวมถึงร่วมมือด้านขับเคลื่อนสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลโดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยาน

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตโดยอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นอีก ๙ อุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) จึงได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลขึ้น เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 ตามข้อเสนอของกระทรวงดีอี ให้เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีดีป้าเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ดำเนินการจัดตั้งสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานของการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นอีกทั้ง 9 อุตสาหกรรม

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการดีป้า กล่าวว่า ดีป้าได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัล โดยการจัดตั้งสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์ทดสอบนวัตกรรมดิจิทัลด้านไอโอที ศูนย์กลางการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ดีป้ายังตั้งเป้าให้สถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นพื้นที่เปิดสำหรับ “IOT และ AI Maker” ได้แสดงความสามารถ แสดงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และแสดงพลังของการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมดิจิทัลที่ภาคเอกชนและประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจและการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยตั้งเป้าให้เกิดอุตสาหกรรมดิจิทัลใหม่ ที่เป็น Deep Tech Innovation Maker ของไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ โดยกลไกการทำงานของสถาบันจะดำเนินการผ่านเครือข่ายพันธมิตรไอโอทีสากล (International IOT Alliance) ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนตั้งแต่สถาบันการศึกษา ธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจ SME วิสาหกิจเทคโนโลยี

ดิจิทัลเริ่มต้นและประชาชนทั่วไป โดยดีป้าจะทำหน้าที่ “ส่งเสริมและสนับสนุน” ให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ และนำนวัตกรรมดิจิทัลของไทยออกไปสู่ตลาดระดับอาเซียน

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ภายใต้สถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล จะเริ่มทยอยออกมามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากการจัดมหกรรม IOT Bootcamp ร่วมกับ AIS และ Microsoft ปลายเดือนมิถุนายนการจัดInternational IOT Conference เดือนกรกฎาคม กิจกรรมสร้าง IOT Youth Maker เดือนสิงหาคม จนกว่าจะถึงงานใหญ่ของเรา การประกาศเปิดตัวสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเป็นทางการที่งานมหกรรมDigital Thailand Big Bang 2018ในเดือนกันยายนนี้

สำหรับความร่วมมือกับสถาบันฯ  ดีป้าจะให้การสนับสนุนการพัฒนากำลังคนดิจิทัลด้าน IOT, AI และ Data Science ผ่านมาตรการส่งเสริมของทางดีป้า นอกจากนี้ ยังจะร่วมพัฒนา NationalAI Center ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบบริการ Data Platform เพื่อให้บริการกับธุรกิจ SME ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจด้วยการเป็นแพลตฟอร์มกลางที่จะรวบรวมและจัดหาเครื่องมือ digital solution ด้านต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ SMEsในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0

ด้านศาสตราจารย์ดร.จำรัสลิ้มตระกูลอธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) กล่าวว่าVISTEC มีอาจารย์และบุคลากรที่มีความสามารถในด้านData Science, AI, Deep Learning มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร

IEEE จำนวนมากทางVISTEC จึงมีความมั่นใจที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางอุตสาหกรรมและความร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมศึกษาและส่งเสริมกานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งร่วมพัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลยุคใหม่สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการSMEs ตลอดจนร่วมเผยแพร่และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อช่วยยกระดับและเปลี่ยนผ่านธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสู่ยุคดิจิทัลในการจัดการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่หรือBig Data นอกจากนี้ยังร่วมส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมดิจิทัลอีกด้วย