ร่วมส่งกำลังให้ผู้ป่วยโรคลมชัก ในโครงการ From Hat to Heart

ร่วมส่งกำลังให้ผู้ป่วยโรคลมชัก ในโครงการ From Hat to Heart

 

ร่วมส่งกำลังให้ผู้ป่วยโรคลมชัก ในโครงการ From Hat to Heart มากกว่า “ใส่หมวกคือใส่ใจ” 

โครงการ From Hat to Heart มากกว่าการใส่หมวกคือการใส่ใจ เดินหน้ารณรงค์พร้อมสร้างความเข้าใจในผู้ป่วยโรคลมชัก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ให้ความรู้ในการป้องการอาการของโรคลมชักที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลานั้น ซึ่งอาจมีผลกระทบกับร่างกายของผู้ป่วยและสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก ขอเชิญชวนร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ป่วยโรคลมชักหรือครอบครัวที่ไม่มีอาชีพหรือขาดรายได้ในโครงการ From Hat to Heart มากกว่าการใส่หมวก คือ การใส่ใจ

โครงการ From Hat to Heart มากกว่าการใส่หมวกคือการใส่ใจ นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมศักดิ์ เทียมเก่า หัวหน้ากลุ่มวิจัยโรคลมชักแบบบูรณาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายแพทย์ สมชาย โตวณะบุตร แพทย์ทรงคุณวุฒิทางประสาทวิทยา ที่ปรึกษากรมการแพทย์ เลขาธิการมูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา อดีตนายกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย สนับสนุนโครงการโดย บริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมชักที่มีผลกระทบทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว โดยเฉพาะผลกระทบทาง ด้านร่างกาย สังคมและพฤติกรรม ตลอดจนเพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคลมชักเป็นไปอย่างเหมาะสมและให้สังคมเห็นความสำคัญที่จะให้ความรักความเอาใจใสต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก สิ้นสุดโครงการ วันที่ 31 พฤษภาคมนี้

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมศักดิ์ กล่าวถึงภาพรวมความสำคัญของโรคลมชักว่า

“โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมและภาวะอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยได้มาหลังกำเนิด โดยเป็นความผิดปกติของสมองและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่แรก ๆ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งร่างกาย จิตใจ คุณภาพชีวิตและสังคม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ขณะที่ นายแพทย์ สมชาย กล่าวเพิ่มเติมถึงผลกระทบที่สำคัญของโรคลมชักจนกลายเป็นที่มาของโครงการ From Hat to Heart มากกว่าการใส่หมวกคือการใส่ใจว่า

“ปัญหาของผู้ป่วยโรคลมชักที่สำคัญ คือ ผลกระทบทางด้านร่างกายที่ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงกับการกระทบกระเทือนของศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสมอง ผู้ป่วยบางรายควรใส่หมวกกันน็อกในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันศีรษะและสมอง จากการกระทบกระเทือนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในผู้ป่วยโรคลมชัก ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่อาจจะเกิดอาการชักอย่างเฉียบพลันนี้ ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวควรมีความรู้และสามารถดูแล หรือช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องในการดูแลขั้นพื้นฐานได้อีกด้วย”

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคลมชักยังมีปัญหาอื่นๆ อีกด้วย อย่างปัญหาการเรียนรู้ช้าซึ่งมีผลกระทบต่อโอกาสหรือความสำเร็จทางการศึกษา หรือแม้แต่โอกาสได้รับการจ้างงาน หรือพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ชอบอยู่คนเดียว รู้สึกแปลกแยกและปลีกตัวจากสังคม มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าคนปกติหลายเท่า”

เภสัชกร ณัฐพันธุ์ ได้กล่าวในฐานะผู้ร่วมรณรงค์และสนับสนุนโครงการว่า เนื่องจากปัญหาของผู้ป่วยโรคลมชักนั้นวิกฤติมากกว่าที่หลายคนจะคาดคิดได้ เราจึงได้ จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อรณรงค์และสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับสังคมไทยและร่วมกันสนับสนุนโครงการ เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาให้กับสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคลมชักต่อไป

“ที่สำคัญ ทางโครงการต้องการร่วมกันรณรงค์สร้างความเข้าใจของผู้ป่วยเป็นหลัก พร้อมทั้งบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยหรือครอบครัวที่ไม่มีอาชีพหรือขาดรายได้ โดยในครั้งนี้ เราได้รณรงค์ให้

ร่วมบริจาคสมทบทุนโดยตรงให้แก่ผู้ป่วยโรคลมชักและครอบครัวผ่าน โครงการ From Hat To Heart  มากกว่าการใส่หมวก คือการใส่ใจ ชื่อบัญชี “กองทุนศึกษาวิจัยโรคลมชัก” ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 551-284003-5   หรือ ร่วมบริจาคผ่าน ​SMS เพียงพิมพ์ FH และส่งมาที่เบอร์ 414-1111 ครั้งละ10 บาท

พร้อมกันนี้ ยังสามารถร่วมกิจกรรม เพื่อแสดงถึงความเข้าใจในโรคลมชัก เพื่อลดความแตกต่าง และร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใส่หมวกอะไรก็ได้น่ารักๆ พร้อมถ่ายรูปเซลฟี่ลงเฟซบุ๊ค,อินสตาแกม หรือ ทวิตเตอร์แล้วติด #fromhattoheart จากนั้น แท็กเพื่อนๆ 3 คน เพื่อเชิญชวนให้เข้ามาร่วมโครงการ From Hat to Heart  ถึง 31 พ.ค.นี้