ทีเซล สานพลัง 4 องค์กรขับเคลื่อนโครงการ SPRINT

ทีเซล สานพลัง 4 องค์กรขับเคลื่อนโครงการ SPRINT

ทีเซล สานพลัง 4 องค์กรขับเคลื่อนโครงการ SPRINT เสริมศักยภาพให้ Startup Deep Tech


 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซล (TCELS) สานพลังร่วมกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (SCG Chemicals), สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University) Houston Technology Center (HTC ASIA) และ KX Knowledge Exchange for Innovationเปิดตัวโครงการ SPRINTณ ห้องมีทติ้งรูม 4ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯSPRINTเป็น Platform ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตให้กับDeep Tech Startup

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า“โครงการนี้เกิดขึ้นจากการสานพลังร่วมกันระหว่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซล (TCELS) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้าน Life sciencesโดยจัดทำและเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ โดย ทีเซลได้จับมือร่วมกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (SCG Chemicals)ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทยและเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย, สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University)ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผู้ประกอบการ, Houston Technology Center (HTC ASIA)Incubator ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนา Deep TechStartup จากสหรัฐอเมริกาและ KX Knowledge Exchange for Innovationผู้นำในการพัฒนา eco system ให้กับ startup ในประเทศไทย”

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนา หัวกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด กล่าวว่า “เอสซีจี เคมิคอลส์ ร่วมเป็นหนึ่งใน Co-Founder ของโครงการ SPRINT เนื่องจากเราเล็งเห็นถึงศักยภาพในการคิดค้นไอเดียใหม่ๆ ของกลุ่ม Startup ซึ่งเอสซีจี เคมิคอลส์ พร้อมนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาช่วยพัฒนาและต่อยอดให้ไอเดียของ Start Up เกิดขึ้นจริง และสามารถสร้างธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ โดยโครงการ SPRINT จะเน้นการส่งเสริม Startup ในกลุ่มสินค้าและเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ (Advanced Material)ด้านสุขภาพและเครื่องมือแพทย์ (Healthcare and Medical Device)ด้านหุ่นยนต์ (Robotics) รวมทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco friendly technology)”

ดร.นเรศ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในงาน Startup Thailand ครั้งนี้ ทีเซล (TCELS) ได้จัดเสวนาพิเศษให้กับกลุ่ม Startup ที่มีความสนใจในด้าน Healthcare ในหัวข้อ “Being a unicorn in deep tech startup…is it possible?”โดยจุดประกายความเป็นไปได้ในการสร้าง Deep Tech Startup ให้เติบโตจนเป็น Unicorn ที่มีรายได้ระดับ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโครงการ SPRINT สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ Startup Deep Tech เติบโตเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนโดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ ตัวแทน Startup ที่ประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด, ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนา หัวกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัดดำเนินรายการโดย คุณต้องหทัย กุวานนท์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอมสไปร์ จำกัด”

ภายในงานได้จัดให้มีการ Pitching ของทีม Startup โดยทีมผู้ชนะเลิศได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการ SPRINT ได้แก่ ทีม Prognitiveที่นำเสนอไอเดียการทำ Web application สำหรับแลบและโรงพยาบาล เพื่อช่วยนักพันธุศาสตร์ตรวจสอบความผิดปกติของทารกในครรภ์ จากภาพถ่าย โครโมโซม

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ SPRINT สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook Page SPRINT ACCELERATOR THAILAND