กรมวิชาการเคลียร์คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

กรมวิชาการเคลียร์คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

กรมวิชาการเกษตร เคลียร์คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายจาก 50 คำขอ ผ่านการพิจารณาเพียง 9 คำขอ เผยหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนให้ความสำคัญตามนโยบายเกษตร

กรมวิชาการเกษตร  เคลียร์คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายจาก 50 คำขอ  ผ่านการพิจารณาเพียง 9 คำขอ เผยหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนให้ความสำคัญตามนโยบายเกษตรอินทรีย์    ให้ความสำคัญสารสกัดธรรมชาติและสารที่มีพิษน้อยเป็นลำดับแรก   พร้อมประเมินความปลอดภัยรอบด้าน ทั้งข้อมูลพิษวิทยา  ประสิทธิภาพ  และคุณภาพผลิตภัณฑ์

 

นายสุวิทย์   ชัยเกียรติยศ  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่า กรมวิชาการเกษตร มีนโยบายที่สวนทางกับนโยบายของพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯ ที่เคยกล่าวมอบนโยบาย ว่า “ต้องส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกร และผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัย” แต่ปรากฏว่าในการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเมื่อวันที่ 19 มกราคม  2560 มีการพิจารณาเพิ่มเติมแหล่งผลิตสารเคมีมีพิษทางการเกษตร ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เพียงแค่วันเดียวมีมากถึง 50 คำขอด้วยกัน หมายความว่า เป็นการเปิดทางให้มีการนำเข้าวัตถุมีพิษภาคการเกษตร ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น นั้นการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเมื่อวันที่ 19 มกราคม  2560 เป็นการประชุมตามวาระปกติ  เพื่อพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย  ซึ่งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย  มีหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ดังนี้

 

ลำดับแรกให้ความสำคัญกับการพิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มวัตถุอันตรายที่มีความปลอดภัย ได้แก่ สารสกัดจากธรรมชาติ  สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช  และกลุ่มสารเคมีที่ใช้ในพืชอาหาร  มีข้อมูลความเป็นพิษน้อยตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เพื่อสนองตามนโยบายส่งเสริมการทำการเกษตรระบบเกษตรอินทรีย์ของพล.อ.ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ลำดับที่ 2 เป็นสารเคมีที่มีความจำเป็นต้องใช้แต่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในกลุ่มแรก   โดยใช้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงอันตรายและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 

 

ทั้งนี้การพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ข้อ ดังนี้ ข้อมูลพิษวิทยา  ผลการทดลองประสิทธิภาพ  และผลการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์  ซึ่งการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายเป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมปริมาณนำเข้าวัตถุอันตราย  เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช  ป้องกันไม่ให้ผลผลิตเสียหาย  คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน  และที่สำคัญต้องเป็นสารเคมีมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้  ผู้บริโภค  และสิ่งแวดล้อม

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  จากการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเมื่อวันที่ 19 มกราคม  2560 ที่ผ่านมาเป็นการพิจารณาเอกสารคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายจำนวน 50 คำขอ  โดยเป็นคำขอขึ้นทะเบียนในวัตถุอันตรายที่เคยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนแล้วแต่มีผู้ประกอบการรายอื่นประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนสารดังกล่าว   ผลการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ สรุปได้ดังนี้

ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่ามีคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายผ่านการพิจารณารับขึ้นทะเบียนเพียง 9 คำขอ  ไม่ผ่าน 41 คำขอ  โดยแยกเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืช 2   ไม่ใช่พืชอาหาร(เดี่ยว-หลัก) 3  ไม่ใช่พืชอาหาร 14  การทดลองร่วม 22  โดยเป็นคำขอขึ้นทะเบียนในวัตถุอันตรายที่เคยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนแล้วแต่มีผู้ประกอบการรายอื่นประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนสารดังกล่าว