รักษาสิวตามศาสตร์แพทย์แผนจีน

รักษาสิวตามศาสตร์แพทย์แผนจีน

สิวมักจะเกิดจากฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุลร่วมกับการรับประทานอาหารหวานมัน การแพ้อาหาร หรือการแพ้ยาบางชนิด

                               

 

การสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกจะต้องใช้สีหน้าและแววตาในการสื่อความหมายเช่นเดียวกับสุขภาพบนใบหน้าที่สามารถบ่งบอกอาการของโรคได้เช่นกัน ถ้าหากเราสังเกตได้จะทำให้เราเข้าใจได้ถึงสาเหตุการเกิดสิวบนใบหน้านั่นเอง สิวมักจะเกิดจากฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุลร่วมกับการรับประทานอาหารหวานมัน การแพ้อาหาร หรือการแพ้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิดและการมีภาวะผิดปกติภายในร่างกาย การเกิดสิวมี 2 ประเภท คือ 1.สิวฮอร์โมน ตามหลักแพทย์แผนจีน หมายถึงการมีหยาง (หยางในที่นี้ หมายถึงการเจริญเติบโต) ในร่างกายมากเกินไป ซึ่งจะเกิดในช่วงวัยหนุ่มสาวตั้งแต่อายุ 15-25 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ เพราะเมื่อหยางมีมากเกินไป ร่างกายก็จะถูกขับออกมาตรงบริเวณใบหน้า จึงทำให้เกิดเป็นสิวขึ้นบริเวณแก้มทั้งสองข้าง หน้าผาก คอ และบริเวณแผ่นหลัง เมื่ออายุเริ่มใกล้ 25 ปี สิวก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

เกิดจากเซี่ยเจียว หรืออาการของมดลูกที่เย็นเกินไป ทำให้เป็นสิวอักเสบเรื้อรังที่สะท้อนถึงสุขภาพภายในของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงก่อนมีประจำเดือน สิวจะมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ ทั้งเจ็บ ทั้งบวมแดง โดยความรุนแรงอาจเป็นได้ตั้งแต่ตุ่มนูนแดง ไม่มีหัว เกิดซ้ำตรงบริเวณคางทุกครั้ง สาเหตุของสิวอักเสบ หรืออาการของมดลูกเย็น เกิดจากภายในร่างกายมีพลังหยินอยู่ในร่างกายจำนวนมากสาเหตุเกิดจากรับประทานแต่ของที่เย็นมากเกินไป ทำให้อวัยวะภายในร่างกายเลยเย็นขึ้น ส่งผลให้เกิดประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดอาการถ่ายเหลว นั่นเอง

สิวอักเสบนี้รักษาให้หายได้ แต่หากเราเลือกรักษาสิวไม่ถูกวิธีและไม่ต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการดื้อยา มีผลทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งบางครั้งต้องรักษาจากภายในร่างกาย หากไม่ดูแลภายใน อาจจะอันตรายกลายเป็นโรคร้ายโดยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยทางเลือกในการรักษาสิวมีมากมาย แต่วิธีที่เป็นธรรมชาติ ปลอดภัยและกำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ คือวิธีการฝังเข็มพร้อมกับรักษาควบคู่ไปกับสมุนไพรจีน

         อาจารย์หยาง เผยเซิน ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัดอาจารย์หยาง กล่าวว่า การฝังเข็มนั้น มีตั้งแต่สมัยก่อนคริสตศักราช ในยุค “ชุนชิว” (ก่อนปี ค.ศ. 2,100 - 476) ได้มีตำราการแพทย์จีนเล่มแรกเกิดขึ้นโดยไม่ทราบนามผู้แต่งคือ คัมภีร์ “หวงตี้เน่ย์จิง” ซึ่งในคัมภีร์ดังกล่าว มีการกล่าวถึงการรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็มนอกจากจะกระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณและเลือดแล้ว ยังขจัดเลือดลมที่ติดขัด ช่วยปรับการทำงานของอวัยวะภายใน ปรับความสมดุลของหยินและหยาง กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยปรับการทำงานของสารคัดหลั่งได้อีกด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการรักษาโรค โดยปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มนั้นจะทำให้เกิดการหลั่งสาร “แอนเดพฟาลีนและเอนดอร์ฟิน” ที่ช่วยระงับปวด และสาร “ออโตคอย” ที่ช่วยลดการอักเสบได้

ปัจจุบันได้นำการฝังเข็มมารักษาสิวด้วย ตามหลักแพทย์แผนจีนนั้น สิวเกิดจาก ปอดเกิดไฟ ซึ่งปอดเป็นอวัยวะที่เกิดไฟได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มีรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบนอนดึก ทานอาหารฟาสต์ฟู้ด และการร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สะสมความเครียดภายในร่างกาย ก่อให้เกิดการสะสมไฟที่อวัยวะปอด (ฝังเข็มจุดเฟ่ยซู ซึ่งเป็นจุดสะท้อนอวัยวะปอด) ตำแหน่งของจุดเฟ่ยซูนั้นจะอยู่บนบริเวณแผ่นหลัง แต่ในบางคนอาจจะมีการเกิดไฟที่หัวใจ (ฝังเข็มจุดซินซู) หรือเกิดไฟในตับ (ฝังเข็มจุดกานซู) เป็นต้น นอกจากนี้ยังฝังเข็มจุดเทียนซู เพื่อช่วยในการกระตุ้นระบบขับถ่าย (ขับพิษออกทางอุจจาระ) เมื่อเกิดการสะสมของไฟที่มากเกินปกติ จะทำให้กลายเป็นพิษและขับออกมาในรูปแบบของสิวบนใบหน้า

ตามหลักนั้นการบำบัดสิวบนใบหน้าตามหลักการแพทย์แผนจีนนั้น จะใช้การฝังเข็มควบคู่กับยาสมุนไพรจีน เพราะเมื่อเราขับพิษออกโดยใช้วิธีการฝังเข็มแล้ว แต่ความร้อนภายในร่างกายยังอยู่สิ่งเดียวที่จะดับ "ความร้อนภายในร่างกาย" ได้ดีก็คือ การดื่มยาสมุนไพรหรือยาจีนเข้าไป โดยแพทย์แผนจีนจะมีให้เลือกหลายชนิดหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการการเกิดสิวของแต่ละคนว่าเป็นสิวแบบไหน อวัยวะตรงไหนร้อน หมอจีนก็จะจัดยาสมุนไพรที่เหมาะสมกับเฉพาะคนนั้น ดังนั้นในคนที่เป็นสิวอาจจะได้รับยาสมุนไพรจีนแต่ละขนานแตกต่างกัน ยาสมุนไพรจีนจะมีทั้งชนิดเม็ดและชนิดห่อ โดยการรักษาแต่ละครั้ง จะรักษาควบคู่ไปกันกับการฝังเข็ม ซึ่เงป็นขั้นตอนในการรักษาตามศาสตร์ของแพทย์แผนจีน

         อาจารย์หยาง เผยเซินกล่าวทิ้งท้ายว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มที่รับประทานควบคู่กับสมุนไพรจีนนั้น นอกจากจะช่วยบำบัดสิวได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องของการรักษาโรคภูมิแพ้ ไข้หวัด ปวดท้องบริเวณกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย ลดน้ำหนัก เคล็ดขัดยอก ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดข้อศอก รูมาตอยด์ หน้าเบี้ยว หน้ากระตุก นอนไม่หลับ อัมพฤกษ์  เป็นต้น เพราะฉะนั้นการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มจะใช้เวลาและจำนวนครั้งที่มากหรือน้อยเพียงใด ก็จะต้องขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วย คนไข้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา ควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการรักษานั่นเอง

    

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดอาจารย์หยาง โทร.0-2637-0121-2, 086-3785331

หรือที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค คุณมนัสนันท์ โสวรรณา : 0-2439-4600 ต่อ 8305