ชุดจูงใจเด็กตาบอดเรียนรู้อักษรเบรลล์

ชุดจูงใจเด็กตาบอดเรียนรู้อักษรเบรลล์

(มจธ.) จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างผลงานศิลปนิพนธ์ สู่การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจอักษรเบรลล์ของเด็กตาบอดในช่วงอายุ 3-5 ปี

กว่าคนตาบอดจะเรียนรู้และอ่านอักษรเบรลล์ได้นั้น ยากเย็นแค่ไหน เราคนส่วนใหญ่ไม่อาจรับรู้จนกว่าเราจะได้ไปสัมผัสใกล้ชิด ฑิฆัมพร ศรีน้อย นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างผลงานศิลปนิพนธ์ของเขาเพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งที่เห็นกุญแจดอกสำคัญอันนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจอักษรเบรลล์ของเด็กตาบอดในช่วงอายุ 3-5 ปี ถ้าเปรียบเทียบกับเด็กปกติก็ไม่ต่างไปจากการเรียนรู้ ก.ไก่-ฮ.นกฮูก ในชั้นอนุบาล

 เป็นระยะเวลา 4 เดือนกว่า ในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ทิฆัมพร พบว่าเด็กๆ “ไม่อยาก” ที่จะฝึกฝนด้วยตนเอง ระหว่างที่ครูสอน ทำให้ครูต้องเข้ามาควบคุมโดยจับมือกดทะลุเพื่อเรียนอักษรเบลจาก ก.ไก่ -ฮ.นกฮูกชุดจูงใจเด็กตาบอดเรียนรู้อักษรเบล

“เราสังเกตและติดตามการเรียนของเขาไปเรื่อยๆจนสังเกตเห็นพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กๆ เมื่อถูกครูควบคุมมือว่าเขาไม่เต็มใจ ไม่สนุกครูสุนี หินวิเศษ ครูผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น บอกเราว่าแม้ครูจะลองปล่อยให้เด็กฝึกฝนเองโดยไม่บังคับ ก็พบว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะเรียน เลยคิดที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงสำหรับกดอักษรเบลด้วยตนเอง”

ฑิฆัมพร เล่าว่า เธอออกแบบชุดของเล่นเพื่อการเรียนรู้อักษรเบลให้มี 3 รูปร่าง 3 รูปทรง และ 6 การแบ่งส่วน คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม, ทรงกลม ทรงกระบอก และทรงกรวย โดยที่ทรวงกรวยและทรวงกระบอกยังสามารถแบ่งออกเป็นรูปทรงย่อยได้อีก อย่างละ 1 รูปทรง มีหลุมเอาไว้เก็บชิ้นส่วนต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกต่อการนำออกมาใช้งาน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        

 แม้วิธีการเรียนรู้จะต่างกัน แต่เป้าหมายของการเรียนรู้ไม่ต่างกับแบบเดิมคือ เพื่อเรียนรู้อักษรเบลฑิฆัมพร สร้างเป้าหมายในการกดให้เกิดความสนุกขึ้นระหว่างการเรียนรู้และฝึกกล้ามเนื้อมือ โดยดึงจุดเด่นของเด็กๆ ที่มีธรรมชาติของการเล่นสนุก ผ่านเรื่องราวในจินตนาการและประสบการณ์ที่เคยสัมผัส แต่ความยากคือเด็กที่ตาบอด ไม่สามารถมองเห็นได้จึงมีเพียงการสัมผัสและการได้ยินเท่านั้นที่จะสร้างจินตนาการและประสบการณ์ให้เขาได้ การสร้างรูปทรงต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนวิธีการใช้งาน เริ่มต้นจะต้องเปิดฝากล่องออก เพื่อใช้กระดานวางแผ่นกระดาษ ขนาด A4 จากนั้นนำรูปทรงต่างๆ มาวางร้อยเรียงไปตามจินตนาการ และกดไปรอบๆ จนเกิดเป็นรูปทรงและเรื่องราวไปพร้อมๆ กับการได้เรียนรู้อีกทั้งพัฒนาการกล้ามเนื้อมือ ผลงานชิ้นนี้ยังรอผู้ประกอบการที่สนใจนำไปต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของคนพิการทางสายตาต่อไป.//