IARD จับมือผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอัตราการเสียชีวิต

IARD จับมือผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอัตราการเสียชีวิต

IARD จับมือผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สานต่อเป้าหมายของยูเอ็นในการลดอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนน



สหพันธ์นานาชาติเพื่อการดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ (IARD) เปิดเผยรายงานสรุปโครงการต่อต้านการดื่มแล้วขับประจำปี 2558 ที่เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบรรดาผู้ผลิตเบียร์ ไวน์ และสุราชั้นนำทั่วโลก ในการลดอัตราการดื่มแล้วขับ อันเป็นความพยายามระยะยาวในการลดการดื่มแบบอันตรายภายใต้ พันธกิจร่วมของผู้ผลิตเบียร์ ไวน์ และสุรา เนื่องจากตระหนักถึงผลกระทบอันรุนแรงของการดื่มแบบอันตราย เหล่าผู้ผลิตจึงสนับสนุนความพยายามของทั่วโลกในการยกระดับผลลัพธ์ทางสุขภาพและสังคมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ผ่านพันธกิจดังกล่าว

http://photos.prnewswire.com/prnh/20160524/371287LOGO

รายงานนี้ได้สรุปผลสำเร็จตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงความสำเร็จในการเปิดตัวโครงการนำร่องต่างๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดอัตราการดื่มแล้วขับในประเทศจีน โคลัมเบีย เม็กซิโก ไนจีเรีย รัสเซีย และเวียดนาม โดยทาง IARD ซึ่งเป็นเลขาธิการของโครงการ ได้แปรเปลี่ยนโครงการนำร่องดังกล่าวให้เป็นโครงการระดับท้องถิ่นพร้อมให้เงินสนับสนุน และในปี 2558 ก็ได้ขยายความร่วมมือกับหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่มีสาเหตุจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐโดมินิกัน นามิเบีย และแอฟริกาใต้ โครงการเหล่านี้สะท้อนผลการทำงานอันเกิดจากการร่วมมือกับรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรเอ็นจีโอ และบุคคลอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อรับรองประสิทธิภาพและความยั่งยืนของโครงการ อันสะท้อนให้เห็นว่าความร่วมมือจากหลายฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญ

คาร์ลอส บริโต ซีอีโอของ AB InBev และประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า "รายงานของเราแสดงให้เห็นว่าหลายฝ่ายตระหนักถึงการดื่มแล้วขับมากขึ้น ขณะที่อัตราการดื่มแล้วขับก็ปรับตัวลดลงในหลายประเทศที่โครงการของเรามีรากฐานมั่นคงดีแล้ว สำหรับโครงการต่างๆที่ระบุในรายงานนั้น IARD และเหล่าพันธมิตรมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างศักยภาพและการดำเนินโครงการโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อสร้างหลักประกันว่าโครงการเหล่านี้จะมีความยั่งยืนในระยะยาว"

ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้สะท้อนถึงเป้าหมายของพันธกิจในการลดอัตราการดื่มแล้วขับ ทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนของยูเอ็น ในการลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บบนท้องถนนลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2563 ทั้งนี้ โครงการในแต่ละประเทศมีผลสำเร็จดังต่อไปนี้

- ในกัมพูชา จำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการดื่มแล้วขับลดลง 23% ในช่วงเทศกาลน้ำ
- ในจีน IARD ได้ดำเนินโครงการในเมืองต่างๆ 13 แห่ง และได้จัดตั้งวันแห่งการดื่มอย่างมีความรับผิดชอบแห่งชาติเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2558
- ในนามิเบีย มีการริเริ่มโครงการ DUI เพื่อรณรงค์ต่อต้านการดื่มแล้วขับ จนส่งผลให้เกิดการแก้กฎหมายเพื่ออนุญาตให้มีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจเมื่อเดือนธันวาคม 2558
- ในแอฟริกาใต้ โครงการ Young Free Education (YFE) แห่งมหาวิทยาลัยโรดส์ ได้ออกกฎว่าด้วยเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของนักศึกษาฉบับแรกในเดือนตุลาคม 2558

ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น IARD และองค์กรสมาชิกเข้าใจดีว่า การรณรงค์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ IARD จึงสนับสนุนแนวทางที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการดื่มแล้วขับ ได้แก่ การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (BAC) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การออกใบขับขี่แบบ Graduated Licensing การใช้นโยบาย Zero Tolerance รวมทั้งสนับสนุนการให้คำแนะนำ การระงับใบขับขี่ และการใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์

สมัชชาใหญ่ของยูเอ็นได้ประกาศว่าปี 2554-2563 คือทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก

"เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเอ็นข้อ 3.6 ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการบรรลุผล" แอน คีลิ่ง ซีอีโอของ IARD กล่าว "โครงการต่อต้านการดื่มแล้วขับซึ่งเป็นความพยายามภายใต้พันธกิจของบรรดาผู้ผลิต คือตัวอย่างการรับมือกับปัญหาด้านสุขภาพแบบเฉพาะเจาะจงของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือภาครัฐในการลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพ ด้วยการยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน"

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมและอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.producerscommitments.org/

เกี่ยวกับสหพันธ์นานาชาติเพื่อการดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ (IARD)

IARD เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และอุทิศตนเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพระดับโลกอันเกิดจากการดื่มแบบอันตราย ตลอดจนส่งเสริมการดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ IARD ส่งเสริมการใช้กลยุทธ์ขององค์การอนามัยโลกในการลดปัญหาการดื่มแบบอันตราย รวมทั้งสนับสนุนบทบาทอันสร้างสรรค์ของบรรดาผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กำหนดโดยประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงเป้าหมายในการ "ลดการดื่มแบบอันตรายอย่างน้อย 10%" ภายในปี 2568 ที่กำหนดโดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ

บริษัท 12 แห่งที่ร่วมลงนามในพันธกิจนี้ประกอบด้วย Anheuser-Busch InBev, Asahi Group Holdings, Bacardi, Beam Suntory, Brown-Forman Corporation, Carlsberg, Diageo, Heineken, Kirin Holdings Company, Molson Coors, Pernod Ricard และ SABMiller