กนง. เล็งใช้เครื่องมือหลากหลายมิติ ลดความเสี่ยงบางจุดต่อระบบการเงิน

กนง. เล็งใช้เครื่องมือหลากหลายมิติ ลดความเสี่ยงบางจุดต่อระบบการเงิน

รายงาน กนง. ฉบับ ล่าสุดเผย ระบบการเงินยังมีความเสี่ยงบางจุดสร้างความเปราะบางต่อระบบการเงินในอนาคต เห็นควรให้ใช้เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่หลากหลาย พร้อมจับตาปัจจัยภายในและนอกประเทศมีผลต่อเศรษฐกิจระยะปานกลาง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(ฉบับย่อ)ครั้งที่3/2562 ล่าสุดว่า  ระบบการเงินมีความเสี่ยงในบางจุดที่อาจสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพของระบบการเงินในอนาคตคณะกรรมการฯอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลและป้องกันความเสี่ยงบางจุดที่อาจสร้างควาเปราะบางต่อเสถียรภาพระบบการเงินโดยเฉพาะการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่อาจอยู่ในระดับสูง,การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์, การปรับตัวของความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์หลังการออกมาตรการLTV รวมถึงการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

โดยคณะกรรมการฯเห็นว่า การลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะต่อไปยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลด้วยเครื่องมือที่หลากหลายทั้ง1. อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม2. มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน( micro Prudential )อาทิการดูแลมาตรการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน

และสามารถและการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน( macro Prudential )ที่จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้รวมถึงแนวนโยบายอื่นๆเพิ่มเติมอาทิโครงการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน( คลินิกแก้หนี้) การส่งเสริมความรู้และวินัยทางการเงินแก่ประชาชนตลอดจนสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งออกเกณฑ์การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ตามพ.ร.บ. สหกรณ์(ฉบับที่3 ) พ.ศ. 2562 เพื่อให้ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์มีเสถียรภาพที่ดีขึ้น

ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้เพื่อรอประเมินผลกระทบต่างๆให้ชัดเจนขึ้น

ในการตัดสินนโยบายครั้งนี้คณะกรรมการฯได้อธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาดำเนินนโยบายการเงิน ดังนี้1. เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้นอกจากนี้คณะกรรมการเห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศที่ยังมีความเสี่ยงสูง2. ระบบการเงินยังมีความเสี่ยงในบางจุดที่อาจสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพของระบบการเงินในอนาคตคณะกรรมการฯเห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพทางการเงินที่ดำเนินการไปในช่วงก่อนหน้าช่วยลดความเปราะบางในระบบการเงินได้ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ดีการพิจารณาใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เหมาะสมยังจำเป็นสำหรับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินในระยะข้างหน้าโดยคณะกรรมการฯเห็นควรให้ติดตามผลของมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้ศึกษามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงกับของล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อคณะกรรมการฯเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

ในการประชุมครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงการนำประเด็นด้านเสถียรภาพระบบการเงินเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจนโยบายการเงินโดยเห็นควรให้ใช้เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่หลากหลายซึ่งรวมถึงเครื่องชี้วัดวัฏจักรการเงินที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินในหลายมิติทางความเชื่อมโยงในระบบการเงินการประเมินสถานการณ์ในระยะข้างหน้าและการจัดทำscenario planning รวมทั้งการวิเคราะห์ความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของภาคส่วนต่างๆ

ทั้งนี้คณะกรรมการฯเห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการพัฒนาเครื่องชี้และกรอบการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินนโยบายการเงินอย่างเป็นระบบมากขึ้นในระยะต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯได้อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินโดยเห็นว่าในการตัดสินนโยบายครั้งนี้คณะกรรมการจำเป็นต้องรอประเมินผลกระทบจากปัจจัยต่างๆให้ชัดเจนขึ้นเนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันจึงมีความเหมาะสม

สำหรับในระยะข้างหน้าการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามพัฒนาการของข้อมูลเป็นสำคัญโดยจะประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อและเสถียรภาพระบบการเงินรวมทั้งปัจจัยต่างๆอย่างใกล้ชิดเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายที่เหมาะสมในระยะต่อไป

สำหรับภาวะตลาดการเงิน ความกังวลในตลาดการเงินโลกปรับตัวลดลงในระยะสั้นส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมกับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีนักลงทุนอย่างระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์ไทย ส่วนหนึ่งจากความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้เงินทุนในสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นปียังคงไหลออกสุทธิทั้งในตลาดตราสารหนี้ภาครัฐและตลาดหลักทรัพย์

รวมทั้งความกังวลในตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้นอีกทั้งหลังสหรัฐประกาศจะปรับขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติมส่งผลให้ความผันผวนในตลาดการเงินโลกปรับเพิ่มขึ้นการอัตราแลกเปลี่ยนนับจากการประชุมครั้งก่อนเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์  โดยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาททรงตัว

ด้านอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดลองปรับลดลงเล็กน้อยส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนในประเทศเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้นเพราะคาดว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น

คณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลาดการเงินยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าโดยมีสาเหตุหลักจากความไม่แน่นอนทางการเมืองผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งอาจกดดันราคาสินทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนคณะกรรมการจึงเห็นควรให้ติดตามความไม่แน่นอนของปัจจัยในประเทศพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนรวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด

ทางด้านภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวอีกทางได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากนักลงทุนบางส่วนเรื่องการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของแนวนโยบายภาครัฐและความต่อเนื่องของโครงการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้การลงทุนในภาคการผลิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสะท้อนการนำเข้าสินค้าทุนหมวดเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้ตามการลงทุนของภาครัฐที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้พ.ร.บซ ประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2563 ล่าช้าและเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง

อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไทยยังมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อโดยรวมที่อยู่ในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะรายได้ภาคครัวเรือนนอกภาคการเกษตรกรรมรวมทั้งมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายเพิ่มเติมของภาครัฐแต่ยังมีปัจจัยกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงรวมถึงการจ้างงานโดยรวมที่เริ่มทรงตัวและมีสัญญาณการชะลอลงในภาคก่อสร้างและการผลิตเพื่อส่งออก

การส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องส่วนหนึ่ง เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลดีจากการขยายเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม2562 ซึ่งช่วยชดเชยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชะลอลงในบางพื้นที่จากปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในช่วงที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ  คณะกรรมการฯประเมินว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเฉพาะจากเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้รวมช้างโอกาสที่สหราชอาณาจักรอาจออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงลดลง

แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงผลของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนตลอดจนมาตรการภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนของสหรัฐซึ่งจะมีนัยต่อการผลิตการจ้างงานและการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

คณะกรรมการฯจึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและความเสี่ยงต่างๆข้างต้นเพื่อปรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านความเชื่อมโยงในแต่ละช่องทางอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศโดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่อาจทวีความรุนแรงในระยะข้างหน้าและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใน3 ด้าน ได้แก่1 . เศรษฐกิจและการค้าจะชะลอตัวลงและส่งผลต่อไทยผ่านการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุน2 . ด้านการค้าโดยสินค้าไทยที่ส่งไปประกอบในจีนและเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตที่ส่งออกต่อไปยังตลาดสหรัฐจะได้รับผลกระทบ แต่ขณะเดียวกันสินค้าที่ได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มที่สามารถส่งออกไปยังตลาดสหรัฐเพื่อทดแทนสินค้าจากจีน

3.  ด้านการลงทุนซึ่งผู้ประกอบการอาจย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียนและไทย ทั้งนี้คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการกีดกันการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเป็นความเสี่ยงที่สำคัญและยังมีความไม่แน่นอนสูงจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและวิเคราะห์ผลกระทบเชิงลึกมากขึ้น รวมทั้งเห็นว่า สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือการระบายสินค้าจากจีนมาสู่ประเทศที่3 รวมถึงไทย

สำหรับปัจจัยในประเทศคณะกรรมการฯ ประเมินว่า ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศที่สูงขึ้นมีนัยยะต่อแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยตรงผ่านการใช้จ่ายภาครัฐในระยะถัดไปและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการบริโภคภาคเอกชนและความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นอกจากนี้ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่มากขึ้นอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกรและความยั่งยืนของการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไปสำหรับอัตราเงินเฟ้อค่าการระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยส่วนอัตราเงินเฟ้อค่าการระยะยาวทรงตัว