'กฤษฏา' สั่งอ.ส.ค.ส่งนมแทน ดัดหลังผู้ประกอบการเบี้ยวส่ง

'กฤษฏา' สั่งอ.ส.ค.ส่งนมแทน ดัดหลังผู้ประกอบการเบี้ยวส่ง

"กฤษฏา"สั่งอ.ส.ค.ส่งนมแทน ดัดหลังผู้ประกอบการเบี้ยวส่ง อ้างเรื่องได้โควต้าน้อยลง ลั่นถ้าเจอปัญหา โดนหักโควต้าให้รายอื่นทันที ขึ้นประวัติติดลิตส์บกพร่อง

นายกฤษฏา บุญราช รมว. เกษตรและสหกรณ์ กล่าวยืนยันว่าการบริหารจัดการนมโรงเรียนเทอมนี้ประสบความสำเร็จมากกว่าที่ผ่านมา เปรียบเทียบเรื่องร้องเรียน ใช้เวลาประชุมแต่ละครั้งยาวนาน ก็ยังมีร้องเรียน มีนมบูด นมเสีย นมตกคุณภาพ เมื่อนมไปถึงโรงเรียนต่างๆ 

 

ทั้งนี้แม้ว่าการจัดระบบครั้งนี้มีเรื่องเรียนมาบ้าง ได้แก้ไขแล้วเสร็จทุกเรื่อง ปัญหาน้อยกว่าระบบเก่า โดยเทอมแรกนี้ใช้ระบบบริหารที่ปรับใหม่ กระจายการส่งนมออกไปยัง 5 กลุ่มจังหวัด ซี่งสามารถผ่านไปด้วยดี แม้ว่ายังมีปัญหากลุ่ม 5 ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ เพราะจำนวนนักเรียนน้อยลง ผู้ประกอบการมีจำนวนมาก จากการหารือผู้เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าเปิดเรียนวันอังคารนี้ เด็กนักเรียนมีนมคุณภาพดื่ม

 

“สั่งการเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯทุกหน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะกรมปศุสัตว์เท่านั้น ลงไปดูแลทุกโรงเรียน ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีสำนักงานในทุกพื้นที่ 800 กว่าหน่วยประเทศ ลงไปเยี่ยมโรงเรียนต่างๆในโครงการอาหารเสริม ติดตามว่าได้รับนมตรงเวลาไม่บูดเสีย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่เอกชนทำสัญญาซื้อขายไว้ หากมีกรณีส่งนมไม่ครบโดยไม่มีเหตุผล เทอมต่อไปจะโดนลดโควต้า นำโควต้าไปให้รายอื่น จะขึ้นประวัติไว้ด้วยเป็นผู้ประกอบการนมโรงเรียนที่บกพร่อง “นายกฤษฏา 


นายกฤษฏา ได้ส่งไลน์ด่วนที่สุดเรื่อง การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2562 ถึงปลัดเกษตรฯ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรที่เกี่ยวข้องและปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ระบุว่าตามที่ ครม.ได้เห็นชอบให้ กษ.ปรับระบบโครงการนมโรงเรียนสำหรับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศเพื่อแก้ไขปัญหานมไม่มีคุณภาพและการส่งนมไปยังโรงเรียนไม่ตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา นั้น ขณะนี้ กษ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการอาหารเสริม(นม)

 

ดังนั้น จึงขอให้ปศุสัตว์จังหวัดและเกษตรจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการส่งมอบอาหารเสริม (นม) ให้แก่โรงเรียนต่างๆให้ครบทุกแห่งและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนรวมทั้งต้องเป็นน้ำนมที่มีคุณภาพตามสัญญาที่ตกลงไว้กับทางราชการด้วย

 

ทำให้นักเรียนไม่มีนมดื่มตามวันเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผล ก็ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการดังกล่าวส่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพื่อรวบรวมรายชื่อส่งให้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลุ่มพื้นที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเสนอ คณะทำงานพิจารณาโทษ ตรวจสอบกลั่นกรองและพิจารณาลงโทษผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น พิจารณาตัดโควต้าจำนวน/ปริมาณนำ้นมในภาคการศึกษา(เทอม)ต่อไปโดยเคร่งครัด และให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนม(อ.ส.ค.)ได้ส่งนมทดแทนสำหรับโรงเรียนที่ผู้ประกอบการไม่ไปส่งนมโรงเรียนเป็นการชั่วคราวต่อไปด้วย

 

นอกจากนี้ ขอให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตร ทุกเขตตรวจราชการได้ไปตรวจติดตามการดำเนินการตามข้อสั่งการข้างต้นแล้วรายงานผลให้ปลัดกระทรวงฯทราบตั้งแต่ 21 พ.ค.62 ด้วย รวมทั้ง ปลัดกระทรวงเกษตร และ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และผู้เกี่ยวข้องได้เร่งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ในโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียนด้วยว่า ขณะนี้จำนวนนักเรียนในแต่ละปีมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆจึงมีผลให้ปริมาณความต้องการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนลดลงด้วย ผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมก็ต้องเตรียมแผนการตลาดและการเลี้ยงโคนมให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการ (Demand) นมในตลาดด้วย