ลุ้นบวกต่อ

ลุ้นบวกต่อ

SET Index เมื่อวานนี้ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่สาม ถึงแม้ภายในประเทศจะมีประเด็นบวกเรื่องความชัดเจนของการเมือง

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักที่ยังกดดันดัชนี คือ ความกังวลสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ส่อแววยืดเยื้อและมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่หุ้นกลุ่ม Big Cap ที่กดดันตลาดได้แก่ ได้แก่ PTT BDMS และ AOT ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,646.80 จุด (-7.21 จุด) Volume 4.5 หมื่นลบ. จาก Foreign -2,207.03 ลบ. TFEX Net -7,116 สัญญา ตลาดตราสารหนี้ +62 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+ สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงน้อยกว่าคาด ลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 228,000 รายจากที่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 220,000 ราย

+สหรัฐเผยดัชนี PPI ในเดือนเม.ย. +0.2%mom +2.2%yoy สอดคล้องคาดการณ์

-ดาวโจนส์ ลดลง 138.97 จุด -0.54% เพราะใกล้ถึงเส้นตายในการขึ้นอัตราภาษี แต่ดัชนีลบน้อยลงหลังทรัมป์บอกว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุข้อตกลงกับจีนในสัปดาห์นี้

- ราคาน้ำมัน WTI ลดลง 42 เซ็นต์ ปิด $61.70 ต่อบาร์เรลกังวลสงครามการค้าฉุดความต้องการใช้น้ำมัน

- สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งในเดือนมี.ค. -0.1%mom +6.7%yoy ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์คาดการณ์ +0.5%mom

-สหรัฐเผยขาดดุลการค้าในเดือนมี.ค. +1.5% แต่ขาดดุลกับจีนลดลง 16.2%ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

-เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ครั้งในรอบสัปดาห์ขณะที่ฑูตสหรัฐเยือนเกาหลีใต้

-ก.คลังยอมรับเห็นสัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจไทย พร้อมเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก๊อก 2

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD -1.64 หมื่นลบ. ค่าเงินบาท 31.78 บาท/US

**จับตาวันนี้กำหนดวันสุดท้ายแจ้งคืนใบอนุญาติทีวีดิจิตัล

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสบวกต่อจากวานนี้จากความหวังในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนว่าจะตกลงกันได้ โดยมีปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันลดลง และปัจจัยการเมืองในประเทศที่มีความกังวลว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะลงตัวและมีเสถียรภาพมากแค่ไหน  คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,640-1,660 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ : SE-ED COL LPN PSH SPALI QH ROBINS BJC CENTEL ERW
  • หุ้นได้ประโยชน์จากฤดูร้อน : เครื่องปรับอากาศ (SNC KOOL) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (EA BCPG SSP GUNKUL) เครื่องดื่ม(TACC SAPPE ICHI OISHI OSP  CBG

หุ้นรายงานพิเศษ

LPN Analyst Meeting (ราคาปิด 6.80 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 7.68) มุมมอง Neutral

1Q62 มีกำไรสุทธิ 350 ลบ. +17%yoy โดยมีรายได้หลัก 2.8 พันลบ. +12% จากการโอนโครงการพร้อมอยู่ “ลุมพินีสวีท เพชรบุรี” และเริ่มโอนโครงการลุมพินีวิลล์-แบริ่ง  %GP จากรายได้หลัก ปรับดีขึ้นเป็น 34.1% จาก 29.7% ใน 1Q61 ส่วน %NP ปรับดีขึ้นเป็น 12.5% จาก 11.9% ใน 1Q61

ปี 62 ผู้บริหารตั้งเป้ายอดขาย presale 1.65 หมื่นลบ. +6% มีแผนเปิดขายโครงการใหม่มูลค่า 2 หมื่นลบ. +62% และเป้ารายได้จากการโอนโครงการ 1.2 หมื่นลบ. +18% โดยมีคอนโดฯที่มีกำหนดสร้างเสร็จ 6 โครงการมูลค่ารวม 8.1 พันลบ. 4 โครงการมีกำหนดโอนใน Q4 ส่วนโครงการแนวราบมีแผนโอนใน Q4 เช่นกันมี 1 โครงการมูลค่า 600 ลบ. LPN มีสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นการซื้อบ้านหลังแรกราว 2,000 หน่วยมูลค่าราว 1,600 – 1,700 ลบ.คิดเป็น 10% ของพอร์ตสินค้า ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 62 เฉลี่ย 1,541 ลบ. +13%

ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมอง Neutral มองเห็นถึงการเดินหน้าต่ออย่างระมัดระวังในการบริหารสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม โดยแนะนำถือลงทุนระยะยาวรอรับเงินปันผล  IAA Consensus คาด yield สูงน่าสนใจที่ระดับ 8.8%

หุ้นมีข่าว   

·         + TACC (ราคาปิด 4.10 บาท ราคาเหมาะสม 4.64 บาท) รายงานกำไร 1Q62 เท่ากับ 33.4 ลบ.(สูงกว่าที่คาด 40%) +254%QoQ +116%YoY: บริษัทมีรายได้ เท่ากับ 353 ลบ. (สูงกว่าที่คาด 5%) -4.7%QoQ +25%YoY จากยอดขายเครื่องดื่มโถกดเย็นที่เติบโตดี ประกอบกับธุรกิจคาแรคเตอร์มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 50 ราย โดย %GPM ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 29.6% จาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 25.6% เนื่องจากในช่วง 1Q61 ได้รับผลกระทบของภาษีน้ำตาล ส่วน %SG&A ลดลงมาที่ระดับ 17.3% จาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 19% และทำได้ดีกว่าเราคาดไว้ที่ระดับ 22% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 33.4 ลบ. (สูงกว่าที่คาด 40%) +254%QoQ +116%YoY และคิดเป็นสัดส่วน 32.1% ของประมาณการกำไรปี 62 (เตรียมปรับประมาณการเชิงบวก)

·         BCPG (ราคาปิด 17.70 บาท Bloomberg Consensus 18.32 บาท) รายงานกำไรสุทธิ 1Q62 ที่ 492 ลบ.+29%YoY +59%QoQ โดยเติบโตจากเหตุผลต่างๆดังนี้ 1) ต้นทุนขายที่ปรับตัวลดลงราว 14%YoY เนื่องจากในช่วง 1Q61 มีค่าใช้จ่ายจากการโครงการ Nagi และ Nikaho เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศญี่ปุ่น 2)บริษัทมีส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 122 ลบ. เพิ่มขึ้น 2%YoY 3)บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 38 ลบ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 1Q61 ที่ขาดทุนราว 13 ลบ. จากเงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน โดยหากพิจารณาเฉพาะอัตรากำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติของบริษัทจะอยู่ที่ 454 ลบ. +15%YoY +12%QoQ

·         DOD (ราคาปิด 9.70 บาท Bloomberg Consensus 11.30 บาท) รายงานกำไรสุทธิ 1Q62 ที่ 41 ลบ. -63%YoY จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากการรับจ้างผลิต(OEM) มาเป็นผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเอง เป็นผลให้รายได้จากการขายลดลงราว 44%YoY สู่ 120 ลบ. และอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจาก 63%  อีกทั้งบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากราว 76% สู่ 26 ลบ. จากค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิของบริษัทลดลงจาก 52% ในช่วง 1Q61 เหลือ 30%

·         + CKP (ราคาปิด 5.75 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 5.1)โตสนั่น 1,013% BEM กำไรพุ่ง 859 ล. CKP เริ่ด! ผลงาน Q1 โชว์กำไรสุทธิ 139.40 ล้านบาท โตสนั่น 1,013.8% อานิสงส์โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และมียอดขายไฟฟ้าโรงไฟฟ้าบางปะอินโคเจนฯโต ฟาก BEM อวด Q1 กำไรสุทธิ 859 ล้านบาท โต 16.7% เหตุรายได้ธุรกิจหลักโตยกแผง ทางด่วนรายได้พุ่ง 2.5 พันล้านบาท และรถไฟฟ้ารายได้โต 1.2 พันล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         - TKN (ราคาปิด 9.60 บาท Bloomberg Consensus 10.47 บาท)  ลดเป้าหมายรายได้ปี 2562 เหลือโต 5-7% หลังรับผลกระทบยอดขายจากตลาดจีนลด ด้านกำไรสุทธิทั้งปีคาดจะโตมากกว่า 7% ปรับการผลิตให้ตรงกับความต้องการซื้อ เพื่อลดต้นทุน รวมถึงปรับลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ

·         - BIZ (ราคาปิด 2.70 บาท “ถือ” ราคาเหมาะสม 3.10) รายงานกำไร 1Q62 เท่ากับ 4.8 ลบ. (คิดเป็น 7% ของประมาณกำไรทั้งปี) -66%YoY โดยมีรายได้หลัก เท่ากับ 95.7 ลบ. -5.80%YoY เนื่องจากในช่วง 1Q62 ไม่มีการส่งมอบงานขนาดใหญ่ที่เราคาดว่าทั้งปี 62 จะรับรู้ทั้งหมดราว 480 ลบ. อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าจะทยอยรับรู้ทั้งหมดในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ %GPM ลดลงมาที่ระดับ 23.3% จาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 29% ประกอบกับ %SG&A เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 15% จาก 1Q61 อยู่ที่ระดับ 12% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา (เตรียมปรับประมาณการกำไรสุทธิลงเล็กน้อย)

·         บอร์ด NEWS มีมติคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลของ"สปริงนิวส์"