ผันผวนในกรอบแคบ

ผันผวนในกรอบแคบ

SET Index วันอังคารที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น หลังจากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยหนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มโรงไฟฟ้า

ประกอบกับกลุ่ม Big Cap ช่วยหนุนตลาด อาทิ CPF AOT SCB และ SCC ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,673.52 จุด (+6.84 จุด) Volume 4.5 หมื่นลบ. จาก Foreign +412.39 ลบ. TFEX Net -133 สัญญา และ ตลาดตราสารหนี้ -3,787 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+สำนักข่าว CNBC เผยว่าเป็นไปได้ที่สหรัฐและจีนจะประกาศการบรรลุข้อตกลงทางการค้าภายในวันศุกร์หน้า

+ADP เผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐในเม.ย.+275,000 ตำแหน่งพุ่งสูงสุดรอบ 9 เดือน ดีกว่าคาด

+ที่ประชุมครม.ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ลดหย่อนภาษีช่วยซื้อบ้านหลังแรก-ช่วยค่าอุปกรณ์การศึกษา-แจกเงินผ่านบัตรสวัสดิการฯ

+พาณิชย์เผย CPI เดือนเม.ย. +1.23% CORE CPI +0.61% ช่วง 4M62 +0.86% ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของธปท. สนับสนุนคาดการณ์กนง.ไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้

+/-มาร์กิตเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐในเดือนเม.ย. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.6 ส่วน ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐในเดือนเม.ย.ลดลงสู่ระดับ 52.8 ต่ำกว่าคาด

-ราคาน้ำมัน WTI  ลดลง 31 เซ็นต์ ปิดที่ 63.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังสต็อกน้ำมันสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2560

- ดาวโจนส์ -162.77 จุด -0.61% แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณว่าอาจจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆนี้

- สหรัฐเปิดเผยการใช้จ่ายภาคการก่อสร้างในเดือนมี.ค. -0.9%MoM -0.8%YoY สวนทางนักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 

-สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสินเชื่อจำนอง -4.3% สัปดาห์ที่แล้ว แม้ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวลง แต่ +4.5%YoY

-เอกชนหั่นเป้าส่งออกปีนี้เหลือโต 2.1% พาณิชย์ขอประชุมทูตฯ 31 พ.ค.นี้ก่อนทบทวนเป้าหมายใหม่

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD -9.7 พันลบ. ค่าเงินบาท 31.95 บาท/US

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มผันผวนในกรอบแคบตามตลาดหุ้นต่างประเทศหลัง FED ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามคาด โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อหนุน GDP  คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,668-1,683 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

- หุ้นได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ : SE-ED COL LPN PSH BIGC ROBINS

- หุ้นเข้าใหม่คำนวณในดัชนี MSCI-EM  : CENTEL, RATCH, INTUCH, DTAC

- หุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มน้ำหนักลงทุนในดัชนี MSCI แต่ยัง Laggard (ราคาปรับขึ้นต่ำกว่า 5%YTD) : BH TRUE IRPC PTTGC BDMS CPN HMRPO SCC

- หุ้นได้ประโยชน์จากฤดูร้อน : เครื่องปรับอากาศ (SNC KOOL) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (EA BCPG SSP GUNKUL) เครื่องดื่ม(TACC SAPPE CHI  OISHI  OSP  CBG

หุ้นรายงานพิเศษ

BBL Analyst Meeting (ราคาปิด 203 ราคาเหมาะสม Consensus เฉลี่ย 237.21 มุมมองบวก)

  • ผู้บริหารคงเป้าอัตราการเติบโตของสินเชื่อ 4-6% โอกาสเติบโตของสินเชื่อจาก1) โครงการลงทุนขนาดใหญ่เดินหน้าตามแผนหนุนกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งเป็นฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของธนาคารลงทุน 2) สาขาต่างประเทศที่อยู่ในประเทศที่มีศักยภาพเติบโตสูง เช่น เวียดนาม เมียนมา และคงเป้ารักษาระดับ %NPL ที่ 3.4% แม้ %NPL ปลายมี.ค.61 ขยับขึ้นเป็น 3.5% จากลูกค้า SME ในกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ซึ่งไม่น่ากังวลเพราะมีสำรองมากพอ ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมแม้มี disruptive ที่สำคัญจากการแข่งขันไม่คิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิตัลแต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนในบางกลุ่ม โดยได้รับชดเชยจากรายได้ประกันภัยจากการมีพันธมิตรทั้ง AIA และ BLA
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐานในการเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังลงทุนตามแผนหนุนการเติบโตของสินเชื่อและผลการดำเนินงานที่น่าจะยังขยายตัวได้ ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 62 เฉลี่ย 38,863 ลบ. +10%

TCAP Analyst Meeting (ราคาปิด 53 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 57.62 มุมมองบวก)

  • ผู้บริหารคงเป้าการเติบโตของสินเชื่อที่มากกว่า 5% จาก +1.21%YTD จากสินเชื่อเช่าซื้อที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 57% จากเดิม คุณภาพสินทรัพย์ยังดีจาก %NPL ปลายมี.ค.62 ลดเหลือ 2.28% จาก 2.4% ปลายปี 61 อยู่ในกรอบเป้าที่ระดับต่ำกว่า 2.5% และ credit cost ที่ 0.46% ต่ำกว่าปี 61 ที่ระดับ 0.57% และต่ำกว่ากรอบเป้า 0.6 – 0.7% หากดีลควบรวมกับ TMB เสร็จสิ้นมีแผนถือหุ้นราว 20% เพื่อทำ equity accounting ได้ จะมีเงินสดคงเหลือหลักหมื่นล้านบาท ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้หลายทาง เช่น จ่ายปันผล ซื้อหุ้นคืน ลงทุนโครงการใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นก่อน ปัจจุบันยังอยู่ช่วงของการทำ due diligence
  • ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตของผลการดำเนินงานในอนาคต แม้ปีนี้กลับมาจ่ายภาษีแต่ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 62 เฉลี่ย 8,608 ลบ. +10%

หุ้นมีข่าว   

·         BH  (ราคาปิด 177.00 บาท Bloomberg Consensus 196.76 บาท)

รายงานกำไร 1Q62 เท่ากับ 1,081 ลบ. (+11.2%QoQ, +0.2%YoY) โดยมีรายได้จากการดำเนินงานเท่ากับ 4,650 ลบ.  (-1.3%QoQ, +0.6%YoY) แม้รายได้จากผู้ป่วยชาวไทยหดตัวลง 4%YoY แต่ถูกชดเชยด้วยรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 2.3%YoY ทำให้สัดส่วนรายได้ผู้ป่วยไทยต่อผู้ป่วยต่างชาติอยู่ที่ 33% และ 67% ตามลำดับ ด้าน %EBITDA ปรับตัวลงมาที่ระดับ 34.5% จาก 1Q18 อยู่ที่ 35.2% จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายทางตลาด ประกอบกับค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนทางการเงินปรับตัวลดลงมาที่ 31 ลบ. (-28%QoQ, -20.5%YoY)

มุมมองเชิงลบ คาดว่าแนวโน้มรายได้ปีนี้ทรงตัว YoY แต่กำไรสุทธิจะถูกกดดันด้วยค่าใช้จ่ายตั้งสำรองผลประโยชน์ระยะยาวพนักงาน แบ่งเป็น 2Q62 ราว 144 ลบ. และ 3Q-4Q62 อีกราวไตรมาสละ 5.1 ลบ. โดย Bloomberg consensus คาดกำไรปี 62 เฉลี่ย 4,380 ลบ. +5.5%YoY

·         ประเด็นบวกกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ครม.อนุมัติแผน PDP 2018 มีผลทางกฎหมาย เชื่อกฟผ.เร่งเดินหน้าเปิดประมูลตามแผน พุ่งเป้า 3 กลุ่มได้รับประโยชน์ ทั้งกลุ่มก่อสร้าง โซลาร์รูฟ GUNKUL-SENA น่าสน ขณะที่ BGRIM เฮ! ต่ออายุโรงไฟฟ้า SPP ด้านกลุ่ม IPP เตรียมรอประมูล RATCH-EGCO-GULF มีลุ้น ชี้แม้โรงไฟฟ้าทะยานจากฟันด์โฟลว์ (ที่มา : ทันหุ้น)

·         CK (ราคาปิด 26.75 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 32.05) กรุ๊ป รุกงานต่างแดน ส่ง TTW ศึกษาระบบประปาในศรีลังกา ด้าน BEM เจาะทางด่วนเมียนมาแถมข่าวดีรับทรัพย์ 1,048.23 ล้านบาท ข้อพิพาทจากกทพ. ขณะที่ CKP ยึดโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว ส่วนในประเทศลุยประมูลโปรเจ็กต์รัฐรวมมูลค่า 2-3 แสนล้านบาท ตั้งเป้าปี 2562 โกยรายได้ 2.5-3 หมื่นล้านบาท (ที่มา : ทันหุ้น)

·         + EPCO ลั่นรายได้ปีนี้นิวไฮ โตเกิน 50% บุ๊กการผลิตกล่องลูกฟูกของบริษัทย่อย WPS เป็นปีแรก และมีรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้า เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าในเวียดนาม คาดเริ่มบุ๊กรายได้ก.ค. ดันสิ้นปีนี้กำลังผลิตไฟฟ้าพุ่ง 555 MW (ที่มา : ข่าวหุ้น)

·         TRUE เผยผู้ถือหุ้นไฟเขียวขยายวงเงินกู้เป็น 9 หมื่นล้านบาท จากเดิม 6 หมื่นล้านบาท ใช้ขยายกิจการ-เพิ่มสภาพคล่อง พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 2562 โต 5-10% เดินหน้าลดค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง เล็งศึกษาเข้าประมูลคลื่น 700 MHz คาดสรุปภายใน 2 สัปดาห์นี้ เชื่อ 5G ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ( ที่มา : ทันหุ้น)

·         CHAYO ชี้แจงข่าวลือการเทขายหุ้นของนักลงทุนเฉพาะเจาะจง 28 รายที่ได้รับการจัดสรรหุ้น 40 ล้านหุ้นว่าได้สมัครใจไม่ขายหุ้นเป็นระยะเวลา 6 เดือนและได้นำใบหุ้นทั้งหมดมาฝากไว้กับบริษัท  จึงไม่สามารถขายหุ้นที่ได้รับการจัดสรรได้ (ที่มา SET NEWS)

·         EIC ทุ่มงบ 300 ลบ.เข้าซื้อกิจการอีสเทิร์นควีซีน ร้านอาหารชาบู "Kagonoya" โดยเป็นการซื้อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/62 (ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์)