'โออีซีดี' ชี้ 'ทุนมนุษย์' ความท้าทายอีอีซี

'โออีซีดี' ชี้ 'ทุนมนุษย์' ความท้าทายอีอีซี

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี(Organisation for Economic Co-operation and Development)

เปิดเผยรายงานมุมมองเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,จีนและอินเดีย ประจำปี 2562 : การมุ่งหน้าสู่การขนส่งแห่งเมืองอัจฉริยะ (Economic Outlook for Southeast Asia ,China and India 2019: Towords Smart Urban Transportation) ระบุว่า ในส่วนของประเทศนั้นไทยได้ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการพัฒนาจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศภายใต้ชื่อ “โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Econonic Corridor :EEC )

โครงการนี้ทำหน้าที่เหมือนตัวแทนโครงการระดับประเทศว่าด้วยการพัฒนาท่าเรือตะวันออก (eastern seaboard) บนพื้นที่ 1.3 หมื่นตารางกิโลเมตร ใน 3จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มาเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งอาเซียน ในบริบทศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการบริการ โดยรัฐบาลมีแผนว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2564

\'โออีซีดี\' ชี้ \'ทุนมนุษย์\' ความท้าทายอีอีซี

การดึงดูดการลงทุน

เมื่อก.พ.2562 รัฐบาลไทยได้ผ่านพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และมีผลเมื่อ พ.ค. 2561 ซึ่งระบุถึงประเด็นภาษีบางรายการและการส่งเสริมพิเศษส่วนที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณอีอีซี
ภายใต้การสนับสนุนมหาศาลโออีซีดียังพบว่าประเทศไทยมีสิ่งที่เป็นความท้าทาย ว่าด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งถือเป็นความสำคัญสูงสุดเพื่อให้แน่ใจว่าประเทศจะมีแรงานทักษะสูงที่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นความท้าทายที่มากกว่าความกังวลที่ว่าชุมชนท้องถิ่นอาจได้รับผลกระทบจากโครงการและความสามารถเผชิญการแข่งขันกับธุรกิจจากต่างประเทศ

ธุรกิจขาดแรงงานทักษะสูง-ภาษา

อีอีซี ให้ความสำคัญเบื้องต้นกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง รถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภาไปยังสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง และยังมีรถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ใหม่ ท่าเรือมาบตาพุด และการอำนวยความสะดวกสำหรับอุตสาหกรรม บริการสุขภาพและท่องเที่ยว โครงการเหล่านี้จะกระทบกับตลาดแรงงานของไทยด้วยความต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อการก่อสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ แม้ความต้องการนี้จะลดลงหลังโครงการเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม

ภายใต้อีอีซีรัฐบาลไทยได้ส่งเสริมอุตสาหกรรม 10กลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ซึ่งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ไทยแลนด์ 4.0ได้แก่รถยนต์แห่งอนาคต อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เกษตรก้าวหน้า และไบโอเทคโนโลยี อาหารแปรรูป และการท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์และสุขภาพ เหล่านี้ห้อมล้อมด้วยสาขาของดิจิทัลเทคโนโลยี หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ รวมถึงบริการสุขภาพและพลังงานชีวภาพและไบโอเคมิคอล

การพัฒนาส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ประเทศจะต้องการแรงงานทักษะสูงจำนวนมาก นี้จะเป็นความจำเป็นในกรณีของอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่จะสามารถเริ่มต้นและเติบโตต่อไป ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายธุรกิจในประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องการขาดแคลนแรงงาน โดยในไตรมาสแรกของปี 2557 มีบริษัทมากกว่า 50% ที่ไม่สามารถหาคนงานในตำแหน่งที่ว่างภายในช่วงเวลา 3 เดือนได้ และหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงานทักษะพิเศษ เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์และหลายอุตสาหกรรม มีสภาพการทำงานหนัก เช่น ก่อสร้าง ต้องเผชิญกับช่องว่างของปริมาณงานและคนทำงาน

หลายอุตสาหกรรมรวมทั้งอิเล็กทรอนิกส์ อาหารแปรรูป ยางและพลาสติก ต่างต้องการแรงงานที่เป็นช่างเทคนิคและแรงงานจบปวส. ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โลจิสติกส์ โรงแรม ธนาคารและค้าปลีก เป็นอีกส่วนที่มีความต้องการคนทำงาน ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งของความท้าทายหลักสำหรับประเทศไทยคือการขาดแคลนแรงงานในสาขาความรู้ที่จำเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และทักษะทางเทคนิค มากกว่านั้นความอ่อนด้อยของทักษะความเชี่ยวชาญทางภาษาอังกฤษก็เป็นอีกความท้าทายของประเทศในอนาคตที่กำลังต้องเพื่อการมุ่งหน้าออกสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติในส่วนของภาคบริการหลายสาขา

เด็กไทยไม่นิยมเรียนอาชีวะ

ปัญหาแรงงานส่วนหนึ่งมาจากการเข้าเรียนในสัดส่วนที่ลดลงของโรงเรียนอาชีวะ ตามสถิติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ระบุว่า ปี2551การเลือกเรียนในกลุ่มปวส.ประมาณ 40% ของจำนวนการเลือกในกลุ่มนักเรียนช่วงม.ต้น(secondary school) ขณะที่ปี 2556 ลดลงไปอยู่ที่ 34% และลดลงอย่างต่อเนื่องไปอยู่ที่ 20% ในปี 2560 ชี้ให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบที่จะเลือกเรียนในสายสามัญทั่วไป นับเป็นวิกฤตที่จะสร้างผลกระทบข้างหน้าต่อการปรับปรุงความสามารถการดึงดูดการเข้าเรียนเทคโนและปวส. (TVET) และความสมดุลระหว่างการเลือกศึกษาต่อในระบบสามัญกับระบบอาชีวะ
รัฐบาลไทยได้นำข้อริเริ่มหลายอย่างเพื่อใช้พัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อีอีซี เช่น การอนุมัติงบประมาณ 861 ล้านบาทเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในอีอีซี มากกว่านั้นสำนักงานอีอีซีเมื่อเร็วๆนี้ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)กับสถาบันการศึกษาเพื่อเตรียมจำนวนที่ถูกต้องและคณุภาพที่เหมาะสมสำหรับ 10 อุตสาหกรรมในอีอีซี โดยเด็กเหล่านี้จะได้ปฎิบัติงานจริงอย่างมีประสบการณ์

"ความคาดหวังการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไทยต้องการต้องแน่ใจว่าจะได้มาพร้อมกับการถ่ายทอดทักษะและเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติในอีอีซีนี้จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศประเทศข้างหน้า ท้ายที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นว่าชุมชนท้องถิ่นจะได้รับการบอกกล่าวที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ของอีอีซีและอีอีซีจะได้ความเห็นจากคนเหล่านี้กลัมาเป็นการให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการและนำไปสู่การสร้างความรู้สึกถึงการ “เป็นเจ้าของ” โครงการอีอีซี