'ฝนหลวง' คลี่คลายหลายจังหวัด ภัยแล้ง-หมอกควัน

'ฝนหลวง' คลี่คลายหลายจังหวัด ภัยแล้ง-หมอกควัน

"ฝนหลวง" คลี่คลายหลายจังหวัดภัยแล้ง-หมอกควัน

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกล่าวว่า ผลปฏิบัติการฝนหลวงสัมฤทธิผล โดยเฉพาะในภาคเหนือมีฝนตกลงมาในหลายจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ พะเยา ลำปาง ปริมาณฝนเฉลี่ย 5 -10 มิลลิเมตร สามารถสร้างความชื้นในอากาศ ช่วยพื้นที่เกษตร และบรรเทาปัญหาหมอกควันได้ในระดับหนึ่ง

 

สำหรับสภาพอากาศในระยะนี้ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดต่ำลงเนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากจีนได้ถอยกลับไป ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาระลอกใหม่ เมื่อปะทะกับมวลอากาศร้อนในไทยจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นและดัชนีค่าการยกตัวของเมฆดีขึ้น เอื้อต่อการปฏิบัติการ ทั้งนี้นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำชับให้ติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดทุกวันและช่วงชิงจังหวะเวลาที่เหมาะสมขึ้นบินปฏิบัติต่อเนื่องเพื่อเดือดร้อนของประชาชน

 

นายสุรีสีห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ปฏิบัติการเพื่อเติมน้ำลงอ่างเก็บน้ำของเขื่อนใหญ่ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าร้อยละ 30 ตามที่กรมชลประทานประสานงานมาได้แก่ เขื่อนแม่มอก จังหวัดลำปาง เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งจะยังคงปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองอย่างเพียงพอตามแผนบริหารจัดการน้ำ จนถึงฤดูแล้ง 2562/2563

                   

สำหรับจังหวัดที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคได้แก่ บางพื้นที่ของจังวัด เชียงใหม่ ชัยภูมิ นครสวรรค์ เลย กาญจนบุรี ราชบุรี และนครราชสีมาได้นำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำระบบชลประทานมาเสริมเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาเช่น อำเภอพิมายและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ นครราชสีมาสูบน้ำจากแม่มูลและแหล่งน้ำของชลประทาน จังหวัดเชียงใหม่ใช้ฝายแม่แตงลำเลียงน้ำมาให้เขตชุมชน ส่วนในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ใช้รรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้ประชาชน

 

“หน้าแล้งนี้ไม่ได้รุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตก การการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้มีน้ำเพียงพอใช้ รวมทั้งสำรองไว้ถึงต้นฤดูฝนและกรณีฝนทิ้งช่วย กรมชลประทานวางยุทธศาสตร์ในอนาคตที่จะต้องเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อรองรับการใช้น้ำที่มากขึ้นของทุกภาคส่วน ล่าสุดทำโครงการผันน้ำมาเติมเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากปีละ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจากลำน้ำยวม โดยกั้นน้ำ ก่อนที่จะไหลไปบรรจบแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะสร้างอาคารชลประทานกันน้ำไว้ ตั้งระบบสูบย้อนกลับมาไว้จุดสูงสุดสันเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาตามแรงโน้มถ่วง ลงแม่น้ำปิงอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อน ภูมิพลซึ่งปีนี้เริ่มสำรวจพื้นที่เพื่ออกแบบเป็นระบบท่อและอุโมงค์ใต้เขาคาดว่า รวมเวลาก่อสร้างแล้วจะเสร็จในอีก 5 – 6 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้แก่ประเทศนั้น รัฐบาลกำหนดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จเป็นรูปธรรม” นายทองเปลวกล่าว