19 เอกชนชิงสัมปทาน 'ด่านมอเตอร์เวย์' ชิงเค้กก้อนใหญ่6.1หมื่นล้าน

19 เอกชนชิงสัมปทาน 'ด่านมอเตอร์เวย์' ชิงเค้กก้อนใหญ่6.1หมื่นล้าน

เอกชน 19 รายชิงเค้ก 6.1 หมื่นล้าน แห่ซื้อซองบริหารจัดเก็บค่าผ่านทาง มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน – นครราชสีมา และสายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ทล.คาด ธ.ค.62 เช็นต์สัญญาได้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.62 นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวง ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประกวดข้อเสนอการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ในส่วนของการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) มูลค่าโครงการรวม 6.1 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2562 นั้น ปัจจุบันมีเอกชนเข้าชื้อเอกสาร รายละเอียดดังนี้

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - นครราชสีมา (M6) จำนวน 19 รายประกอบด้วย
1.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6.บริษัท ชีวิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด
7.บริษัท ชิโน – ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
8.บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด
9.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
10.บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)

11.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
12.Metropolitan Expressway Company Limited
13.Marubeni Corporation
14.Japan Expressway Internatioal Company Limited
15.Far Eastern Electronic Toll Collrction Coltd
16.China Harbour Engineering Company Limited
17.China Communications Construction Company Limited
18.Vinci Concessions
19. บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (M81) จำนวน 17 รายประกอบด้วย
1.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท ชีวิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด
6.บริษัท ชิโน – ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
7.บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด
8.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
9.บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
10.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

11.Metropolitan Expressway Company Limited
12.Marubeni Corporation
13.Far Eastern Electronic Toll Collrction Coltd
14.China Harbour Engineering Company Limited
15.China Communications Construction Company Limited
16.Vinci Concessions
17.บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยต่อไปอีกว่า รูปแบบการร่วมลงทุน เป็นการให้ เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้างรวมถึงรายได้ทั้งหมดจากค่าธรรมเนียมผ่านทาง โดยเอกชนได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินค่าก่อสร้างระบบและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง ค่าบำรุงรักษา และค่าบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมรวมทั้งงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนด กรอบวงเงินการร่วมทุนเอกชนได้รับค่าตอบแทนไม่เกินกรอบวงเงิน 33.258 ลบ.(ซึ่งเป็นมูลค่าปัจจุบัน) (ตามมติคณะรัฐมนตรี 22 ส.ค. 60)กรมทางหลวงจำหน่ายเอกสารประกอบการจัดทำข้อเสนอ (RFP วันที่ 27 มี.ค. 62 และปิดรับซองเอกสารข้อเสนอ 27 มิ.ย. 62 จากนั้นพิจารณาข้อเสนอเอกชน และต่อรองสัญญา ในเดือน ก.ค. –ธ.ค. 62 และเสนอขออนุมัติพร้อมลงนามสัญญา ร่วมทุนในเดือน ธ.ค. 62