ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 18-22 มี.ค. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 11-15 มี.ค. 62

ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 18-22 มี.ค. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 11-15 มี.ค. 62

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังอุปทานตึงตัวจากการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปค

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 56 - 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 65 - 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (18 – 22 มี.ค. 62)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจากซาอุดิอาระเบียที่ปรับลดกำลังการผลิตและการส่งออกลง ประกอบกับกำลังการผลิตของสหรัฐฯ ที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวช้าลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบอาจถูกกดดัน จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยตลาดยังคงจับตาเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • อุปทานน้ำมันดิบคาดว่าจะปรับตัวลดลง หลังซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกประกาศปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 62 ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเตรียมที่จะควบคุมให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในเดือน ก.พ. 62 ซาอุดิอาระเบียได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงมาอยู่ที่ระดับ 10.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าเดือน ม.ค. 62 อยู่ 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ กลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคยังคงให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องตามข้อตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 62
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวช้าลง หลังตัวเลขกำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ที่ 8 มี.ค. 62 ปรับตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 12.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น 30,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโรงกลั่นบางส่วนเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 8 มี.ค. 62 ปรับลดลง 3.9 ล้านบาร์เรล มาแตะที่ระดับ 449.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล
  • อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันเข้าสู่ช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกาศออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลง โดยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 62 ปรับเพิ่มขึ้นพียง 20,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 60
  • จับตาผลสรุปของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเลื่อนกำหนดการพบกันเพื่อสรุปเกี่ยวกับการเจรจาการค้าออกไปเป็นเดือน เม.ย. 62 เป็นอย่างน้อย แต่ยังไม่มีรายละเอียดถึงวันและเวลาของการเจรจาการค้าที่แน่ชัด
  • ติดตามทิศทางการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตกลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรที่มีสัญญาณว่าต้องการจะปรับลดกำลังการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประกาศทิศทางตัวเลขเศรษฐกิจจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ และดัชนีภาคการบริการยูโรโซน

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (11 - 15 มี.ค. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.45

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (18 – 22 มี.ค. 62)

 

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจากซาอุดิอาระเบียที่ปรับลดกำลังการผลิตและการส่งออกลง ประกอบกับกำลังการผลิตของสหรัฐฯ ที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวช้าลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบอาจถูกกดดัน จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยตลาดยังคงจับตาเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • อุปทานน้ำมันดิบคาดว่าจะปรับตัวลดลง หลังซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกประกาศปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 62 ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเตรียมที่จะควบคุมให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในเดือน ก.พ. 62 ซาอุดิอาระเบียได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงมาอยู่ที่ระดับ 10.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าเดือน ม.ค. 62 อยู่ 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ กลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังคงให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องตามข้อตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 62
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวช้าลง หลังตัวเลขกำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ที่ 8 มี.ค. 62 ปรับตัวลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 12.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น 30,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโรงกลั่นบางส่วนเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 8 มี.ค. 62 ปรับลดลง 3.9 ล้านบาร์เรล มาแตะที่ระดับ 449.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล
  • อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันเข้าสู่ช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกาศออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลง โดยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 62 ปรับเพิ่มขึ้นพียง 20,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 60
  • จับตาผลสรุปของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเลื่อนกำหนดการพบกันเพื่อสรุปเกี่ยวกับการเจรจาการค้าออกไปเป็นเดือน เม.ย. 62 เป็นอย่างน้อย แต่ยังไม่มีรายละเอียดถึงวันและเวลาของการเจรจาการค้าที่แน่ชัด
  • ติดตามทิศทางการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรที่มีสัญญาณว่าต้องการจะปรับลดกำลังการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด
  • ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประกาศทิศทางตัวเลขเศรษฐกิจจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ และดัชนีภาคการบริการยูโรโซน

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (11 - 15 มี.ค. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.45 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 58.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 1.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 67.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.65 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบียที่ได้ปรับลดกำลังการผลิตในเดือน ก.พ. 62 ลงมาอยู่ที่ระดับ 10.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับกลุ่มโอเปคพลัสไว้ที่ 10.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับปัจจัยบวกจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับ การส่งออกน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาประสบปัญหา หลังระบบไฟฟ้าพื้นฐานภายในประเทศขัดข้อง ส่งผลทำให้ไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบผ่านท่าขนส่งหลักของประเทศได้

 

--------------------------------------

ที่มา : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)          

        โทร.02-797-2999