TCAP - ซื้อ

TCAP - ซื้อ

ปรับเพิ่มประมาณการกำไร

เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ TCAP ปี 2562 ขึ้น 5.3% มาอยู่ที่ 8 พันล้าน เพื่อสะท้อนสมมติฐานสินเชื่อเติบโตแข็งแกร่ง (จาก 3% มาอยู่ที่ 5%) เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนนอกจากนี้ TCAP ยังมีอัพไซต์อีกมากต่อกำไรสุทธิจากการขายหุ้น TBANK ที่ถืออยู่ 51% ให้แก่ TMB (สมมุติว่าดีลนี้เสร็จสิ้นซึ่งเรายังไม่รวมในประมาณการ) ประมาณการกำไรที่ปรับสูงขึ้นส่งผลให้เราปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมายใหม่ ณ สิ้นปี 2562 ที่ 65 บาท อางจากค่า PBV ที่ 1.06 เท่า

ปรับสินเชื่อปี 2562 เติบโต 5% …นโยบายเน้นสินเชื่อ SME และไมโครไฟแนนซ์

เราปรับเพิ่มสมมติฐานสินเชื่อปี 2562 เติบโตจาก 3% เป็น 5% ตามเป้าหมายของกิจการที่คาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 5% ทั้งนี้ TCAP รายงานสินเชื่อปี 2561 เติบโตที่ 5.7% ซึ่งเป็นไปตามคาด สินเชื่อกลุ่มที่เราให้ความสำคัญ ได้แก่ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่, รีไฟแนนซ์รถ, เอสเอ็มอีและจำนองบ้าน TCAP คาดยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยปี 2562 เติบโตที่ 2% YoY มาอยู่ที่ 1.06 ล้านคันหลังจากปรับตัวขึ้น 20% YoY ในปี 2561 ผู้บริหารตั้งเป้าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.9-3.0% (เราคาดที่ 2.93%) การที่เราปรับประมาณการ
การเติบโตของสินเชื่อหมายถึงการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2562 จาก 7.6 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 8 พันล้านบาท

อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับอาจลดลง

TCAP ปรับลดอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับมาอยู่ที่ต่ำกว่า 47% (ซึ่งเป็นอัตราส่วนในปี 2561) TBANK มีแผนการปรับลดต้นทุน (ลดจำนวนสาขาและพนักงาน) ทั้งนี้ TBANK ได้ปรับลดจำนวนเครือข่ายลงจาก 615 สาขา ณ สิ้นปี 2558 มาอยู่ที่ 513 สาขาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราคาดอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับอยู่ที่ 47.1% สำหรับปี 2562 เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อที่อาจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับต่ำกว่าที่เราคาด ก็อาจมีอัพไซต์ต่อประมาณการกำไรปี 2562

อัพไซต์จากการขายหุ้น TBANK ให้แก่ TMB

เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา TMB ประกาศ MOU ที่ไม่มีผลผูกพันกับ TBANK, ING Group NV, TCAP และ Bank of Nova Scotia (BNS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายกิจการ TBANK ให้แก่ TMB มูลค่าของดีลดังกล่าวอยู่ที่ 1.30-1.40 แสนล้านบาท ซึ่ง 70% มาจากการระดมทุนของ TMB (ส่วนที่เหลือจะมาจากการกู้ยืม/ออกหุ้นกู้) TMB มีแผนระดมทุนกว่า 1 แสนล้านบาทสำหรับดีลนี้และกู้ยืมเพิ่มอีก 3-4 หมื่นล้านบาท เงินสดที่ระดมทุนได้ 1.3 -1.4 แสนล้านบาทจะถูกนำไปซื้อหุ้น TBANK ที่ถือโดย TCAP และ BNS

หากเราคาดว่าดีลดังกล่าวจะปิดที่ราคา 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง TCAP จะได้รับเงินสดจากการขายหุ้นของ TBANK 51% อยู่ที่ 7.1 หมื่นล้านบาท เรา TCAP มีกำไรพิเศษที่ 3.9 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น 33.50 บาท/หุ้น) และไม่เสียภาษีเนื่องจากนโยบายการยกเว้นภาษีของภาครัฐบาลเมื่อเร็วๆนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการควบรวมกิจการของธนาคาร โดยเงินสดที่ได้รับ TCAP อาจจัดสรรเป็นเงินปันผลพิเศษ/หรือทำโครงการซื้อหุ้นคืน (Treasury stock) และ/หรือเพื่อเข้าซื้อกิจการใหม่เพิ่มกำ ไรในอนาคต เราเชื่อว่าหากดีลนี้ประสบความสำเร็จ ราคาหุ้นของ TCAP จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และเราจะกลับมาปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย TCAP เพิ่มอีกครั้ง