แจงขึ้นค่ารถไฟ้า 'อ่อนนุช-แบริ่ง' 15-21 บาท เหมาะสม

แจงขึ้นค่ารถไฟ้า 'อ่อนนุช-แบริ่ง' 15-21 บาท เหมาะสม

สำนักจราจรขนส่งกทม. ยันปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟส่วนต่อขยาย สายสีเขียว และ แบริ่ง-สมุทรปราการ 15-21 บาท เป็นไปตามความเหมาะสม

นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักจราจร และ ขนส่ง กรุงเทพมหานคร ชี้แจงถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส จะปรับโครงสร้างค่าโดยสารรถฟไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย จากเส้นทาง อ่อนนุช-แบริ่ง และ วงเวียนใหญ่-บางหว้า จาก15 บาทตลอดสาย เป็นตามระยะทาง 15 - 21 บาท หรือ เพิ่มขึ้นอีก 6 บาท พร้อมกับการเริ่มเก็บเงินค่าโดยสาร การเปิดให้บริการ ส่วนต่อขยายใหม่ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 15-21บาท วันที่ 16 เม.ย.นี้ หลังจากที่ผ่านมาสายสีเขียว แบริ่ง สมุทรปราการ ให้บริการฟรีจากการทดสอบระบบ ซึ่งขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารแล้ว จะเริ่มมีผลบังคับใช้หลัง 16 เมษายน 2562

นาย พานุรักษ์ ยืนยันว่า การปรับขึ้นที่ 15-21 บาท เป็นไปตามการปรับโครงสร้างตามนโยบายของทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ที่ให้นโยบายว่า การปรับเพิ่มการเก็บค่าโดยสาร จะต้องเป็นราคาที่ประชาชนสามารถจ่ายได้ ไม่ควรเกิน 65 บาท โดยใช้เกณฑ์พิจารณาปรับขึ้น คือ เกณฑ์ที่ประชาชนจะสามารถจ่ายได้ สำหรับเกณฑ์การปรับขึ้น มีหลักๆ คือ เกณฑ์ที่ประชาชนสามารถจ่ายได้ เคยมีการศึกษาความเหมาะสมเอาไว้ คือ 60-65 บาท ส่วนอีกหนึ่งเกณฑื คือ ความพึงพอใจที่จะจ่าย ดดยประชาชนพึงพอใจที่จ่าย 75 บาท แต่หากเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินทางธุรกิจเรื่องการคุ้มทุนที่จะมีรายได้เพียงพอในการบริหารจัดการ การดูแลรักษาบบต่างๆ การคุ้มทุนในการเดินรถ ต้นทุนแท้จริงแล้ว จะอยู่ที่ 150 บาท ซึ่งเวลานี้ก็ยังแบกรับขาดทุนอยู่ตั้งแต่ปี 2556 พูดเป็นภาษธุรกิจ คือ ขาดทุน ที่ผ่านมาต้องแบกรับต้นทุน 400-500 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันได้รับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง สมุทรปราการ และ หมอชิต สะพานใหม่ คูคต จากรัฐบาลทำให้มีภาระเพิ่มขึ้น

แจงขึ้นค่ารถไฟ้า 'อ่อนนุช-แบริ่ง' 15-21 บาท เหมาะสม

การตรึงราคา อีกนานแค่ไหน เป็นปัญหาของภาครัฐ แต่การให้บริการสาธารธของภาครัฐก็คือการอำนวยความสะดวกประชาชน แต่ถึงจะไม่เอากำไรก็ต้องดูถึงต้นทุน ไม่งั้นเงินสนับสนุนไม่มีเพียงพอ สายสีเขียวจึงต้องใช้เอกชนเข้ามาช่วย

การปรัยบโครงสร้างใหม่ เพื่อให้เป็นโครงสร้างเดียวกัน ในส่วนต่อขยายทั้งระบบ ในอนาคตจึงต้องให้เอกชนร่วมลงทุน รับสัมปทานทั้งโครงการ โดยกำหนดราคาไว้ที่ไม่เกิน 65 บาท อยู่ในภาระประชาชนสามารถจ่ายได้ ฉะนั้นเอกชนเข้ามาก็คงต้องคิดต้นทุนทั้งหมดเหมือนกัน ส่วนที่จะคุ้มทุนเป็นเรื่องของระยะเวลา เรื่องที่จะควบรวมสายกันแล้วปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้น ก็เป็นตัวเลขที่คุ้มทุนกับสภาวะเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ การบริหาร กทม.สามารถเองบริหารได้ แต่หากให้เอกชนลงทุน เอกชนจะทำได้คล่องตัวกว่าทางการเงิน

แม้ว่าจะมีเสียงบ่น เสียงโอดครวญจากผู้ใช้บริการ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ทางผู้อำนวยการสำนักจราจรและขนส่ง ยืนยันว่า ถึงเวลา มีความจำเป็น ที่จะปรับขึ้น แต่การปรับโครงสร้างครั้งนี้เป็นการปรับชั่วคราว แต่หากได้เอกชนร่วมทุน ก็จะรวมเป็นสายเดียวกัน หลังจากรวมเป็นสายเดียวกัน ค่าเข้าระหว่างสถานีปัจจุบัน หากมีความต่อเนื่องเป็นระบบเดียวกัน ในภาพรวมเชื่อว่าประชาชนรับภาระลดน้อยลง แต่ในช่วงนี้ บางกลุ่มอาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ถ้าเดินทางช่วงสั้น จาก15 บาท เป็น 15 + 1 ก็จะจะดูเพิ่ม แต่ถ้าเดินทางมากกว่า 6 สถานี ช่วงส่วนต่อขยายก็ยังถือว่าไม่แตกต่าง

สำหรับการปรับราคาครั้งนี้ มีข่าวว่าทางบีทีเอส ยังไม่อยากปรับขึ้นราคา นายพานุรักษ์ บอกว่าไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่เท่าที่คุยกันทำงานร่วมกันไม่มีปัญหา จากการเดินรถร่วมกัน ตั้งแต่ อ่อนนุช ถึง แบริ่ง และ ปัจจุบัน แบริ่ง ถึง สมุทราปราการ หารือทำงานใกล้ชิดกันมาโดยตลอด

ส่วนจะมีมีความเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าขึ้นราคา อาจทำให้ผู้โดยสารลดลง นายพานุรักษ์ บอกว่า ต้องแยกเป็นสองส่วน ส่วนแรก คือ แบริ่ง สมุทรปราการ ปัจจบันไม่คิดค่าโดยสาร ฉะนั้นเมื่อคิดค่าโดยสาร ประชาชนอาจจะลดลงส่วนหนึ่ง เนื่องจากประชาชนคงจะหาเส้นทาง การเดินทางที่มีราคาถูกกว่า ทันเวลาที่ต้องการ จากปัจจุบันการเปิดให้บริการฟรี อยู่ที่วันละ 6 หมื่นคน ถือว่าไม่สูงจากที่ประการไว้ว่าจะต้องถึงแสนคน ค่าโดยสารที่สูงจะมีโอกาสซ้ำรอยสายสีม่วงหรือไม่ น่าจะมีปัจจัยที่แตกต่างกัน

สำหรับการปรับขึ้นจะส่งผลให้ อัตรคาบริการเป็นดังนี้

เดินทางช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่ จ่ายเท่าเดิม -ไม่ได้รับผลกระทบ

เดินทางข้ามไปในช่วงส่วนต่อขยาย (อ่อนนุช-สำโรง-เคหะฯ และวงเวียนใหญ่-บางหว้า) จ่ายเพิ่มขึ้น 0-6 บาท จากเดิม 15 บาทตลอดสาย เป็น 15-21 บาท คำนวณตามระยะทาง คิดเพิ่มสถานีละ 1 บาท อ่อนนุช-สำโรง-เคหะฯ : จะปรับเป็น 15-21 บาท วงเวียนใหญ่-บางหว้า : จะปรับเป็น 15-18 บาท

หากนั่งรถไฟฟ้าแบบยาว ๆ ตลอดสาย จะจ่ายรวมทั้งเส้นทาง สูงสุดไม่เกิน 65 บาท (เส้นทางเดิม 44 บาท + ส่วนต่อขยาย 21 บาท) ซึ่งพอเปิดส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต ก็จะยังคิดค่าโดยสารเท่าเดิม นั่งยาวคุ้ม ตลอดระยะทาง 68 กิโลเมตร