MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน

MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน

SET Index วานนี้ปรับตัวขึ้นเล็กลง หลังวิตกสหรัฐ-จีนยังไม่ใกล้บรรลุข้อตกลงการค้า

และสถานการณ์ตึงเครียดอินเดีย-ปากีสถานที่อาจรุนแรงยิ่งขึ้นโดยกลุ่ม Big Cap ที่กดดันตลาดได้แก่ PTT AOT  PTTEP ส่งผลให้ SET Index ปิดที่ 1,653.48 จุด (-11.79 จุด) Volume 5.4 หมื่นลบ. จาก Foreign Net  -4,167.81 ลบ. TFEX Net
-8,514 สัญญา และ ตลาดตราสารหนี้ +859 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+สหรัฐเผย GDP Q4/61 โต 2.6% สูงกว่าคาดการณ์

+ISM เผยดัชนี PMI เขตชิคาโกพุ่งสูงสุดรอบกว่า 1 ปีในเดือนก.พ.

+วิกฤตอินเดีย VS ปากีสถานใกล้ยุติ หลังปากีสถานเตรียมส่งมอบตัวนักบินอินเดียพรุ่งนี้

-ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับลด หลังข้อมูลพบเศรษฐกิจอเมริกาในไตรมาส 4 เติบโตแบบชะลอตัว แม้มันจะเหนือกว่าที่นักวิเคราะห์คาด

-น้ำมันโลก ปิดลบเล็กน้อยโดยถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจอันอ่อนแอของจีน หลังพบกิจกรรมการผลิตลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี

-สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้น 8,000 รายสู่ 225,000 ราย

- MSCI ประกาศเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน 4 เท่าในดัชนีหุ้นโลกปลายปีนี้ คาดว่าจะดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่จีน

-ธปท.คาดส่งออก Q1/62 หดตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เล็งทบทวนเป้าทั้งปี

+/- Fund Flow ต่างชาติมีสถานะซื้อ YTD 3.1 พันล้านบาท ค่าเงินบาท 31.57 บาท/US

**ศาลรัฐธรรมนูญ นัดลงมติวินิจฉัยคำร้องยุบพรรคไทยรักษาชาติ 7 มี.ค.

คาดดัชนี SET วันนี้มีปัจจัยกดดันจาก MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน 4 เท่า ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่อง ตลาดหุ้นต่างประเทศปิดลดลง และราคาน้ำมันปิดลดลง โดยมีปัจจัยหนุนจากที่ตลาดคาดว่าเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้   คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,640-1,660 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

-  FTSE Large Cap :  HMPRO GULF EA MINT MAKRO BEM DIF

-  FTSE Mid Cap :  MTC GPSC

    * HMPRO MTC มีผลตอบแทน YTD น้อยกว่าดัชนี

-  หุ้นได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง :  VGI PLANB MACO CPALL MAKRO BJC TKS

-  ขยายเวลา Visa On Arrival :  AOT  CENTEL ERW

-  High Dividend :  KAMART SIRI SNC ORI DIF BTSGIF SC MC AIT QH KKP TKS

หุ้นแนะนำพิเศษ

QH Analyst Meeting (ราคาปิด 3.06 Bloomberg Consensus 3.53)

  • ปี 61 รายงานกำไรสุทธิ 3,801 ลบ. +10% แม้มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ลดลง 7% ซึ่งมาจากยอดโอนคอนโดฯลดลง 27% แต่รายได้ค่าเช่าและบริการจากธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาคารสำนักงานเติบโต 4% คชจ.ขายและบริหารลดลง 14% ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้น 8% รวมทั้งไม่มีรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น LHFG 712 ลบ. %GP ปรับดีขึ้นเป็น 26% จาก 20% ในปี 60 % NP เพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 23% บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.14 บาท yield 6% XD 24 เม.ย. วันจ่าย 10 พ.ค.
  • ปี 62 ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโต 10% ทั้งในส่วนของยอดขาย presale ที่ 13,600 ลบ. และรายได้ 15,300 ลบ. ปลายปี 61 มี backlog 6 พันลบ.คาดจะบันทึกเป็นรายได้ในปีนี้ทั้งหมด มูลค่าโครงการที่เปิดใหม่ 11,800 ลบ.มีแต่โครงการแนวราบ ผู้บริหารคาดส่วนแบ่งรายได้ราว 1.8 - 1.9 พันลบ. คาดรักษาระดับ %GP ที่ราว 32 – 34%
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐานระยะยาวจากมูลค่าเงินลงทุนที่มี NAV เท่ากับ 4.39 บาทต่อหุ้นสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบัน แม้ Bloomberg Consensus คาดกำไรเฉลี่ย 3.9 พันลบ. เติบโต 4% ไม่สูงนักแต่ Consensus คาด yield เฉลี่ยราว 7% ต่อปี แนะนำถือลงทุนระยะยาวรอรับเงินปันผล

หุ้นมีข่าว   

·         BANPU Analyst Meeting (ราคาปิด 16.30 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 20.97) บริษัทได้วางงบลงทุนสำหรับปี 62 ที่ราว US$ 835 M แบ่งได้เป็น
1) ธุรกิจ Gas ราว $US 500 M เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซสำรองในพอร์ทของบริษัท พร้อมทั้งหาโอกาสเพิ่มเติมใน midstream gas pipeline 2) ธุรกิจถ่านหิน $US 100 M เนื่องจากยังมีความต้องการอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาอาทิ เวียดนาม เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยบริษัทตั้งเป้ายอดขายถ่านหินในเวียดนามเพิ่มขึ้นสู่ 2 Mt จากปัจจุบันที่ 1.3 Mt 3) ธุรกิจ Renewable และ Conventional power รวม  $US 125 M ผ่านบริษัทลูก BPP โดยมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบันที่ 2.87 GW สู่ 4.30 GW ภายในปี 2025 4) ธุรกิจ Smart Energy $US 100 M มีการแตกไลน์ไปทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อต่อยอดจากธุรกิจเดิมของบริษัท โดยปัจจุบันได้มีการเข้าซื้อกิจการผู้ออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในญี่ปุ่น(FOMM) มูลค่า $US 20 M โดยเรามีมุมมอง Neutral กับแนวโน้มการเติบโตของบริษัทเนื่องจากธุรกิจถ่านหินซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทยังถูกกดดันจากแนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดย Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 62 ที่ราว 11,510 ลบ. +72%YoY เติบโตสูงเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในคดีหงสาแล้ว

·         NOBLE (ราคาปิด 23) แจ้งกำไรปี 61 เท่ากับ 987 ลบ. ลดลง 55%YoYจากการโอนโครงการโนเบิลเพลินจิตในปี 60 มีจำนวนมากกว่ารายได้จากโครงการโนเบิลรีวอลฟ์-รัชดา 2 ในปี 61 อัตรากำไรสุทธิลดลงเหลือ 19.2% จาก 22.7% ในปี 60 ปลายปี 61 มีเงินสด 1,564 ลบ. โดยมีเงินสดเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงาน 370 ลบ. เงินสดลดลงในการลงทุน 214 ลบ. และเงินสดเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมจัดหาเงิน 484 ลบ. ทั้งนี้ กำไรสะสมส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรรมีจำนวน 6,372 ลบ. ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 6.90 บาท ต้องใช้เงินสดรวม 3,225.5 ลบ.

·         SSP (ราคาปิด 7.60 "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 11.60) รายงานกำไรสุทธิปี 61 ที่ 482 ลบ. +42%YoY แต่ต่ำกว่าที่เราคาดราว 10% ขณะที่รายได้เติบโต 26%YoY สู่ 1,096 ลบ. จากการรับรู้รายได้โครงการใหม่ที่ COD ในปี 61 ได้แก่ 1)โครงการฮิดากะ(1Q61, 52 MW) 2)โครงการโซเอ็น(3Q61,  8 MW) และ3)โครงการโซลาร์รูฟท๊อป 3 โครงการได้แก่ SNNP1 SNNP2 (1Q61, รวม 1.4 MW) DoHome (3Q61, 3 MW) และโครงการโซลาร อผศ.(4Q61, 5 MW) อย่างไรก็ตามอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลง 80% ในปี 60 สู่ 70% เนื่องจากโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นและโซลาร์รูฟท๊อป(รับรายได้แบบ FIT) มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลพบุรี (รับรายได้แบบ Adder) ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายเผื่อการด้อยค่าในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน(ระบบสื่อสารและจำหน่ายไฟฟ้าภายนอกและค่าสิทธิและใบอนุญาตระหว่างก่อสร้าง)ที่ยังไม่เกิดขึ้น 13.2 ลบ. แต่หากพิจารณาจากกำไรหลักจากการดำเนินงานบริษัทสามารถสร้างการเติบโตได้ราว 6%YoY สู่ 499 ลบ. โดยเราคาดการณ์กำไรสุทธิปี 62 ที่ราว 730 ลบ. +51%YoY โดยคาดจะเติบโตจากรายได้โรงไฟฟ้าที่  COD รวม 68.4 MW ในปี 61 จะรับรู้รายได้เต็มปี อีกทั้งในปี 62 โรงไฟฟ้าที่มองโกเลียและที่เวียดนามกำลังการผลิตรวม 66 MW จะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตรวม 157 MW

·         CPN (ราคาปิด 75.50 Bloomberg Consensus 86.06) ปี 61 มีกำไรปกติ 10,823 ลบ. +9% โดยมีรายได้เติบโต 17% และ Same Store Sale Growth +3% ตามกรอบเป้าหมาย 3-4%  %GP ทำได้ 48.1% ลดลงจาก 49.6% ในปี 60 และ EBITDA margin ลดเหลือ 50.7% จาก 53.7% ในปี 60 ทั้งนี้ การกู้เงินซื้อหุ้น GLAND ทำให้อัตราส่วน net D/E Ratio เพิ่มขึ้นเป็น 0.37 เท่า จาก 0.07 เท่า

·         ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตของรายได้ในอนาคตจากกลยุทธ์เชิงรุกด้วย M&A การขยายการลงทุนสู่ต่างประเทศแห่งที่ 2 ล่าสุดศึกษาการลงทุนในเวียดนาม และการขยายสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายโดยเริ่มโอนปีนี้เป็นปีที่ 2 ปีนี้มีแผนเปิดขายคอนโดฯ 3 ทำเลที่เชียงใหม่ พิษณุโลก และอุบลราชธานี ทั้งนี้แม้แผนธุรกิจหลังควบรวม GLAND ยังอยู่ในระหว่างศึกษาเพื่อผลประโยชน์สูงสุด

  • + บอร์ด S ไฟเขียวนำ"เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท"เข้าตลาดฯ -เสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 40%
  • + AGE เผย บ.ย่อยซื้อรถบรรทุกเพิ่ม 7 คัน เรือลำเลียง 16 ลำ รวมมูลค่า 345 ลบ.
  • + PLAT เชื่อเปิดบริการ"เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก"ปีนี้หนุนผลงาน วางเป้า trafficศูนย์การค้า 3 ล้านคน/เดือน
  • + STEC โชว์งบปี 61 พลิกกำไรทะลัก 1,616 ล้านบาท จากปีก่อนมีขาดทุน 610 ล้านบาท อานิสงส์รายได้งานก่อสร้างพีก 7 หมื่นล้านบาท โตแรง 37% ฟาก CK เด่นฟันกำไร 2,494 ล้านบาท พุ่ง 37% เหตุบุ๊กส่วนแบ่งเงินลงทุน BEM-CKP (ที่มาข่าวหุ้น)
  • + GPSC มั่นใจซื้อกิจการ GLOW จากกลุ่ม ENGIE คาดแล้วเสร็จไตรมาส 1/62 จากนั้นลุยทำเทนเดอร์ฯ ก่อนเพิ่มทุนในไตรมาส 3-4 ลั่นหากซื้อกิจการ GLOW สำเร็จ หนุนผลประกอบการปี 62 โตก้าวกระโดด พร้อมส่งซิกงบไตรมาส 1/62 แจ่ม(ที่มาข่าวหุ้น)