FTSE เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย

FTSE เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย

SET Index จันทร์ที่ผ่านมา ปรับตัวลงเล็กน้อย ด้วยปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง

เนื่องจากไร้ปัจจัยหนุน ก่อนที่ตลาดหุ้นไทยและสหรัฐ จะหยุดทำการในวันถัดมา ขณะที่ นลท. ยังจับตาผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่จะจัดขึ้นรอบใหม่ในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ SET Index ปิดที่ 1,635.71 จุด (-1.23 จุด) Volume 3.4 หมื่นลบ. จาก Foreign Net  -662.44 ลบ. TFEX Net +8,647 สัญญา และ ตลาดตราสารหนี้ -1,313.39 ลบ.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

+ดาวโจนส์ปิดบวกเล็กน้อยรับแรงซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี นลท.จับตาเจรจาการค้ารอบใหม่

+น้ำมัน WTI ปิดบวก 50 เซนต์ รับโอเปกลดการผลิต,คาดเจรจาการค้าคืบหน้า

+สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวขึ้น 4 จุดในเดือนก.พ.

+จีน-สหรัฐจะเริ่มเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีรอบใหม่ในวันพฤหัสฯนี้

+FTSE ประกาศเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย จาก 1.83% สู่ระดับ 1.87% คาดเม็ดเงินไหลเข้า 5.1 พันล้านบาทมีผลวันที่ 15 มี.ค. (ที่มาข่าวหุ้น)

+สภาพัฒน์ เผย Q4/61 โต 3.7% ทั้งปีโต 4.1% สูงสุดรอบ 6 ปี แต่ต่ำกว่าคาดเดิมเล็กน้อย

+สภาพัฒน์ คงคาดการณ์ GDP ปี 62 โต 3.5-4.5% จับตาศก.โลกผันผวน-การเมืองหลังเลือกตั้ง คาดท่องเที่ยว-ลงทุนภาคเอกชนช่วยขับเคลื่อน ศก.

+/- Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย  YTD 2.2 พันล้านบาท ค่าเงินบาท 31.13 บาท/US

คาดดัชนี SET วันนี้มีโอกาสดีดตัวตามตลาดหุ้นต่างประเทศหลังมีความคืบหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อีกทั้งราคาน้ำมันปิดพุ่งขึ้นหลังอุปทานตึงตัว นอกจากนี้ FTSE ได้เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยทำให้มีโอกาสปรับตัวขึ้น คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,630-1,650 จุด

กลยุทธ์การลงทุน  

  • FTSE Large Cap : HMPRO GULF EA MINT MAKRO BEM, DIF
  • FTSE Mid Cap MTC GPSC
  • หุ้นได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง VGI PLANB MACO CPALL MAKRO BJC TKS
  • ขยายเวลา VOA AOT CENTEL ERW
  • High Div : KAMART SIRI SNC ORI DIF BTSGIF SC MC AIT QH KKP TKS

หุ้นแนะนำพิเศษ

NER Analyst Meeting ราคาปิด 2.56 บาท แนะนำ “ซื้อ” มีมุมมองบวก

  • หลังจากการประกาศกำไรงวดปี 61 ที่ 486 ลบ. + 117%YoY เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากปริมาณการขายสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 5% ประกอบกับ อัตราการทำกำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นมาที่ระดับ 10.3% จากปี 60 อยู่ที่ระดับ 7%
  • ปี 62 ผบห.ยังคงมุมมองบวกอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดปริมาณการขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 266,000 ตัน เติบโตจาก ปี 61 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 216,354 ตัน จากการเพิ่มสายการผลิตใหม่ในช่วงกลาง มี.ค.62 ในผลิตภัณฑ์ RSS-Compound มี Capacity รวมที่ 60,000 ตัน/ปี พร้อมวาง Rate สำหรับสายการผลิตดังกล่าวในปี 62 ที่ 50%
  • นอกจากนี้ ยังให้มุมมองบวกเกี่ยวกับทิศทางราคายางพาราในปี 62 เฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับราว 50 บาท/กก. +4%YoY เนื่องจากมองว่าสินค้าเริ่มขาดตลาด ประกอบกับประเด็นการเลือกตั้งหนุน ซึ่งการที่ราคายางพาราเริ่มปรับตัวขึ้น ยังช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าหันมาเร่งตุนสต็อกสินค้ามากขึ้น เป็นผลบวกด้านปริมาณการขายของบริษัท ขณะที่ คาดว่า %GPM ปี 62 จะปรับตัวดี จากการปรับปรุงกระบวนการผลิตยาง Mixture ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ ก.พ.61 ประกอบกับแนวโน้มราคายางขาขึ้นช่วยหนุนมาร์จิ้น
  • อย่างไรก็ดี การที่ราคายางพาราปรับสูงขึ้น จะทำให้บริษัทจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการมากขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลลบต่อต้นทุนทางการเงิน
  • ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวก ทั้งในแง่แนวโน้มผลประกอบการปี 62 และปัจจุบันซื้อขายที่ PE ค่อนข้างถูก ราว 7 เท่า ต่ำกว่า PE อุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 10 เท่า (อยู่ในระหว่างจัดทำบทวิเคราะห์และประมาณการปี 62)

ZEN (ราคา IPO 13 บาท)หุ้นเริ่มซื้อขายวันแรก : ตลาด SET /เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

  • บมจ. เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป(ZEN) ประกอบธุรกิจร้านอาหารแบ่งได้เป็น 1) แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่น ได้แก่ ZEN , Musha , Sushi Cyu , AKA , Tetsu และ On the table 2)แบรนด์ร้านอาหารไทย ได้แก่ ตำมั่ว , ลาวญวน , แจ่วฮ้อน , เฝอ และ เดอ ตำมั่ว เป็นต้น โดยในงวด 9M61 มีรายได้รวม 2,226 ลบ. +22%YoY มีสัดส่วนรายได้หลักมาจากแบรนด์ ZEN ราว 41% แบรนด์ AKA ราว 20% แบรนด์ On the table ราว 13% และแบรนด์ร้านอาหารไทยราว 9%  โดยบริษัทมีกำไรสุทธิงวด 9M61 อยู่ที่ 109 ลบ. +120%YoY เติบโตสูงเนื่องจากบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นเพียง 7% เมื่อเทียบกับยอดขายที่เติบโตถึง 22%
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 75 ล้านหุ้น  มูลค่าประมาณ  975 ลบ.ใช้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท ใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ

     •  ราคา IPO คิดเป็น  Current PER ที่ 27.6 เท่า สูงกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันในตลาดหลักทรัพย์โดยมี PER เฉลี่ย 25 เท่า โดยมีหุ้นของผู้มีส่วนร่วมในการบริหารที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 56.6 ล้านหุ้น คิดเป็น 18.9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 

หุ้นมีข่าว   

·         สรรพสามิตจ่อรีดภาษีความหวานเพิ่มเป็น 3 บาท/ลิตร เริ่ม 1 ต.ค.2562

ความเห็น : กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ TACC OSP CBG SAPPE OISHI ICHI

·         JAS (ราคาปิด 6.15 ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 6.39) รายงานกำไรสุทธิปี 61 อยู่ที่ 4,913 ลบ. +82%YoY โดยเป็นกำไรที่มาจากการดำเนินงานจำนวน 2,339 ลบ. ทรงตัวจากปีที่แล้ว แต่บริษัทมีกำไร/ค่าใช้จ่ายพิเศษจาก 1) กำไรจากการขายเงินลงทุนใน JASIF 3,650 ลบ.  2)สำรองหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญของ 3BB จำนวน 231 ลบ. 3) สำรองประมาณการหนี้สินตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทจำนวน 613 ลบ. 4)บันทึก Deferred Tax จำนวน 311 ลบ. โดยบริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.28 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 4.6%  XD 4 มี.ค. วันจ่าย 23 พ.ค.

·         + SMPC ตั้งเป้ายอดขายปี 62 โต 15-20% ตามดีมานด์ถังก๊าซในภูมิภาคเอเชียใต้-อาฟริกา

·         + CK ITD "กลุ่มซีพี"ได้ไปต่อรถไฟ 3 สนามบินหลังเจรจาประเด็นยากจบชั้นอนุกก.รอส่งบอร์ดคัดเลือกฯ 22 ก.พ.

·         + MCOT คาดเปิดประมูลพัฒนาที่ดิน 50+20 ไร่อย่างเร็วปลายปี 62,เชื่อปีนี้ไม่ขาดทุน-ย้ำพร้อมคืนคลื่น 2600 MHz หากชดเชยคุ้ม

·         PTTGC (ราคาปิด 69.25 Bloomberg 85.78) รายงานกำไรปี 61 ที่ 4.0 หมื่นล้านบาท +2%YoY โดยธุรกิจโรงกลั่นถูกกดดันจากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลงตาม spread น้ำมันเบนซิน และ spread น้ำมันเตา ที่ลดลง 29% และ 14% ตามลำดับ ด้านธุรกิจอะโรเมติกส์อ่อนตัวลงตามส่วนต่างผลิตภัณฑ์เบนซีน (Bz) แม้ว่าจะไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงอะโรเมติกส์ 2 เหมือนปี 60 ก็ตาม ขณะที่ธุรกิจโอเลฟินส์ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นจากการเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ของโรงงาน LLDPE แห่งที่ 2 กำลังการผลิต 4 แสนตันต่อปี อีกทั้งราคาขายผลิตภัณฑ์ HDPE และ LLDPE ปรับตัวขึ้น 14% และ 1% ตามลำดับ นอกจากนี้มีการรับรู้กำไรจากการซื้อบริษัทย่อยและรับรู้กำไรจากการขายเงินลงทุนรวม 1.6 พันล้านบาทเข้ามาหนุนผลประกอบการเพิ่มเติม

·         LIT (ราคาปิด 6.9 "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 11) รายงานกำไรปี 61 เท่ากับ 149 ล้านบาท ซึ่งเติบโต 2.3% ทำสถิติ All Time High เป็นปีที่ 11 โดยมีรายได้ 445 ล้านบาทเติบโต 6% ปริมาณการปล่อยสินเชื่อ 10,980 ล้านบาทเติบโต 7% ยอดสำรองหนี้สูญคิดเป็น 6.24% เพิ่มขึ้นจาก 4.92% ของยอดลูกหนี้ในปี 60 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการตั้งสำรองฯ 7% ของยอดลูกหนี้รวม

·         ความเห็น กำไรปี 61 เป็นไปตามที่คาด ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตของบริษัทตามการทยอยเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัทในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการSMEที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน คาดกำไรปี 62 ราว 175 ล้านบาทเติบโต 17%

·         JKN (ราคาปิด 8.55 "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 15.80) เตรียมชงบอร์ดปิดงบปี 2561 เดินหน้าขายคอนเทนต์ลูกค้าใหม่ คาดสรุป Q1/2562 ดันสัดส่วนรายได้ต่างแดนเพิ่มแตะ 30% จ่อโรดโชว์เกาหลี ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ หวังขยายฐานต่อยอดอนาคต คาดรายได้รวมปี 2562 เติบโต 20%(ที่มา : ทันหุ้น)

·         ความเห็น : การที่บริษัทสามารถขายคอนเทนต์ไปยังต่างประเทศมากขึ้น โดยที่ยังรักษายอดขายในประเทศได้ จะช่วยหนุนการเติบโตของอัตรากำไรของบริษัท โดยเราให้สมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นปี 62 ไว้ที่ 43% เพิ่มจากปี 61 ที่ราว 39% และเราคาดการณ์กำไรสุทธิปี 61 ที่ราว 244 ลบ. +30%YoY และคาดการณ์กำไรสุทธิปี 62 ที่ราว 342 ลบ. +40%YoY