จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์

จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์

"รมช.วิวัฒน์" นำทีมหนุนเกษตรปลอดสารเคมี เตรียมเสนอแนวทางและมาตรการทดแทนการใช้สารเคมีต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายฯ 14 ก.พ.นี้

จากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)รายงานปริมาณการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ใน พ.ศ. 2560 มีการนำเข้ารวม 198,317 ตัน เพิ่มขึ้น จาก พ.ศ. 2559 ร้อยละ 23 ที่มีการนำเข้ารวม 160,824 ตัน โดยประเภทของสารอันตราย ภาคเกษตรกรรมที่นำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สารกำจัดวัชพืช ร้อยละ 75 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 11 และสารป้องกันกำจัดโรคพืช ร้อยละ 10 เมื่อพิจารณาในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2553-2560) พบว่า การนำเข้าสารอันตรายภาคเกษตรกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากกรณีดังกล่าวนี้จึงทำให้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน


จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 นี้ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน มีจุดยืนอย่างชัดเจนที่ไม่เห็นด้วยในการใช้สารเคมีทุกชนิดกับการทำเกษตร เนื่องจากสารเคมีได้ส่งผลกระทบและนำพาไปสู่ความไม่ยั่งยืนในภาคการเกษตร อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ หรืออื่น ๆ ตลอดทั้งส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค ด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เด็กนักเรียน และนักท่องเที่ยวจะต้องมีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภคอยู่เสมอ

จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์



นโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศเป็นงานสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งรัดและต่อเนื่อง เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน มีความมั่นคงด้านอาหาร และความปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องเชื่อมโยงบูรณาการทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่

จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์



ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญและเน้นย้ำให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมาย โดยให้ที่ประชุมร่วมกันหาแนวทางมาตรการทดแทนการใช้สารเคมีให้แก่เกษตรกร ทั้งด้านการใช้เครื่องกล และเทคนิคการผลิตต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อพิจารณาต่อไป

จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์



ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ยังได้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ อาทิ 1.(ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ.... 2.โครงการพัฒนาวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ โดยเห็นควรให้จัดประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความร่วมมือและแนวทางการพัฒนาร่วมกันทั้งระดับนโยบายและการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ ตลอดทั้งจัดทำความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรฯ และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาวิจัยการค้าเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรใน 4 ภูมิภาคของประเทศ 3. การจัดสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งได้จัดครั้งที่ 1 ในภาคใต้แล้ว จึงเห็นควรให้มีการจัดต่อเนื่องอีก 3 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4.พิจารณาแผนงานเกษตรกรรมยั่งยืน ปีงบประมาณ 2562 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ

จับตา! 14 ก.พ. 'รมช.วิวัฒน์' แย้มบิ๊กเซอร์ไพรส์



โดยมีงบประมาณจำนวน 1,175.01 ล้านบาท กำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 697,343 ไร่ แบ่งเป็น เกษตรอินทรีย์ 468,973 ไร่ เกษตรทฤษฎีใหม่ 180,330 ไร่ เกษตรผสมผสาน 46,500 ไร่ และวนเกษตร 1,175.01 ไร่ ทั้งนี้ จากแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ได้กำหนดจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเชิงพื้นที่ ในจังหวัดมหาสารคาม เชียงใหม่ และยโสธร อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามแผนงาน /โครงการในปี 2562 ขณะนี้เป็นเพียงไตรมาสแรก จึงควรบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานพิจารณาในส่วนที่ยังไม่ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย ให้ดำเนินการในพื้นที่นำร่องเพื่อบูรณาการร่วมกันในระดับพื้นที่เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต่อไป

ที่มา http://m.thansettakij.com/content/386671