ดึงรร.เอกชนผลิตคน สร้าง24หลักสูตร ป้อนตลาดอีอีซี

ดึงรร.เอกชนผลิตคน สร้าง24หลักสูตร ป้อนตลาดอีอีซี

สช.จัดใหญ่งาน “มหกรรมการศึกษาเปิดโลกสู่อีอีซี” ชูแนวคิดการศึกษาเอกชน เสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เตรียม 24 หลักสูตรต้นแบบ พร้อมสร้างเครือข่ายโรงเรียนเอกชนอีอีซี ด้าน สกพอ.ตั้งเป้าผลิตแรงงานอาชีวะปีละ 1 หมื่นคน

นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาการ เปิดเผยถึงการจัดงาน “วันการศึกษาเอกชนและมหกรรมการศึกษาเปิดโลกสู่อีอีซี” ภายใต้แนวคิด “การศึกษาเอกชนเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า การจัดงานมหกรรมวันการศึกษาเอกชน ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิดการศึกษาเอกชนเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 10 ก.พ.2562 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน

ดึงรร.เอกชนผลิตคน สร้าง24หลักสูตร ป้อนตลาดอีอีซี

นายอำนาจ กล่าวว่า โครงการนี้จะดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้บริหาร ครูโรงเรียนเอกชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและนวัตกรรมทางการศึกษา รวมทั้งเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และพัฒนาทักษะ เพิ่มศักยภาพของตนเอง เพื่อรองรับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่อีอีซี

ร.ร.เอกชนร่วมผลิตบุคลากร

นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวว่า ทุกวันที่ 10 ก.พ.ของทุกปี จะเป็นวันการศึกษาเอกชน โดยย้อนไปเมื่อปี 2461 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. โรงเรียนราษฎร์เป็นครั้งแรก ถึงวันนี้ในโอกาสครบรอบ 101 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของโรงเรียนเอกชนต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน

ทั้งนี้ ทิศทางต่อไปในปีที่ 102 สช.จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดจัดงาน 5 ภูมิภาค โดยส่วนกลางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก จัดงานที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ สวนนงนุช พัทยา จังหวัดชลบุรี วันที่ 10 ก.พ.2562

“ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน จากนี้ มุ่งพัฒนา โรงเรียนที่มีคุณภาพเท่านั้น จึงจะอยู่ได้ ขอให้มั่นใจว่าโรงเรียนเอกชนเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระในการบริหาร และมีความคล่องตัวในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามปรับปรุง ทบทวน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โรงเรียนมีความคล่องตัว ในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยเชื่อได้ว่าศักยภาพของผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน จะสามารถทำให้โรงเรียนเอกชนเป็นที่พึ่งของประชาชน ในการเป็นโรงเรียนทางเลือกที่มีคุณภาพ”นายชลำ กล่าว

สร้างร.ร.เอกชนต้นแบบอีอีซี

ทั้งนี้ การจัดงานของส่วนกลางในปีนี้ เป็นการจัดงานวันการศึกษาเอกชนและมหกรรมการศึกษาเปิดโลกสู่อีอีซีในคราวเดียวกัน โดยมีประเด็นสำคัญ คือ สช.ได้พัฒนาโรงเรียนเอกชนต้นแบบในพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวม 12 โรงเรียน โดยคัดเลือกโรงเรียนมาพัฒนา และขยายเครือข่ายความเป็นต้นแบบ ไปสู่โรงเรียนอื่น ๆ ใน 3 จังหวัด จึงใช้ชื่องานในครั้งนี้ว่า “วันการศึกษาเอกชนและมหกรรมการศึกษาในพื้นที่อีอีซี”

นายชลำ กล่าวว่า การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการ และนิทรรศการผลงานของโรงเรียน นักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยแบ่งเป็น 3 โซน ครอบคลุมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ กิจกรรมและการแสดงนิทรรศการของโรงเรียนเอกชนประเภทต่างๆ แสดงผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนเอกชนในระบบ และโรงเรียนเอกชนนอกระบบ

รวมทั้งจะมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรต้นแบบ 24 หลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรอาชีพที่สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่อีอีซีสำหรับนักเรียนและโรงเรียนต้นแบบอีอีซี

ดัน 60 หลักสูตรภายในปี 2564

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ระบุว่า สกพอ.ได้จัดทำกรอบแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบแล้ว โดยกำหนดแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี (2560–2564)

ทั้นี้ ได้กำหนดเป้าหมาย 2 ระยะ คือ 1.เป้าหมายระยะเร่งด่วน (สัมฤทธิ์ผลภายใน 1 ปี ใช้งบประมาณ 2560-2561) ซึ่งจะผลิตครูหรือวิทยากรต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างน้อย 150 คน สาหรับบุคลากรที่อยู่ในระบบเพื่อปรับเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งเด็กและเยาวชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และระบบสารสนเทศ จานวนอย่างน้อย 40,000 คน และเกษตรกรอย่างน้อย 10,000 รายได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่จากมหาวิทยาลัย

2.เป้าหมายระยะปานกลาง (สัมฤทธิ์ผลใน 2-5 ปี ใช้งบประมาณ 2562-2564) โดยภายใน 2 ปี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโลยีสารสนเทศ ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยี IoT และศูนย์ทดสอบใบอนุญาตมาตรฐานวิชาชีพด้านการออกแบบนวัตกรรมยานยนต์ อย่างน้อย 10 ศูนย์ รวมทั้งภายใน 2 ปี ทำหลักสูตรและฝึกอบรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 60 หลักสูตร เช่น หลักสูตรฝึกอบรมและทดสอบสมรรถนะวิชาชีพคลัสเตอร์หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หลักสูตรรถยนต์ไฟฟ้า หลักสูตรหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หลักสูตรการบิน พลเรือน และหลักสูตรการจัดการสมัยใหม่

ผลิตแรงงานอาชีวะปีละหมื่นคน

นอกจากนี้ ภายใน 5 ปี บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านการอบรมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 42,000 คน เด็ก เยาวชน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ทักษะการประกอบอาชีพใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเข้าค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 8,000 คน พร้อมทั้งจัดทุนการศึกษาระดับปริญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 440 ทุน และภายใน 5 ปี ผลิตกาลังคนอาชีวะรองรับอีอีซีมากกว่า 40,000 คน หรือปีละ 10,000 คน ทุกคนมีงานที่ให้รายได้ดีรองรับ

รวมทั้งภายใน 5 ปี กาลังแรงงานระดับปริญญาด้านรถยนต์ไฟฟ้าและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจนถึง 350 คนต่อปี และภายใน 5 ปี ร่วมลงทุนกับบริษัทการบินชั้นนา ฝึกอบรมนักบินและบุคลากรด้านนักบิน ไม่น้อยกว่า 1,000 คน/ปี และช่างซ่อมเครื่องบินเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 500 คนต่อปี เพื่อสนองความต้องการในประเทศไทยและในภูมิภาค