ชี้เป้า '10 พื้นที่เมืองเผชิญมลพิษ PM2.5'

ชี้เป้า '10 พื้นที่เมืองเผชิญมลพิษ PM2.5'

“กรีนพีช” เผยพื้นที่ 10 เมืองเผชิญฝุ่นมลพิษ PM2.5 ชี้ “มหาชัย สมุทรสาคร” อันดับ 1 มีจำนวนวันที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม.เกินมาตรฐาน ระบุพื้นที่ 28 แห่ง จาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) มีความเข้มข้น PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 ม.ค.62 กรีนพีช ไทยแลนด์ จัดแถลงข่าวเปิดเผยรายงานการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ PM2.5 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ปี 2561 โดยนายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กรีนพีซได้จัดลำดับเมืองที่มีปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในประเทศไทย ปี2561 เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์และพัฒนาการของการจัดการ คุณภาพอากาศในเมืองและพื้นที่ต่างๆ กระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายทุกระดับทบทวนแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศ ที่ยังไร้ประสิทธิภาพ และยกร่างมาตรการที่ก้าวหน้าโดยมีเป้าหมายที่เจาะจง (specific) วัดได้(measurable) ทำได้(Attainable) สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน ซึ่งใช้ข้อมูลที่สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้ของการตรวจวัดความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 จากทั้งหมด 53 สถานีครอบคลุมพื้นที่ 29 จังหวัด โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยรายปี 4 (หน่วย : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายเดือน 5 (หน่วย : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ เมตร)และจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐาน มาพิจารณาในการจัดลำดับ

ผลการจัดลําดับ ในปี พ.ศ.2561 พบว่า พื้นที่เมือง 10 อันดับ ที่ต้องเผชิญกับมลพิษ PM2.5 คือ 1. ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 2. ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 3. ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 4. ต.ศรีภูมิอ.เมือง จ.เชียงใหม่ 5.ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6. ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 7. ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 8. ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 9. ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น และ 10. ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในพื้นที่ดังกล่าวต้องเผชิญกับ มลพิษ PM2.5 มีจำนวนวันที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกิน50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(มคก./ลบ.ม.) ที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทย อยู่ระหว่าง 19-68 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่าค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่ควรเกินค่ามาตรฐานที่25 มคก./ลบ.ม.มากกว่า 3 วัน ในช่วงเวลา 1 ปีจะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เมืองต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากการรับสัมผัสมลพิษ PM2.5 ที่เกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน และหากไม่มีมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศที่ก้าวหน้าผลที่เกิดขึ้น คือ วิกฤตด้านสาธารณสุขมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างมากขึ้น

PM2.5-Thailand-City-Ranking-2018-02

นายธาดา กล่าวอีกว่า ขณะที่พื้นที่ 28 แห่ง จาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 มคก./ลบ.มและพื้นที่เมือง ทั้ง 53 แห่ง ยกเว้น อ. เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเริ่มต้นวัดในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนด ไว้ที่ 10 มคก./ลบ.มและเฉพาะในปี 2561 มีพื้นที่เมือง 39 แห่งจาก53 แห่งใน 29 จังหวัด ที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกินมาตรฐาน ของประเทศไทย ซึ่งกำหนดไว้ที่ 50 มคก./ลบ.ม โดยจำนวนวันที่เกินมาตรฐานมีตั้งแต่1 วันไปจนถึง 68 วัน

"ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ ที่จะเผชิญฝุ่นอย่างเดียว ยังมีอีกหลายพื้นที่เมืองใหญ่ในจังหวัดต่างๆ ที่ประสบปัญหาดังกล่าว การดำรงชีวิตในที่ที่มีอากาศสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายต้อง ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อวิกฤตมลพิษ PM2.5 ที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน กรีนพีช ขอเสนอให้กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทยโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 มคก./ลบ.มและค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 มคก./ลบ.มภายในปี พ.ศ. 2562" นายธาดากล่าว

นอกจากนั้น ต้องดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยมลพิษทางอากา

ธารา-บัวคำศรี

นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศ และกำหนดมาตรการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี 2563อย่างชัดเจน ติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินนโยบายการจัดการคุณภาพอากาศสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ตามเป้าประสงค์ที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากมลพิษทางอากาศ พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลในพื้นที่มีระดับมลพิษสูง จัดประชุม เผยแพร่รูปแบบ การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับผู้ป่วยในช่วงที่มีปัญหาจากมลพิษทางอากาศ และติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของผลกระทบต่อสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตาม

ส่วน คพ.และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และฝุ่นละออง ขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่โดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ กําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้าโดยให้เป็นรายชื่อมลพิษ ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ และกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในภาคการขนส่ง ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาที่สมเหตุสมผล และจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด สนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้า ส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง เป็นต้น