สถาบันพระปกเกล้าฯ เผยปชช.52.6% สนใจเลือกตั้ง 86.8% จะออกไปใช้สิทธิ

สถาบันพระปกเกล้าฯ เผยปชช.52.6% สนใจเลือกตั้ง 86.8% จะออกไปใช้สิทธิ

สถาบันพระปกเกล้า เผยผลการสำรวจ "การรับรู้ เกณฑ์การตัดสินใจ และการยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชน" ชี้ปชช.52.6% สนใจการเลือกตั้งครั้งนี้ 35.4% จะพิจารณานโยบายพรรคเป็นหลัก ถ้าเลือกตั้ง 24 ก.พ. 86.8% จะออกไปใช้สิทธิแน่นอน

สถาบันพระปกเกล้าได้ดำเนินโครงการจับตาการเลือกตั้ง 62 (Election'62 Watch) ซึ่งในโครงการ ประกอบไปด้วยกิจกรรมในหลายส่วน อาทิ การรวบรวมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งของสถาบันพระปกเกล้า การจัดทำและรวบรวมบทความและบทสัมภาษณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การจัดทำสื่อความรู้ เพื่อรณรงค์และส่งเสริมการเลือกตั้ง รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้ง ในการนี้สถาบันพระปกเกล้าได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง จำแนกเป็นในเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาจ านวน 1 ครั้ง สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 และจะมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอีก 3 ครั้งในช่วงวันที่ 25 มกราคม , 4 กุมภาพันธ์ และ 14 กุมภาพันธ์ รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง

ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งที่ 2 เรื่อง “การรับรู้ เกณฑ์การตัดสินใจ และการยอมรับผลการเลือกตั้ง ของประชาชน” ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-30 ธันวาคม 2561 จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,540 ตัวอย่าง ซึ่งใช้หลักความน่าจะเป็นในทางสถิติบนฐานข้อมูลจำนวน จำแนกตามเพศ อายุ และเขตการปกครอง (ในและนอกเขตเทศบาลเมือง/นคร) ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย และเพื่อให้แน่ใจว่าผลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างนั้นจะสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีของคนทั้งประเทศได้ จึงได้มีการทำการถ่วงน้ำหนัก (Weighted) เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ของประชากรในแต่ละพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง สำหรับวิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face to face interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (standard error : S.E) ไม่เกิน 1.4 ในการสอบถามความคิดเห็นครั้งนี้สามารถแบ่งคำถามได้เป็น 5 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 : ความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งและช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ประชาชนมีความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นอย่างมาก

เมื่อสอบถามประชาชนว่ามีความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้เพียงใดจากคะแนนเต็ม 10 ประชาชน ร้อยละ 52.6 ให้คะแนนความสนใจต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้นที่ให้คะแนนความสนใจต่ ากว่า 5 คะแนน และค่าเฉลี่ยของความสนใจโดยภาพรวมอยู่ที่ 7.39 คะแนน และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนความ สนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสูงที่สุดที่ 7.81 คะแนน รองลงมาเป็นผู้ตอบแบบสอบถามในภาคเหนือ 7.69 คะแนน

และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสูงที่สุดที่ 7.81 คะแนน รองลงมาเป็นผู้ตอบแบบสอบถามในภาคเหนือ 7.69 คะแนนภาคกลางและตะวันออก 7.21 คะแนน ภาคใต้ 7.10 คะแนน และกรุงเทพฯ 6.10 คะแนน ตามลำดับ

ส่วนความแตกต่างของความสนใจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ พบว่า ผู้ชายมีความสนใจมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อยคนอายุระหว่าง 36-60 ปีมีความสนใจมากกว่าคนช่วงอายุอื่นๆ คนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าให้ความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งมากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาน้อยกว่า และกลุ่มข้าราชการให้ความสนใจสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่ม
อาชีพอื่นๆ

ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารทางการเมืองทางโทรทัศน์ (ฟรีทีวี)
เมื่อสอบถามประชาชนถึงช่องทางการติดตามข่าวสารทางการเมือง พบว่า ประชาชนร้อยละ 57.4 ระบุว่า ติดตามข่าวสารทางการเมืองทางโทรทัศน์ (ฟรีทีวี) มากที่สุด รองลงมาร้อยละ 26.0 ระบุว่าติดตามทาง อินเตอร์เน็ต/โซเชียลมีเดีย ร้อยละ 6.5 ติดตามผ่านการพูดคุยกับคนอื่นๆ และมีเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นที่ติดตามทางหนังสือพิมพ์

เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ น่าสนใจว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 72.9 ระบุว่า โทรทัศน์ (ฟรีทีวี) เป็นช่องทางที่ใช้ในการติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุด ในขณะที่ผู้ตอบที่มีอายุ 18-25 ปีที่ตอบว่าติดตามข่าวสารทางการเมืองทางโทรทัศน์ (ฟรีทีวี) มากที่สุดมีเพียง ร้อยละ 44.8 เท่านั้น ในทางกลับกัน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพียงร้อยละ 10.3 เท่านั้น ที่ระบุว่าติดตามข่าวสารทางการเมืองทางอินเตอร์เน็ต/โซเชียลมีเดียมากที่สุด ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 18-25 ปีที่ระบุว่าติดตามข่าวสารทางการเมืองทางอินเตอร์เน็ต/โซเชียลมีเดียมากที่สุดมีถึงร้อยละ 42.8

ในส่วนของการติดตามข่าวสารทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น พบว่า ประชาชนในทุกกลุ่มอายุส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารผ่านทางฟรีทีวีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดตามผ่านทางฟรีทีวีถึงร้อยละ 72.9 และ ล าดับรองลงมาพบว่าประชากรทุกกลุ่มติดตามข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 18-25 ปีที่มีติดตามถึงร้อยละ 42.8

ส่วนที่ 2 : ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งระบบใหม่
ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนยังเท่าๆ เดิมและใกล้เคียงกันในแต่ละภาค เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับ จ านวน ส.ส. ที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 61.4 ทราบว่า ส.ส. แบบแบ่งเขตมีจ านวน 350 คน (เพิ่มขึ้นจากผลส ารวจครั้งแรก ร้อยละ 2.3) ในขณะที่ประชาชน ร้อยละ 67.5 ทราบว่า ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจ านวน 150 คน (ลดลงจากผลส ารวจครั้งแรก ร้อยละ 3)

เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคเหนือ มีความรู้เรื่องจ านวน ส.ส. แบบแบ่งเขตสูงกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ (ร้อยละ 65.7) รองลงมาเป็นประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 65.6) ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ (ร้อยละ 65.2) ประชาชนในภาคใต้ (ร้อยละ 60.6) และประชาชนในภาคกลางและตะวันออก (ร้อยละ 52.6) ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตสูงกว่าประชาชนในกลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 43.7) รองลงมาเป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี (ร้อยละ 41.5) และประชาชนที่มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี เป็นกลุ่มที่เข้าใจถูกต้องในเรื่องของจำนวนส.ส. แบบแบ่งเขต (ร้อยละ 64.7) รองลงมาได้แก่ กลุ่มประชาชนที่มีอายุระหว่าง 46 – 60 ปี (ร้อยละ 64.3)ตามลำดับ

ส่วนความรู้เกี่ยวกับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อนั้น ประชาชนในภาคใต้มีความรู้ในเรื่องนี้สูงกว่าภาคอื่นๆ (ร้อยละ 72.1) รองลงมาเป็นประชาชนในภาคเหนือ (ร้อยละ 71.2) ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ (ร้อยละ 69.9) ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 69.5) และประชาชนในภาคกลางและตะวันออก (ร้อยละ 59.3) ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 26-35 ยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อสูงกว่าประชาชนในกลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 35.8) รองลงมาเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 35.4) ในขณะที่ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี เป็นกลุ่มที่เข้าใจถูกต้องในเรื่องของจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ร้อยละ 70.0) รองลงมาได้แก่ กลุ่มประชาชนที่มีอายุระหว่าง 46 – 60 ปี (ร้อยละ 69.3) ตามลำดับ

ส่วนที่ 3 : เกณฑ์การตัดสินใจเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต
การเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรค เมื่อถามประชาชนว่าจะตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. เขตในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยพิจารณาจากปัจจัยเรื่องใดมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 35.4 ระบุว่าจะพิจารณาจากนโยบายของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 26.5 ระบุว่าจะพิจารณาจากตัวผู้สมัครในเขตของตน ร้อยละ 21.5 จะพิจารณาจากพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัดและร้อยละ 16.5 จะพิจารณาจากชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองนำเสนอ

เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค น่าสนใจว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในแทบทุกภาคจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรคมากที่สุด ยกเว้นภาคตะวันตะวันออกเฉียงเหนือเพียงภาคเดียวที่มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะใช้ปัจจัยเรื่องตัวผู้สมัครในเขตในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ตอบที่จะใช้ปัจจัยเรื่องนโยบายพรรคในการเลือกผู้สมัคร (ร้อยละ 35.0 vs ร้อยละ 30.7)

เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นกลุ่มอายุ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในแทบทุกภาคจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรคมากที่สุด โดยเรียงล าดับจากกลุ่มประชากรอายุ 36-45 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 18-25 ปี และ กลุ่มอายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.3 , 37.1 และ 35.1 เรียงตามลำดับ

ส่วนที่ 4 : ความมุ่งมั่นในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 เมื่อถามว่า หากมีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ท่านจะออกไปใช้สิทธิหรือไม่ ประชาชน ร้อยละ 86.8 ตอบว่า จะออกไปใช้สิทธิอย่างแน่นอน ร้อยละ 12.0 ตอบว่ายังไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้นที่ตอบว่าจะไม่ไปสิทธิอย่างแน่นอน

คนกรุงเทพฯ เริ่มไม่ค่อยแน่ใจว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 ใน 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่าจะไปเลือกตั้งอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม มีประชาชนในกรุงเทพฯ เพียงร้อยละ 59.8 เท่านั้นที่ระบุว่าตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 (น้อยกว่าสัดส่วนจากการสำรวจครั้งที่ 1 ถึงร้อยละ 34.9) ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนในกรุงเทพฯ เพียงร้อยละ 5.3 ที่ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้งอย่างแน่นอน แต่มากกว่าหนึ่งในสาม (ร้อยละ 34.8) ระบุว่ายังไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 46-60 ปี ตั้งใจออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด(ร้อยละ 91.1) ในขณะที่ผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ (อายุ 18-25 ปี) และผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสองช่วงวัยที่มีผู้ตอบว่าจะออกไปใช้สิทธิอย่างแน่นอนน้อยกว่าผู้ตอบในช่วงอายุอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 81.5 และร้อยละ 81.7 ตามลำดับ

ส่วนที่ 5 : ความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
ประชาชนเกินครึ่งยังไม่เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ “สุจริตและเที่ยงธรรม” เมื่อสอบถามประชาชนว่ามีความเชื่อมั่นแค่ไหนว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ “สุจริตและเที่ยงธรรม” ประชาชนร้อยละ 53.5 ตอบว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นเลย ในขณะที่ประชาชนเพียงร้อยละ 46.5 ตอบว่าค่อนข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นอย่างมาก

นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายภาค พบว่า มีเพียงภาคเหนือและภาคใต้เท่านั้นที่ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งค่อนข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นอย่างมากว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ “สุจริตและเที่ยงธรรม”ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 64.7 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 62.7 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นเลยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ “สุจริตและเที่ยงธรรม”

เมื่อพิจารณาเรื่องความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้ง พบว่าในทุกกลุ่มอายุไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยกลุ่มที่ไม่มีความเชื่อมั่นสูงที่สุด คือ กลุ่มประชากรที่มีอายุช่วง 36-45 ปี

เมื่อถามต่อไปว่าอะไรคือปัจจัยส าคัญที่จะท าให้คนส่วนใหญ่ยอมรับในผลการเลือกตั้งครั้งนี้
-ร้อยละ 35.6 ตอบว่า การจัดการเลือกตั้งของ กกต. ที่สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความ
ยุติธรรม
-ร้อยละ 11.6 ตอบว่า ผลการเลือกตั้งตรงตามที่ประชาชนเลือก สะท้อนความต้องการของเสียง
ส่วนใหญ่
-ร้อยละ 10.6 ตอบว่า ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจ านวนมาก การมีส่วนร่วมของ
ประชาชน
-ร้อยละ 6.1 ตอบว่า ความเป็นกลางของรัฐบาล
-ร้อยละ 4.3 ตอบว่า ได้คนดี รัฐบาลดี นโยบายดี
ส่วนสิ่งส าคัญที่อาจท าให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับในผลการเลือกตั้งครั้งนี้
-ร้อยละ 31.0 ตอบว่า การทุจริต มีการโกงการเลือกตั้ง
-ร้อยละ 18.1 ตอบว่า การซื้อสิทธิขายเสียง แจกเงินหรือสิ่งจูงใจเพื่อชนะการเลือกตั้ง
-ร้อยละ 5.5 ตอบว่า การใช้อ านาจหรืออิทธิพลแทรกแซงการเลือกตั้ง
-ร้อยละ 4.2 ตอบว่า พรรคการเมืองแข่งขันกันแบบเอารัดเอาเปรียบ