เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

"รมว.คลัง" เปิดใจกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ไฟเขียวควบรวม "ทีเอ็มบี-ธนชาต" ดีล1.8ล้านล้าน หวังแบงก์ของไทยแข่งขันระดับภูมิภาค

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาทางผู้ถือหุ้นของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ทั้งที่เป็นผู้ถือหุ้นคนไทย และผู้ถือหุ้นต่างชาติเข้ามาหารือเกี่ยวกับการควบรวมกิจการของทั้ง 2 ธนาคารแต่ยังไม่มีข้อสรุป การหารือมีทั้งสอบถามความเห็นว่า คลังคิดเห็นอย่างไร รวมถึงมาขอว่า หากควบรวมแล้วจะขายสินทรัพย์อะไรบางอย่างออกไป จะขอสิทธิประโยชน์ทางภาษี

“เขาก็ส่งคนมาคุยอยู่เรื่อยๆ ต่างคนต่างมาไม่ได้มาพร้อมกัน ถ้ามาพร้อมกันก็คงแสดงว่าได้ข้อสรุปแล้ว เพราะเขายังไม่สรุปดีล ก็มาถามว่าแบบนั้นทำได้มั้ย แบบนี้ทำได้มั้ย แต่ยังไม่เห็นสรุปอะไรสักอย่าง ส่วนรูปแบบของการรวมกันจะเป็นอย่างไรนั้น มีหลายออปชั่น (ทางเลือก) การควบรวมกิจการก็เป็นหนึ่งในออปชั่น กำลังทำกันอยู่ วุ่นวายพอสมควร กำลังคุยสารพัดดีล เค้าไม่ได้บอกว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ แต่ถ้าไม่ทำภายในปี 2565 ก็ไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี”

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

ไฟเขียวควบรวม

สำหรับนโยบายของกระทรวงการคลังนั้นก็บอกไปว่า คลังส่งเสริมให้มีการควบรวมอยู่แล้วไม่อย่างนั้นจะมีการไปออกนโยบายที่จะส่งเสริมควบรวมกิจการทำไม แต่การที่จะควบรวมหรือไม่ ต้องดูว่าในฐานะที่คลังเป็นผู้ถือหุ้นมูลค่าหุ้น มูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุนไปเพิ่มขึ้น หรือมีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทั้งหมดคุยกันแค่เบื้องต้น ส่วนตอนนี้จะสรุปหรือยังนั้นยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตามหากได้ข้อสรุปแล้ว ก็คงเดินตามกระบวนการ คือการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นคลังก็เข้าร่วมในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

จุดยืนของกระทรวงการคลัง สำหรับการถือหุ้นในทีเอ็มบีนั้น แม้ว่าการเข้าถือหุ้นในทีเอ็มบีจะไม่ใช่การลงทุนตามยุทธศาสตร์ตอนที่ถือเพราะช่วงนั้นต้องแก้ไขปัญหาธนาคาร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องขายออก ออปชั่นแรกที่คุยกันไว้คือควบรวมกิจการในฐานะที่คลังเป็นผู้ถือหุ้น ก็ต้องมาดูว่าทำแล้ว สิ่งที่เราถืออยู่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผู้ถือหุ้นรายย่อยรายอื่น ก็ต้องดูแบบเดียวกับที่เราดู

“ถ้าจะควบรวบหุ้นต้องมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น ตอนนี้หากอยู่เดี่ยวๆ ราคา 2 บาทกว่า แต่ถ้ารวมไปมูลค่าในอนาคตอาจจะขึ้นเป็น 3-4 บาทก็สมควรที่จะพิจารณาดู แต่หากรวมไปแล้วเหลือบาทกว่าก็ต้องเก็บไว้ก่อน เราไม่ได้คิดจะขาย ขายไปขาดทุนจะขายทำไม ในเมื่อศักยภาพไปได้ เราในฐานะผู้ถือหุ้นก็ต้องพิจารณาเรื่องนี้ และต้องมีที่ปรึกษามาดูว่าดีลคุ้มค่าหรือไม่คุ้ม เราต้องมองไปในอนาคต และมองในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น ไม่ได้มองในฐานะที่เป็นกระทรวงการคลัง”

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

“กรุงไทย”เคยหารือรวมทีเอ็มบี

ส่วนกรณีที่ช่วงแรกที่มีข่าวควบรวมกิจการเป็นการควบรวมกันระหว่างกรุงไทยกับทีเอ็มบีนั้น นายอภิศักดิ์กล่าวว่า กรุงไทยกับทีเอ็มบีก็มีการคุยกันเหมือนกัน คุยกันหมดมีคนคุยเยอะเลย แต่ไม่บอกว่ามีกี่เจ้า ซึ่งเรื่องการควบรวมแบงก์ไม่ได้มีเฉพาะทีเอ็มบีแบงก์เดียว มีแบงก์อื่นด้วย เยอะแยะ นโยบายเราอยากให้รวมอยู่แล้ว ใครก็ได้

“ใจเราอยากให้แบงก์รวมกันแล้วมีขนาดใหญ่แข่งกับแบงก์ในภูมิภาคได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับแบงก์ว่าจะทำหรือไม่ทำ เราเองเปิดทางให้ ค่าใช้จ่ายเราดูแลให้ แต่การจะทำหรือไม่ เขาต้องศึกษา และดูว่าได้ประโยชน์จริง โดยปกติการรวมกันในไทยเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะมีปัญหา เมื่อปัญหามารวมกับปัญหา กลายเป็นซูเปอร์ปัญหา ต้องใช้เวลาแก้หลายปี ไม่เหมือนกับที่อื่นที่รวมกันเพื่อการเติบโต เช่นในสิงคโปร์ที่มีแบงก์จำนวนมาก รวมกันจนเหลือ 4 แบงก์ กลายเป็นระดับเวิลด์คลาส เช่นเดียวกัน มาเลเซีย จนทุกวันนี้เมย์แบงก์ใหญ่มาก จากเมื่อก่อนต้มยำกุ้งมีขนาดเล็กกว่าธนาคารกรุงเทพ ซีไอเอ็มบีมีไซส์ครึ่งหนึ่งของธนาคารกรุงเทพเท่านั้น แต่ขณะนี้ซีไอเอ็มบีใหญ่กว่าแบงก์กรุงเทพ 2 เท่า ส่วนเมย์แบงก์ใหญ่กว่าซีไอเอ็มบีอีก เห็นได้ว่าแบงก์ไทยที่เคยใหญ่ในอาเซียน เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว”

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

หวังแบงก์ไทยออกไปแข่งในภูมิภาค

ส่วนกรณีของไทยที่แม้จะรวมกันแล้วยังไม่ใหญ่ แต่ก็ยังดีกว่าอยู่แบบเล็กๆ เพราะในอนาคตจะต้องมีการลงทุนด้านไอทีอิเล็กทรอนิกส์ ต้นทุนการลงทุนการดำเนินงานสูงกว่า จะแข่งขันกับคนอื่นได้อย่างไร แม้จะเป็นแบงก์เล็กกับเล็ก รวมกันก็ยังไม่ใหญ่พอ แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไร เราต้องการให้แบงก์เราแข่งกับภูมิภาคได้ ไม่ใช่แย่งเค้กกันเฉพาะในเมืองไทย จะต้องไปเอาส่วนแบ่งจากข้างนอกแล้วเอาผลประโยชน์กลับมา ปัจจุบันแบงก์ไทยแย่งกันอยู่ภายใน ยกเว้นแบงก์กรุงเทพที่ออกไปข้างนอกเยอะ แต่ด้วยไซส์ปัจจุบันก็ทำอะไรยาก ไม่ได้ง่าย

เขากล่าวว่า แม้ในปัจจุบันโอกาสที่แบงก์ต่างประเทศจะเข้ามาแข่งขันกับแบงก์ไทยค่อนข้างยาก สังเกตว่าแบงก์ต่างชาติที่เข้ามาไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเพราะความได้เปรียบของแบงก์ต่างชาติที่เคยมีลดลง จากเมื่อก่อนที่ได้เปรียบใน 2-3 เรื่องคือ 1.เทคโนโลยีที่ดีกว่าไทย แต่แบงก์ไทยตามทันแล้ว 2. ขนาดใหญ่กว่าไทย ต้นทุนถูกกว่า และ 3.เมื่อก่อน ได้เปรียบเราเรื่องอัตราดอกเบี้ย แต่ส่วนนี้ถูกเปลี่ยนไป หลังเกิดวิกฤติในสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยไทยไม่ได้แพงกว่า แถมยังถูกกว่าด้วย

เปิดใจ 'อภิศักดิ์' ไฟเขียวควบรวม 'ทีเอ็มบี-ธนชาต' ดีล1.8ล้านล้าน

“ความได้เปรียบของแบงก์ต่างชาติหายไป อีกทั้งแบงก์ไทยยังมีเครือข่ายสาขาเยอะมาก แบงก์ต่างชาติมาไม่มีเครือข่าย ก็เข้ามายากแต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน ทุกอย่างเป็นอิเล็กทรอนิกส์ อีเพย์เมนท์ ความจำเป็นที่จะมีสาขาน้อยลง เปิดโอกาสให้แบงก์ต่างชาติเข้ามาแข่งได้ อันนี้คืออุปสรรคใหญ่ ของแบงก์ไทยที่จะต้องเร่งปรับตัว ทำเทคโนโลยีให้ดีใกล้เคียงกับต่างชาติให้ได้”