กรมอนามัย รวมพลังภาคีดูแลหญิงท้อง - ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนเพียงพอ

กรมอนามัย รวมพลังภาคีดูแลหญิงท้อง - ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนเพียงพอ

กรมอนามัย รวมพลังภาคีดูแลหญิงท้อง - ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนเพียงพอ

นนี้ (19 ธันวาคม 2561) แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "พัฒนาศักยภาพบุคลากร สานพลังความร่วมมือถอดบทเรียนการดำเนินงานโรคขาดสารไอโอดีน”ณ โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค กรุงเทพมหานคร ว่า หนึ่งในมาตรการที่องค์การอนามัยโลกกำหนดในการขจัดโรคขาดสารไอโอดีน คือ ความครอบคลุมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพในระดับครัวเรือนต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ซึ่งผลจากการดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามภาวะขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย พบความครอบคลุมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพในระดับครัวเรือน ปี 2559 ร้อยละ 79.9 และพบค่าไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ 145 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ คือ 150-249 ไมโครกรัมต่อลิตร และจากการสำรวจระดับไอคิวของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของกรมสุขภาพจิต ในปี 2559 พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 จุด ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งกำหนดไว้ที่ 100 จุด เพื่อให้เด็กไทยได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอ กรมอนามัยจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน คือ มาตรการเกลือเสริมไอโอดีน ที่กำหนดให้เกลือบริโภค รวมทั้งเกลือที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต้องเป็นเกลือที่เสริมไอโอดีน นอกจากนี้ยังมีมาตรการเสริม คือ การจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ให้หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ตลอดการตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน ผลการดำเนินงานล่าสุด ปี 2561 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน เพียงร้อยละ 70.8 ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีมาตรการเสริมไอโอดีนในน้ำดื่ม ดำเนินการในโครงการส่งเสริมโภชนาการ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


"ทั้งนี้ ไอโอดีนถือเป็นสารอาหารหนึ่งที่เป็นต้นทุนทางสติปัญญาของทารกแรกเกิดที่สำคัญ เนื่องจากการขาดสารไอโอดีนจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาสมองของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงช่วงระยะทารกแรกเกิดและเด็กปฐมวัย ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้นมบุตร 6 เดือนทุกราย จึงจำเป็นต้องได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน การขจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ "พัฒนาศักยภาพบุคลากร สานพลังความร่วมมือถอดบทเรียนการดำเนินงาน โรคขาดสารไอโอดีน”ในครั้งนี้ มีกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ ร่วมกันถอดบทเรียน และช่วยเสริมพลังการดำเนินงานในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อนำไปปรับใช้ในการวางแผนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าว