ปี62 อภ.ผลิตยาเอดส์เองอีก2รายการ ประหยัดงบ140ล้านบาท

ปี62 อภ.ผลิตยาเอดส์เองอีก2รายการ ประหยัดงบ140ล้านบาท

อภ.เผยจัดหาน้ำยาล้างไต-ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ช่วยชาติประหยัดปีละกว่า 3,500-3,800 ล้านบาท ปี 62 เตรียมผลิตยาเอดส์เองอีก 2 ราย ยกเลิกการนำเข้า คาดช่วยประหยัดงบฯอีกปีละ 140 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.61 นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม(บอร์ดอภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายในสิทธิ์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประมาณหรือบัตรทอง 50,000 บาทแบ่งออกเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องประมาณจำนวน 30000 รายโดยมีผู้ป่วยที่ยังคงมีเบิกจ่ายน้ำยาล้างไตทางช่องท้องเดือนละจำนวนประมาณ 20,000 บาทมีหน่วยให้บริการอยู่ 231 แห่งและผู้ป่วยที่ใช้ฟอกไตด้วยเครื่องฟอกไตเทียมประมาณ 20,000 รายโดยมีผู้ป่วยที่ยังคงมีเบิกจ่ายและเข้ารับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ประมาณ 14,000 มีหน่วยให้บริการอยู่ 579 แห่งในส่วนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่ยังมีการเบิกจ่ายน้ำยาประจำอยู่จำนวน 21000 รายนั้นองค์การเภสัชได้จัดซื้อจัดหาน้ำยาล้างไตทางช่องท้องจากบริษัทผู้ผลิต 2 ราย โดยมีอัตราการใช้น้ำยาล้างไตทางช่องท้องโดยรวมต่อเดือนประมาณเดือนละ 2.5 ล้านถุงหรือประมาณ 30 ล้านถุงต่อปีในการจัดซื้อจัดหาน้ำยาล้างไตทางช่องท้องในปี 2561 อภ.สามารถช่วยรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาได้กว่า 2 พันล้านบาท

ในส่วน ยาต้านไวรัสเอดส์มุ่งเน้นออกรายการใหม่ลดปัญหาการดื้อยาและประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาให้กับรัฐหากคิดทั้งหมด 23 รายการที่อภ.ผลิตจะประหยัดงบประมาณภาครัฐปีละประมาณ 1,500 -1,800 บาทล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 4.4 แสนคนซึ่งได้รับการวินิจฉัยและรู้สถานะการติดเชื้อตนเองแล้ว 98 %หรือประมาณ 4.3 แสน คน โดยมีผู้ที่รู้สถานะการติดเชื้อตนเองและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสประมาณ 75% หรือประมาณ 3.2 แสนคนแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสิทธิ์บัตรทอง 77% หรือประมาณ 2.5 แสนคน เป็นสิทธิ์ประกันสังคม 20% หรือประมาณ 6.5 หมื่นคนและสิทธิ์ข้าราชการ 5 % หรือประมาณ 7,600 คน

ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ในเดือนก.ค.2562 อภ.จะยกเลิกการนำเข้ายาต้านไวรัสเอดส์ 2 รายการ โดยอภ.จะดำเนินการผลิตเอง คาดว่าจะสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยาต้านไวรัสที่ต้องนำเข้าทั้ง 2 รายการนี้ได้อีกปีละราว 143 ล้านบาทต่อปี ได้แก่ ยาจีพีโอ เวียร์-ที(GPO VIR-T) ซึ่งเป็นยาสูตรผสมประกอบด้วยยา 3 ชนิดร่วมกัน ถือเป็นยาจำเป็นพื้นฐานช่วยเพิ่มความสะดวกในการรับประทานยาให้ง่ายขึ้นและลดปัญหาการดื้อยาเนื่องจากรับประทานเพียงครั้งละ 1 เม็ดวันละ 1 ครั้งเท่านั้นคาดว่าจะมีอัตราการใช้ประมาณ 1.1 ล้านบาทต่อปีจะช่วยรัฐประหยัดเป็นเงิน 121 ล้านบาทต่อปี และยาดารูนาเวียร์ ใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ดื้อยาหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงต่อยาในกลุ่มอื่นได้ คาดว่ามีอัตราการใช้ประมาณ 6,000 บาทต่อปีจะช่วยประหยัดงบประมาณรัฐได้ประมาณ 22 ล้านบาทต่อปี