ปปช.เเถลงปมใช้ ม.44 กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน

ปปช.เเถลงปมใช้ ม.44 กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน

ปปช.เเถลงเหตุใช้ม.44 กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.61 นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกป.ป.ช. แถลงว่าตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประกาศขยายเวลาการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินบางตำแหน่งออกไป โดยให้บังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2562 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2561 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยมีสาระสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ 1. แก้ไขนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ตามมาตรา 4 ในส่วนกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยแก้ไขตัดคำว่า “กรรมการ” และเพิ่มเติมข้อความเป็น “ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่น ของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด” อันมีผลทางกฎหมาย ดังนี้

1.1 กรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่อยู่ในนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนี้ จึงส่งผลให้ตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 เป็นผู้ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป ซึ่งบุคคลดังกล่าวคือบุคคลตามข้อ 4 (7) 7.8 อันได้แก่ 7.8.1กองทุน 7.8.2 ธนาคารแห่งประเทศไทย 7.8.3 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 7.8.4 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 7.8.5 สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 7.8.6 สถาบันพระปกเกล้า 7.8.7 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ 7.8.8 องค์การมหาชน

1.2 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจในการกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้ โดยสามารถพิจารณากำหนดเฉพาะบางตำแหน่งที่มีความสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากบทนิยามเดิมที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่สามารถพิจารณากำหนดบางตำแหน่งได้ จึงต้องประกาศ ทุกตำแหน่ง

2. ยกเลิกข้อ 5 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลให้กรรมการและผู้บริหาร สูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ได้ปรากฎชื่อตำแหน่งในประกาศดังกล่าว ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะประกาศกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมในภายหลัง ขณะนี้สำนักงาน ป.ป.ช. อยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สำหรับตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการขององค์การมหาชน และกรรมการของกองทุนต่างๆ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย เพื่อพิจารณาว่าสมควรกำ หนดให้เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่

ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 หรือมาตรา 103 จะมีผลทางกฎหมายที่แตกต่างกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (1) เฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชี ตามมาตรา 102 (2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (7) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และ (9) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด เป็นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบเป็นการ ทั่วไปตามมาตรา 106 แต่หากเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 106