ครอบครัวไทยอยู่ดีมีสุขสูง ได้ 7.72 คะแนน ใต้ดีสุด กทม.ต่ำสุด

ครอบครัวไทยอยู่ดีมีสุขสูง ได้ 7.72 คะแนน ใต้ดีสุด กทม.ต่ำสุด

เผยครอบครัวไทยอยู่ดีมีสุขสูง ได้ 7.72 คะแนน ใต้ดีสุด กทม.ต่ำสุด สสส.เตรียมขยายครอบครัวอบอุ่นสู่ 7 จังหวัดต้นแบบ ชง 7 ข้อ สร้างครอบครัวสุขภาวะเข้าสมัชชาสุขภาพฯ11 ขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ ดุงชุมชน-รัฐเข้ามามีส่วนร่วมสร้าง

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.61 ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 มีการเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม "ชุมชนและรัฐร่วมสร้างครอบครัวสุขภาวะได้อย่างไร" โดยศ.ดร. รุจา ภู่ไพบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการดำเนินการโครงการศึกษาครอบครัวไทยแบบบูรณาการตามวงจรชีวิตครอบครัวเรื่อง ครอยครัวไทยยุค 4.0 อยู่ดีมีสุขจริงหรือ? โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพ.ย. 2560 - มี.ค. 2561 ด้วยการสำรวจครอบครัวไทยเชิงปริมาณ 6,000 ครอบครัว โดยใช้แบบสอบถามพื้นที่ 4 ภูมิภาค รวมภูมิภาคละ 8 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ หนองคาย อุดรธานี ยโสธร สุรินทร์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ชลบุรี ยะลา สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง และกทม. โดยวัดคะแนนครอบครัวอยู่ดีมีสุขดว้ยองค์ประกอบ 9 ด้าน ประกอบด้วย 1 ด้านความร่วมใจและปลอดภัยในชุมชน 2.ด้านสัมพัภาพ 3.ด้านบทบาทหน้าที่ 4. ด้านเศรษฐกิจ 5. ด้านการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 6.ด้านความมั่นคง และพึ่งพา 7. ด้านการศึกษา 8. ด้านการดูแลสุขภาพ และ 9 ด้านการพัฒนาจิตวิณญาณ มีคะแนนเต็ม 8 คะแนน

ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวอยู่ดีมีสุขโดยรวม 7.72 คะแนน โดยภาคใต้ครอบครัวอยู่ดีมีสุขสูงสุด 7.89 คะแนน รองลงมา เป็นภาคเหนือ และภาคกลาง 7.73 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7.71 คะแนน และต่ำที่สุดกทม. 7.55 คะแนน เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบว่า ครอบครัวอยู่ดีมีสุขในด้านเศรษฐกิจต่ำที่สุด และด้านการดูแลสุขภาพสูงที่สุด นอกจากนี้เมื่อแบ่งรอบครัวเป็น 8 ช่วง/ระยะ เพื่อพิจารณาคะแนนความสุขในแต่ช่วงวัยพบว่า ก่อนแต่งงานไม่มีคู่ 3.6 คะแนน เมื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ ไม่มีบุตร 3.8 คะแนน เลี้ยงดูบุตรเล็ก 3.6 คะแนน เลี้ยงดูบุตรวัยเรียน 3.7 คะแนน เลี้ยงดูบุตรวัยรุ่น 3.7 คะแนน เลี้ยงดูบุตรวัยทำงาน 3.7 คะแนน วัยชรา 3.7 คะแนน และวัยชราเจ็บป่วย 3.6 คะแนน รวมถึงเมื่อพิจารณาจากจำนวนบุตรที่ทำให้มีความสุข พบว่า มีบุตร 1 คน 3.69 คะแนน บุตร 2 คน 3.75 คะแนน บุตร 3 คน 3.79 คะแนน บุตร 4 คน 3.81 คะแนน บุตร 5 คน 3.76 คะแนน บัตร 6 คน 3.60 คะแนน และบุตร 7 คน 3.65 คะแนน ทั้งนี้เนื่องจากครอบครัวที่ทำการสำรวจมีช่วงอายุอยู่จนถึงวัยชรา ซึ่งสิ่งนี้บอกว่า รัฐควรจะต้องทำงานในเรื่องส่งเสริมการมีบุตรให้ชัดเจนขึ้นเพราะเงินไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะทำให้เลี้ยงลูกได้อย่างมีคุณภาพ

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สสส.ดำเนินการเรื่องครอบครัวอบอุ่นที่มีตัวชี้วัด 3 องค์ประกอบ คือ สัมพันธภาพของคนในครอบครัว บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว และการพึ่งตนเอง เช่น เมื่อเกิดวิกฤติครอบครัวอยู่รอดหรือไม่ เมื่อมีปัญหาหันหน้าเข้าหาคนในครอบครัวได้หรือ ซึ่งพบว่าความอบอุ่นของครอบครัวไทยลดลงเรื่อยๆ จึงได้มีการดำเนินกลไกสนับสนุนครอบครัวอบอุ่น ใน 3 โมเดล คือ

โมเดลที่ 1 ชุมชนมีส่วน ดำเนินการนำร่องใน 10 จังหวัด กลไกการทำงานมี 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบทางการผ่านศูนย์พัฒนาครอบครัสในชุมชนที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล มีคณะทำงานพัฒนาครอบครัวอบอุ่นในชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)ดูแลหลัก แบบไม่เป็นทางการผ่านจิตอาสาที่เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนขึ้นเองจากการเห็นปัญญาในพื้นที่ และแบบผสมผสานทั้งผ่านศูนย์ฯและจิตอาสา โดยเน้นสอดคล้องความต้องการครอบครัวต่างๆในชุมชน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้ครอบครัวมีความสุขขึ้น สัมพันธภาพดีขึ้น พึ่งพาตนเอง และบทบาทของสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น โดยในปี 2562 จะมีการขยายเป็นจังหวัดครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ 7 จังหวัด ประกอบด้วย ลำปาง พะเยา เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และตรัง

โมเดลที่ 2 สถานประกอบการมีส่วนร่วมต้องเข้าไปดำเนินการให้เจ้าของกิจการเห็นความสุขขอวคนทำงานในมิติครอบครัว ขณะนี้มีสถานประกอบการเข้าร่วมแล้วหลาย10 แห่งจะพัฒนาเป็นสถานประกอบการนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่างภาคธุรกิจ และโมเดลที่3 การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ เพื่อขยายผลพื้นที่ต้นแบบให้กว้างขึ้น โดยปัจจุบันมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)ที่เป็นการทำงานเชิงบูรณาการ ดังนั้น หากชุมชนพื้นที่ใดมีต้นแบบเรื่องใดสามารถนำเข้าพชอ.เพื่อขยายผลไปดำเนินการในตำบลอื่นในอำเภอนั้นต่อไปได้

อนึ่ง ในเวทีเสวนามี ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมเรื่อง “ชุมชนและรัฐร่วมสร้างครอบครัวสุขภาวะได้อย่างไร” 7 ข้อประกอบด้วย 1.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาระบบเครือข่ายขอบมูล Big Data ทีเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับอินเทอร์เน็ตทางด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจครอบครัวเพื่อนำสู่ระบบบริการสุขภาพและระบบบริการทางสังคม ตอบสนองกลับให้ครอบครัวใช้เป็นแหล่งในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการดูแลสุขภาวะครอบครัวได้ด้วยตนเองรวมถึงพัฒนาอุปกรณืพกพา อุปรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อใหครอบครัวเข้าถึงได้ง่ายลสนับสนุนท้องถิ่นในการทำหน้าที่ประสานการให้บริการติดตามประเมินผลการบริการด้านสุขภาพและสังคมของครอบครัว 2. สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรม และการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกครอครัวในการสร้างสุขภาวะที่บ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย ชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงานสร้างสุขภาวะรอบครัวมราคลอบคุลมมิติสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ

3.ขอให้หน่อวยงานที่มีการจัดการศึกษามีนโยบายและสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกระบบจัดให้มีเนื้อหาในหลักสูตรและมีกิจกรรมที่ครอบคลุมการสร้างศักยภาพครอบครัวในการจัดการสุขภาวะที่บ้าน 4.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วยกระบวนมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในการขยายขอบเขตการดำเนินงานการดูแลสุขภาวะชุมชนไปให้ถึงสุขาวะที่บ้านหรือครอบครัวและจัดการข่ายงานทางสังคมอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการสร้างสุขภาวะที่บ้านที่ตอบสนองความต้องการของครอบครัวครอบคลุมสมาชิกที่มีหลายช่วงวัยหลายสถานะสุขภาพ 5.ขอให้สสส.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ สนับสนุนการดำเนินการพัฒนาและขับเคลื่อนต้นแบบด้านสุขภาวะที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับพื้นที่ 6.ขอให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างสุขภาวะในมิตสุขภาพส่งคมและเศรษฐกิจ และ7.ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงินและการคลังรวมถึงองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุขภาวะครอบครัวเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด