กขป.5เร่งสำรวจเรือประมงออกนอกระบบ

กขป.5เร่งสำรวจเรือประมงออกนอกระบบ

โฆษกกระทรวงกลาโหม เผย "กขป.5" เร่งสำรวจเรือประมงออกนอกระบบ พร้อมเยียวยา ประสานขายเรือ ตปท.

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2561 เวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ร่วมแถลงข่าว ภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5(กขป.5)

โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม เป็นประธานว่า การจัดระเบียบการทำประมงเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืนของรัฐบาลและรัฐบาลยังคงความสำคัญในการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเลของประชาชนที่เป็นเจ้าของ สู่ความยั่งยืนและใช้ร่วมกันอย่างยั่งยืนออกจากการรักษาผลประโยชน์อุตสาหกรรม การดำเนินการมีความเชื่อมโยงกันหลายแสนล้านต่อปีและเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการทำประมงระหว่างประเทศ

พล.ท.คงชีพ กล่าวว่า ในวันนี้มีความคืบหน้าจากตัวเลขสถิติทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งมีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง การหาปลาของชาวประมงต่อชั่วโมงต่อวันได้ปริมาณที่มากขึ้น ทั้งนี้กรมทรัพยากรชายฝั่งพบ วาฬบรูด้า ฉลามหัวค้อน ปลาโลมา บริเวณชายฝั่งมากขึ้นแสดงถึงความสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งกลับคืนมาอย่างไรก็ตามการจัดระเบียบการทำประมงรัฐบาลยังคงรับฟังปัญหาของชาวประมง โดยเฉพาะจากสมาคมประมงทั้งประเทศในเรื่องของการนำเรือออกนอกระบบต้องทำด้วยความรอบคอบและเป็นไปด้วยความสมัครใจ เพื่อให้มีเรือที่เหมาะสมสำหรับทรัพยากรทางทะเลที่มีอยู่

ส่วนการดำเนินการกลุ่มเรือที่รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐและเรือประมงที่มีใบอนุญาตและประสงค์จะออกจากระบบ ได้กำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ในการชดเชย ให้กับเรือทั้ง 2 กลุ่ม จ่ายค่ารื้อเรือ หรือส่งเสริมมาตรการทางภาษีการขายเรือให้กับต่างประเทศรวมถึงมาตรการอื่นๆเพื่อลดภาระงบประมาณ

พล.ท.คงชีพ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตรได้เน้นย้ำให้อนุกรรมการรวบรวมจำนวนเรือที่ต้องการออกนอกระบบที่ผ่านคุณสมบัติของเกณฑ์ที่กำหนดมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดในช่วยเหลือชาวประมงรายย่อยเป็นอันดับแรกภายใต้เงื่อนไขความเท่าเทียมกัน โดยจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะเพื่ออำนวยความสะดวกฝากดันการขายเรือให้กับต่างประเทศซึ่งขณะนี้มีประเทศที่สนใจ เช่น กัมพูชา พม่า บังกลาเทศและมาเลเซีย โดยมีผู้ประสงค์จะขายเรือประมงไม่น้อยกว่า 80 ลำ จะเป็นการลดงบประมาณของภาครัฐ คาดว่าจะนำเรือออกนอกระบบอย่างเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและจะเกิดการบูรณาการการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆที่เป็นจิตอาสาร่วมกันของการทำงานกับชาวประมงและภาครัฐและภาพรวมการดูแลการการประมูลจะมีความยั่งยืนมากขึ้น จนสามารถบรรลุแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู)