ปชช.ส่วนใหญ่51% ขอให้ชัดเจน 'เลื่อนเลือกตั้ง' หรือไม่

ปชช.ส่วนใหญ่51% ขอให้ชัดเจน 'เลื่อนเลือกตั้ง' หรือไม่

เปิดผลสำรวจ "ปชช." ส่วนใหญ่ 51% ขอให้ชัดเจน "เลื่อนเลือกตั้ง" หรือไม่ และอีก 35% มองหากเลื่อนเลือกตั้ง น่าจะส่งผลด้านลบต่อรัฐบาลและเศรษฐกิจแน่นอน

การเมืองไทย ณ วันนี้ ยังคงร้อนแรงและมีกระแสข่าวเกิดขึ้นมากมายไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะกระแสข่าวการเลื่อนเลือกตั้งที่เป็นข่าวใหญ่ ทำให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์และอยู่ในความสนใจของประชาชนเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,117 คน ระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2561 สรุปได้ ดังนี้

ปชช.ส่วนใหญ่51% ขอให้ชัดเจน 'เลื่อนเลือกตั้ง' หรือไม่

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับกระแสข่าวจะมี “การเลื่อนเลือกตั้ง”
อันดับ 1 รัฐบาล/กกต.ควรออกมาประกาศย้ำให้ชัดเจนอีกครั้ง 51.28%
อันดับ 2 หากเลื่อนเลือกตั้ง น่าจะส่งผลด้านลบต่อรัฐบาลและเศรษฐกิจแน่นอน 35.90%
อันดับ 3 ควรให้เป็นหน้าที่ของ กกต.พิจารณา 24.36%

2. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ กระแสข่าว “คนรุ่นใหม่กับการเลือกตั้ง” ที่จะมีขึ้น
อันดับ 1 มีคนรุ่นใหม่ลงเล่นการเมืองมากขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ มีผู้สมัครหลากหลายมากขึ้น 56.32%
อันดับ 2 เป็นสิ่งที่ดี ท าให้มีการแข่งขัน อาจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น 29.24%
อันดับ 3 ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ประวัติ คุณสมบัติ วิสัยทัศน์ นโยบาย 21.72%

3. ประชาชนคิดว่า ณ วันนี้ “เกมการเมือง” เกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคต่างๆ เป็นอย่างไร?
อันดับ 1 แข่งขันกันลงพื้นที่หาเสียง มีผู้นำพรรค/แกนนำพรรคเป็นผู้นำทีม 50.32%
อันดับ 2 โจมตีกันไปมา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ต้องการเอาชนะ 34.46%
อันดับ 3 แต่ละพรรคมีการปรับกลยุทธ์ เตรียมพร้อมเพื่อความได้เปรียบ 27.24%

4. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การย้ายพรรค” ของอดีต ส.ส.
อันดับ 1 เป็นสิทธิของผู้สมัคร มีสิทธิ์เลือก เป็นการตัดสินใจเอง 48.17%
อันดับ 2 ย้ายพรรคเพื่อประโยชน์ เพื่อตำแหน่งทางการเมือง 38.20%
อันดับ 3 ต้องการอยู่กับพรรคที่มีอนาคต ก้าวหน้า มั่นคง อุดมการณ์เดียวกัน 25.56%

5. สิ่งที่มีผลต่อการ “ตัดสินใจเลือก ส.ส.” ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 นโยบาย วิสัยทัศน์ แนวทางการทำงานของทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สังกัด 47.40%
อันดับ 2 ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน ผลงานของผู้สมัคร 35.51%
อันดับ 3 พฤติกรรม นิสัยใจคอ ความซื่อสัตย์ สุจริตของผู้สมัคร 29.50%
อันดับ 4 พรรคที่สังกัดและหัวหน้าพรรค 20.43%
อันดับ 5 วิธีการหาเสียง การสื่อสาร พูดคุยกับประชาชน 12.95%