KTC - ซื้อ

KTC - ซื้อ

คาดกาไรไตรมาส 3/61 เติบโตแข็งแกร่ง

เราปรับเพิ่มคำแนะนำของ KTC จากเดิม “ถือ”มาเป็น “ซื้อ” เนื่องจากบริษัทประกาศกำไรในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 เติบโตสูงถึง 66% YoY มาอยู่ที่ 2.5 พันล้านบาท และเราคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในครึ่งปีหลังของ 2561 และปี 2562 อันเป็นผลมาจากการตั้งสำรองหนี้สูญฯ ลดลง เราปรับเป้าหมายการลงทุน ณ สิ้นปี 2562 ขึ้นเป็น 43 บาท อ้างอิงจาก PERที่ 5.3 เท่า (ROE 26.1%, อุตสาหกรรมเติบโต 5% และ Ke ที่ 9.0%)

คาดกำไรเติบโตแข็งแกร่ง 36% ในไตรมาส 3/61

KTC จะประกาศกำไรไตรมาส 3/61 ที่ 1.15 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% YoY เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อและตั้งสำรองหนี้สูญฯที่ลดลง เราคาดว่าบริษัทจะประกาศการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อ 7% YoY และ 2% QoQ มาอยู่ที่ 73.5 พันล้านบาท ในไตรมาส 3/61 เนื่องจากการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อรายบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต ประมาณการสำรองหนี้สูญฯสุทธิสำหรับไตรมาสนี้อยู่ที่ 690 ล้านบาท ลดลง 25% YoY เนื่องจากกิจการมีสัดส่วนการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญฯ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. อยู่สูงถึง 605%

ผู้บริหารคาดการณ์ว่าการปล่อยสินเชื่อจะเติบโตขึ้น 10% ในปี 2561 จากเดิม 7% ในปี 2560 โดย KTC มีเป้าหมายที่จะขยายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 15% โดยการออกแคมเปญโปรโมชั่น และเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ เราคาดว่า การปล่อยสินเชื่อปี 2561 จะเติบโตที่ 10% สอดคล้องกับเป้าหมายของ KTC หากเรายังคงมุมมองเชิงอนุรักษ์ต่อการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตว่าจะเติบโต 7% ในปี 2561 โดยหาก KTC สามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้จะกลายเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการของเรา

การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯมีแนวโน้มลดลง... ปี2561 และ 2562

ณ สิ้นเดือนมิ.ย. 2561 KTC มี อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงที่สุดในกลุ่มที่ 605% ผู้บริหารเชื่อว่าอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบริษัทสูงเกินพอสำหรับมาตรฐานบัญชีใหม่ IRRS9 (ที่เพิ่งประกาศเลื่อนใช้เป็นปี 2563) KTC กล่าวว่า บริษัทมีแนวโน้มลดอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญฯตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2561 เป็นต้นไป (แม้ว่าผู้บริหารจะไม่ให้คำแนะนำถึงค่าเครดิตคอสว่าจะเป็นเท่าใด) ทั้งนี้เราคาดการณ์อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญฯที่ 2.4 พันล้านบาทในปี 2561 ลดลง 36% YoY และ อยู่ที่ 2.4 พันล้านบาท ในปี 2562

ในเทคโนโลยีใหม่ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือส่งผลให้ค่าใช้จ่ายการตลาดลดลง

KTC แจ้งว่าการพัฒนาระบบอินเตอร์เนต/แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่มาก (ต้นทุนการหาลูกค้า) และช่วยประหยัดค่าการตลาด (การจัดอีเว้น) โดยกิจการเริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/60  ทั้งนี้ ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงจาก 50.4% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 47.5% ในปี 2560 และ 46.8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ทั้งนี้ เรายังคงมองมุมมองเชิงอนุรักษ์นิยม โดยเรายังไม่ได้นำการปรับลดต้นทุนมาประเมิน เราคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 47.1% ในปี 2561 และ 49.3% ในปี 2562 หากค่าใช้จ่ายการตลาดลดลงอย่างมากเนื่องจากตัวแอพลิเคชั่นบนมือถือ/อินเตอร์เน็ต จะส่งผลให้ประมาณการของเรา
เพิ่มขึ้นปี 2561 และ 2562