'คำนูณ' เผยร่างกฎหมายตร.เสร็จเเล้ว ป้องกันเเละขจัดสองซื้อ

'คำนูณ' เผยร่างกฎหมายตร.เสร็จเเล้ว ป้องกันเเละขจัดสองซื้อ

"คำนูณ" เผยร่างกฎหมายตร.เสร็จเเล้ว หัวใจคือป้องกันและขจัดสภาวะ 2 ซื้อ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn ว่า "ร่างกฎหมายตำรวจใหม่เสร็จแล้ว หัวใจคือป้องกันและขจัดสภาวะ 2 ซื้อ !

คณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติตรวจร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่ได้ยกร่างขึ้นใหม่ทั้งฉบับเสร็จสิ้นวาระที่ 2 แล้วในการประชุมสัปดาห์นี้ เหลือเพียงบัญชีเงินเดือนท้่ายร่่าง โดยในการพิจารณาวาระที่ 2 นี้ได้นำความคิดเห็นจากบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาในทุกทางหลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเผยแพร่ร่างฯที่ผ่านการพิจารณาในวาระแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 มาประกอบการพิจารณาด้วยในทุกมาตรา

จากนี้ไปจะเป็นการตรวจร่่างพ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... ในวาระที่ 2 คาดว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2561 นี้ ขั้นตอนต่อไปคือการนำส่งคณะรัฐมนตรีพร้อมกันทั้ง 2 ร่างฯ หัวใจของร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่คืออะไร ?

ย้อนทบทวนดูประเด็นที่พูดคุยกันในคณะกรรมการตลอดระยะเวลา 5 เดือนเต็ม และอ่านบทบัญญัติใหม่ทั้งหมดอีกครั้งแล้ว หากพูดจาประสาชาวบ้่านแบบตรงไปตรงมาก็คือการสร้างกลไกและมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันในการป้องกันและขจัดสภาวะ ‘2 ซื้อ’ ในองค์กรตำรวจ คือ ซื้อตำแหน่ง และซื้ออุปกรณ์รวมทั้งควักกระเป๋าออกค่าใช้จ่ายในการทำงานเอง

- ต้องมีมาตรการที่ทำให้มั่นใจว่าสามารถป้องกันการซื้อตำแหน่ง สร้่างความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้่ายให้มากที่สุด
- เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว โดยเฉพาะตำแหน่งในโรงพัก ก็ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์รวมทั้งออกค่าใช้จ่ายในการทำงานต่าง ๆ ที่จำเป็นเอง

จะป้องกันการซื้อตำแหน่ง รวมทั้งการวิ่งเต้น เล่นพรรคเล่นพวก ที่ตกเป็นข้อครหามาอย่างต่อเนื่องได้ ก็แต่โดยการกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายไว้ในกฎหมายหลักให้แน่นอนชัดเจน ไม่ใช่เปิดกว้างไว้ให้ไปอยู่ในกฎลำดับรองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้เกิดข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดเป็นการเฉพาะหรือไม่

- เกณฑ์ระยะเวลาการอยู่ในแต่ละตำแหน่ง กำหนดไว้ชัดเจน
- นับเวลาปฏิบัติราชการจริง / ไม่นับเวลาทวีคูณ
- คะแนนประจำตัวนายตำรวจทุกคนตาม ‘ระบบผสม’ สัดส่วน 50-20-30 ที่ประกาศให้ทราบทั่วกัน
- เงื่อนไขการย้ายข้ามสายงาน ถ้าย้ายต้องไปดำรงตำแหน่งในระนาบเดียวกัน และไปต่อท้่ายแถวอาวุโสของสายงานที่ย้ายไป
- เงื่อนไขให้ย้ายภายในจังหวัด/ภาค
- บทลงโทษผู้บังคับบัญชาและบุคคลภายนอกผู้แทรกแซง
- ระบบคุณธรรม การร้องเรียน และองค์กรพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่มีบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม
- ฯลฯ

สรุปสารัตถะสำคัญที่เป็นนวัตกรรมใหม่คือการให้การแต่งตั้งโยกย้ายเป็น ‘ระบบผสม’ กล่าวคือนายตำรวจแต่ละคนจะได้รับการประเมินเพื่อการเติบโตในตำแหน่งหน้าที่โดยผสมผสานระหว่างหลักอาวุโส (50 %) กับหลักความรู้ความสามารถ (20 %) และหลักความพึงพอใจของประชาชน (30 %) ในการแต่งตั้งโยกย้ายทุกตำแหน่งที่ว่างลงจะพิจารณาโดย ‘ระบบผสม’ ที่ประกอบด้วย 3 หลักนี้ทั้งหมด

ไม่ใช่ ‘ระบบแบ่งกอง’ ที่ใช้กันมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน คือในจำนวนตำแหน่งที่ว่างทั้งหมด ให้โยกย้ายแต่งตั้งตามหลักอาวุโสเพียง 33 % ของตำแหน่งที่ว่างลงนั้น ส่วนที่เหลืออีก 67 % ไม่จำเป็นต้องใช้หลักอาวุโส

ส่วนที่ไม่ใช้หลักอาวุโสนี่แหละที่ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทุกปีจะให้มีคนทำงานเพียงพอ และคนทำงานนั้นไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์การทำงานเองก็โดยการกำหนดให้เป็นหลักเกณฑ์ไว้ให้ชัดเจน

- โรงพักและกองบังคับการจังหวัดถือเป็น first priority ทั้งด้านกำลังพลและงบประมาณ เป็นหน้าที่และอำนาจของทั้งก.ตร. ผบ.ตร. และผู้บัญชาการภาค จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนี้
- ถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่งานตำรวจแท้ออกไปให้หน่วยงานอื่น เพื่อนำกำลังเหล่านั้นจัดสรรให้โรงพักและกองบังคับการจังหวัด
- ห้ามโยกย้ายตำรวจในโรงพักและกองบังคับการจังหวัดไปหน่วยอื่น ยกเว้นจะมีอัตรามาทดแทน
- บรรจุกำลังพลให้เต็มกรอบอัตรากำลังภายใน 2 ปี
- ห้ามตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ภายใน 10 ปี
- กำหนดเกณฑ์การอารักขาบุคคลสำคัญให้ชัดเจนและประกาศให้รับรู้ทั่วไป
- เรียกคืนอัตรากำลังที่ไปช่วยราชการหรือปฏิบัติภารกิจอื่นภายนอก ทั้งที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะที่ไม่ถูกต้อง
- ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณตรงไปยังโรงพักในพื้นที่ได้
- เงินเพิ่มพิเศษสำหรับนายตำรวจที่ปฏิบัติราชการจริงในโรงพัก
- ฯลฯ

เมื่อได้ตำรวจที่มีหลักประกันว่าไม่ต้องลงทุนด้วยทรัพย์สินอื่นนอกจากฝีมือและผลงานมาทำงาน ไม่ต้องวิ่งเต้น โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็นครบโดยไม่ต้องลงทุนซื้อเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้ปรารถนาดีโดยไม่หวังผลตอบแทนคนใดมาออกเงินซื้อให้ มีกำลังพลปฏิบัติราชการในโรงพักอย่างเพียงพอให้มีการหมุนเวียนกันได้ โดยเฉพาะในสายงานสอบสวน ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญเบื้องต้นให้ตำรวจตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ นี่คือการแก้ปัญหาพื้นฐานที่จำเป็นที่สุด ที่จะเป็นการแก้ทุกข์ทั้ง 2 ด้่าน คือ ทุกข์ของตำรวจ และทุกข์ของประชาชน

นอกจากนั้นร่างกฎหมายตำรวจฉบับใหม่ยังได้วางหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับตำรวจในสายงานสอบสวนขึ้นมาเป็นครั้งแรกรวมทั้งการให้อัยการสามารถเข้ามาร่วมสอบสวนได้ตั้งแต่ต้นในคดีสำคัญและกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ขององค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ให้บุคคลภายนอกองค์กรตำรวจเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งกำหนดกลไกใหม่ให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจะได้ทยอยเล่าสู่กันฟังเป็นประเด็น ๆ ด้วยภาษาชาวบ้่านตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป"