DTAC - ซื้อ

DTAC - ซื้อ

มองข้ามขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/61 ไปที่กาไรไตรมาส 4/61 ที่มีแนวโน้มเติบโตแรง

เราคาดผลขาดทุนสุทธิจำนวนมากในไตรมาส 3/61 เนื่องจากการตัดจาหน่ายสินทรัพย์สัมปทานที่เหลือหลังจากสิ้นสุดอายุสัมปทานและการระงับข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมทั้งหมดกับกสท. แต่เราเชื่อว่ารายการค่าใช้จ่ายพิเศษทางบัญชีข้างต้นเป็นปัจจัยลบซึ่งเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เราคาดว่าไตรมาส 4/61 มีแนวโน้มพลิกกลับมาเป็นกำไรที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการไม่ต้องบันทึกค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานทั้งไตรมาส ซึ่งมีแนวโน้มกลบค่าใช้จ่ายของการเข้าใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซ และค่าเช่าสินทรัพย์สัมปทานซึ่งจ่ายให้กับกสท. เรายังคงเลือกหุ้น DTAC เป็นหุ้นอันดับแรกในกลุ่มไอซีที

ส่องกล้องไตรมาส 3/61—ขาดทุนสุทธิจากค่าใช้จ่ายตัดจาหน่าย สินทรัพย์สัมปทาน

เราประมาณการขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/61 ที่ 1.38 พันล้านบาท พลิกกลับจากกำไรสุทธิ 601 ล้านบาทในไตรมาส 3/60 และกำไรสุทธิ 179 ล้านบาท ในไตรมาส 2/61 หากไม่รวมรายการพิเศษ ซึ่งได้แก่ ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานซึ่งบันทึกเพียงครั้งเดียวจำนวน 1.43 พันล้านบาทและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรหลักในไตรมาสนี้อยู่ที่ 20 ล้านบาท ลดลง 96% YoY และ 84% QoQ ทั้งนี้มูลค่าทางบัญชีสุทธิของเสาโทรคมนาคมของบริษัทซึ่งบันทึกภายใต้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์อยู่ที่ 1.425 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 2/61 และเนื่องจากบริษัทได้ทำการระงับข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมทั้งหมดกับกสท.เมื่อวันที่ 14 ก.ย. รวมถึงระยะเวลาสัมปทานได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ DTAC ไม่ได้มีความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ดังกล่าวอีกต่อไป เหลือเพียงแค่สิทธิ์ในการเข้าใช้เสาโทรคมนาคมหลังจากตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. เป็นต้นไป โดยมูลค่าของเสาโทรคมนาคมที่เหลือดังกล่าวจะถูกตัดจำหน่ายจากงบดุลเป็นค่าใช้จ่ายผ่านงบกาไรขาดทุนทั้งงบเดี่ยวและงบรวม เราประเมินว่ารายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการพิเศษที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานหลักและไม่ใช่รายการเงินสด

กำไรหลักไตรมาส 3/61 ลดลงอย่างมากเนื่องจากรายได้ที่ลดลงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น …

กำไรหลักไตรมาส 3/61 ที่คาดว่าจะลดลงอย่างมาก YoY เนื่องจากรายได้บริการที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าวได้รวมค่าเช่าสินทรัพย์ที่จ่ายให้กับกสท. ที่บันทึกภายใต้รายการต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงข่าย ซึ่งคิดเป็นจำนวน 15 วันในไตรมาส 3/61 และค่าใช้จ่ายจากการเข้าใช้คลื่นความถี่
2.3 กิกะเฮิร์ซที่บันทึกภายใต้รายการต้นทุนบริการอื่นๆ ซึ่งบันทึกเข้ามาเต็มไตรมาส ค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการข้างต้นมีแนวโน้มกลบต้นทุนด้านกฎระเบียบและต้นทุนค่าตัดจำหน่ายและค่าเสื่อมราคาที่ลดลง (เนื่องจากการไม่มีค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2561) สำหรับต้นทุนค่าตัดจำหน่ายและค่าเสื่อมราคามีแนวโน้มลดลงทั้ง
YoY และ QoQ

ในส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการทำตลาด เราคาดว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากการใช้สื่อในวงกว้างสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องกับภาคประชาชนในกรณีของซิมไม่ดับหลังจากสิ้นสุดอายุสัมปทาน เราคาดว่ารายได้บริการ (ที่ไม่รวมไอซี) ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มลดลง 1.6% YoY และ 2% QoQ เนื่องจากจำนวนลูกค้าที่ไหลออกจากระบบมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการลดลงของจำนวนลูกค้ารายใหม่สุทธิในช่วงหนึ่งเดือนก่อนสิ้นสุดอายุสัมปทาน

... แต่กำไรไตรมาส 4/61 มีแนวโน้มพลิกกลับมาเติบโตแข็งแกร่ง

เราเชื่อว่าผลประกอบการไตรมาส 3/61 ที่มีแนวโน้มออกมาแย่เป็นเพียงแค่ปัจจัยลบระยะสั้นก่อนที่จะพลิกกลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งในไตรมาส 4/61 เนื่องจากค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานที่หายไป 3.7 พันล้านบาทในไตรมาส 4/61 ซึ่งมีแนวโน้มกลบค่าใช้จ่ายของการเข้าใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิร์ซที่จ่ายให้กับที โอที และค่าเช่าสินทรัพย์ที่จ่ายให้กับกสท. เราคาดกำไรหลักไตรมาส 4/61 ที่ 1.08 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 111% YoY และ 5,409% QoQ เราทำการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลงอีก 56% (เหลือ 1.12 พันล้านบาท) เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายพิเศษค่าตัดจำหน่ายเสาโทรคมนาคมที่เหลืออีก 1.425 พันล้านบาทในไตรมาส 3/61 แต่เรายังคงประมาณการกำไรหลักปี 2561 ไว้เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง