T Mark ตอกย้ำความสำเร็จ 3 ธุรกิจไทย

T Mark ตอกย้ำความสำเร็จ 3 ธุรกิจไทย

สานต่อเจตนารมณ์สร้างความเชื่อมั่นสู่ผู้บริโภค

การแข่งขันของคลื่นธุรกิจทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่ขับเคลื่อนกันด้วยกลยุทธ์หลากหลาย รูปแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ประกอบการบางรายต่อยอดธุรกิจในครอบครัว ในขณะที่บางรายสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ ในมุมของภาครัฐอย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่มีภารกิจหลัก คือการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยทั้งรายเก่าและรายใหม่ให้สามารถพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมภาพลักษณ์ ด้านการค้าของแบรนด์สินค้าและบริการไทย เพื่อยกระดับผู้ประกอบการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการไทยสู่ตลาดโลก

หนึ่งในเคล็ดลับการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการในยุคนี้คือการศึกษาโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง นับเป็นโอกาสดี ที่ผู้บริหารแบรนด์ไทยชั้นนำอย่าง บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด ,บริษัท เอราวัณฟูด จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชาเขียว จำกัด ได้เปิดอาณาจักรธุรกิจพร้อมกับจับเข่าคุยเปิดใจถึงเบื้องหลังการดำเนินงานที่สร้างความสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์ที่ชาวไทยรู้จักและชาวต่างชาติจดจำ

นายณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด ผู้ประกอบการผลไม้อบแห้ง ภายใต้แบรนด์เวล-บี เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจนี้โดยเล็งเห็นว่า ประเทศไทยมีภูมิประเทศที่ดี มีศักยภาพ ในการเพาะปลูกผลไม้ตลอดทั้งปี แต่ในบางฤดูกาลที่มีผลผลิตล้นตลาดจนทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบ การแปรรูปผลผลิตที่ล้นตลาดสู่ผลิตภัณฑ์ ผลไม้อบแห้งจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยเกษตรกรและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลไม้ไทย ทั้งยังง่ายต่อการส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ โดยปัจจุบันได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ ไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง แต่ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยี "Freeze-dried" ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเวล-บี มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับผลไม้สดมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตในแบบอื่น ในปีนี้ เวล-บี ก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเจาะตลาดเด็กโดยเฉพาะคือ Freeze-dried Yogurt Melts Mixed Berry รวมถึงขยายไลน์การผลิต Freeze-dried สู่ผลไม้ชนิดใหม่ๆเช่นมะพร้าว ขนุน ลองกอง เป็นต้น กว่า 8 ปี ของการก่อตั้งบริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ สิ่งที่ยึดมั่นมาโดยตลอดคือการรักษามาตรฐานการผลิตให้ดีอยู่เสมอ และไม่หยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น

"เมื่อเรานำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศ สิ่งที่เราเรียนรู้คือลูกค้าจะมองหาตรารับรองบนบรรจุภัณฑ์ ว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้คุณภาพหรือไม่ เพราะในช่วงแรกแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดสากล หน้าที่ของเราคือการสร้างความมั่น่ใจกับลูกค้าว่าแบรนด์เวล-บี มีกระบวนการผลิตที่รักษาความสะอาดทุกขั้นตอน บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อย สู่ธรรมชาติ รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะยึดหลัก Zerowaste ความได้เปรียบของเราคือการได้รับ ตราสัญลักษณ์ T Mark จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำหน้าที่การันตีว่าผลิตภัณฑ์ของเราได้รับรองมาตรฐานระดับสูงจากปรเทศไทย" นายณัฐวุฒิกล่าว

ด้านทายาทเจเนเรชั่นที่ 4 ของอาณาจักรเอราวัณฟูด นายคณานันต์ ตั้งสัมพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ เล่าว่า นโยบายการบริหารงานคือยึดหลักการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดผ่านนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาธุรกิจ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน "จากภายในสู่ภายนอก" เริ่มจากการที่ผู้บริหารต้องมีหลักธรรมภิบาลคือให้ความสำคัญกับพนักงานภายในบริษัททุกภาคส่วนให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะที่เหมาะสมกับงานรวมถึง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านสวัสดิภาพในการทำงานและชีวิตครอบครัว เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการพัฒนาที่ยั่งยืนและสามารถสร้างคุณค่าคืนสู่สังคมได้มากที่สุด

ในด้านการผลิตปัจจุบันแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 แบบคือ ผักผลไม้กระป๋องและกะทิสำเร็จูป โดยคัดเลือกวัตถุดิบจากในท้องถิ่นมาผ่านกระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพทั้งระบบการช่างน้ำหนัก คัดเเยก ทำความสะอาด ก่อนนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความเย็น สำหรับผักและผลไม้ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสดและเก็บได้ถึง 2 ปีโดยไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียที่ไม่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ในส่วนกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ผักผลไม้กระป๋อง จะอยู่ที่ 1,500 ลังต่อวัน ส่วนกะทิสำเร็จรูปคือ 3,000 ลังต่อวัน

ความเติบโตด้านยอดขายของบริษัท 2 ปีที่ผ่านมาโตขึ้นกว่า 30% ในจุดนี้คุณคณานันต์เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากการ ที่บริษัทได้รับการรับรองตรา T Mark เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและตอกย้ำว่าผลิตภัณฑ์ ของเอราวัณฟูดผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานจากกระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทย อีกทั้งตรา T Mark ยังเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการในการมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาสำเร็จรูปของไทยหนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ "เรนองที" อย่างแน่นอน นายศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาเขียว จำกัด ทายาทเจเนเรชั่นที่ 2 เล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจครอบครัวในยุคของคุณพ่อคุณแม่ที่ผลิต "ชาเทวี" ซึ่งใช้มะขามแขกเป็นวัตถุดิบหลัก เมื่อได้เข้ามาสานต่อกิจการจึงเล็งเห็นว่าในยุคนั้นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูปยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ประกอบกับมีผลการวิจัยออกมาว่าใบหม่อนมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพจึงนำมาพัฒนาต่อจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนเจ้าแรกของไทย ภายใต้ชื่อ "เรนองที"

โจทย์ที่ท้าทายในยุคนี้คือการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ทั้งเรื่องของการลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ และการไม่ใช้ส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในส่วนของการผลิตได้นำวัตถุดิบที่คัดสรรจากแหล่งเพาะปลูกที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงมาเป็นส่วนประกอบหลัก โดยภายใน 5 ปี นับจากนี้ตั้งเป้าว่าจะขึ้นเป็นผู้นำด้านเครื่องดื่มสมุนไพรชงในอาเซียนก่อนที่จะเจาะตลาดยุโรปในเฟสถัดไป ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เรนองที มีจำหน่ายในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก คุณศุภชัย เล่าว่าตลาดที่ยากที่สุดในการนำผลิตภัณฑ์เข้าไปเปิดตลาด คือประเทศอินเดีย เนื่องจากมีผู้ค้าเยอะและวัดกันที่ราคาเป็นปัจจัยหลัก

ตลาดเครื่องดื่มสำเร็จรูปเป็นตลาดที่เนื้อหอมเพราะมีผู้ประกอบการหลายเจ้าผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นผู้เล่า บ้างก็ประสบความสำเร็จก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บ้างก็ล้มหายตายจากกันไป ในระยะเวลากว่าทศวรรษที่ เรนองที เป็นแบรนด์ที่คนไทยจดจำย่อมแสดงให้เห็นว่า เรนองทีคือตัวจริงในตลาดนี้ คุณศุภชัย กล่าวถึงเคล็ดลับการบริหารงานว่า "ตลอดการทำงานเราเองก็ผจญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจในหลายครั้ง เพราะคู่แข่งในไลน์ธุรกิจนี้มีหลายเจ้า และต่างงัดกลยุทธ์ทางการตลาดออกมาฟาดฟันอย่างดุเดือด แต่สิ่งหนึ่งที่เรายึดมั่นมาตลอดการดำเนินงานคือการทำงานที่ตั้งอยู่บนศีลธรรม ผมเชื่อมั่นว่าหากผู้ประกอบการคำนึงถึงหลักมนุษยชนและเห็นคุณค่าของทรัพยากรบุคคลในองค์กร ผลที่ตามมาคือระบบการทำงานภายในที่เข้มแข็ง เพราะพนักงานถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยแนวคิดการทำงานยุคใหม่ที่มองว่าชีวิตคนมีหลายด้าน การยืดหยุ่นเรื่องของเวลาทำงานให้กับพนักงานก็เป็นอีกแนวทางในการสร้างความสบายใจให้แก่พนักงาน การดูแลพนักงานเสมือนคนในครอบครัวสำคัญไม่แพ้กระบวนการผลิตที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สูงสุด ในมุมของการได้รับตรา T Mark คือการเปิดประตูบานใหม่สู่โอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น เพราะโครงการ T Mark มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้ค้าอย่างเราจึงรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับตรา T Mark และตั้งใจว่าจะนำตรานี้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

ตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (T Mark) เป็นตรารับรองสินค้าและบริการไทย ที่มอบให้กับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยใช้แรงงานอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานแรงงานไทยของกระทรวงแรงงาน และมีการบริหารจัดการสถานประกอบการตามหลักอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม อีกทั้งมีการผลิตตามมาตรฐานสากล โดย Thailand Trust Mark เป็นโครงการภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เปิดรับสมัครผู้ประกอบการหน้าใหม่และผู้ประกอบการรายเดิมที่ต้องการต่ออายุตราสัญลักษณ์ในทุกๆ 3 ปี ผู้ประกอบการท่านใดสนใจสมัครขอรับตรา T Mark สามารถสมัครออนไลน์และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandtrustmark.com