YES! Delft กับโมเดลพี่เลี้ยงธุรกิจ

YES! Delft   กับโมเดลพี่เลี้ยงธุรกิจ

YES!Delft คือเป็นองค์กรที่จากการจัดอันดับสถาบันเสริมสร้างผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี โดย UBI Index of 2014 ในอันดับสูงสุดของกลุ่มประเทศยุโรป

หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงบ่มเพาะธุรกิจให้กับคนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจหรือสตาร์ทอัพเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา 

ในต่างประเทศหลายประเทศที่สร้างผลงานเอาไว้มากมาย โดย YES!Delft องค์กที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทางธุรกิจครบวงจรที่มีบทบาทในการเข้าไปสนับสนุนธุรกิจกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นจำนวนมาก 

ความน่าสนใจของ YES!Delft คือเป็นองค์กรที่จากการจัดอันดับสถาบันเสริมสร้างผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี โดย UBI Index of 2014 ในอันดับสูงสุดของกลุ่มประเทศยุโรป

YES!Delft เป็นบริษัทเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง Delft ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี 2005 เดิมอยู่ภายใต้ Delft University of Technology แต่ปัจจุบันบริหารงานแบบบริษัทเอกชนโดยทีมผู้บริหาร กรรมการที่ปรึกษาและนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของ Delft University of Technology ซึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่เป็นการทำงานที่สร้างประสบการณ์นักศึกษาก่อนออกไปทำงานจริง  ในแต่ละปีจะมีการหมุนเวียนกลุ่มนักศึกษาและมีการส่งต่องานกัน อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความต่อเนื่อง

โครงสร้างทีมบริหารภายใน YES!Delft ประกอบด้วย คณะกรรมการฝ่ายจัดการ (Management) 10 คนคณะกรรมการผู้ประกอบการ (Entrepreneur-in-residence) 4 คน คณะกรรมการนโยบายและตรวจสอบ (Commisionary) 5 คน นักศึกษา (Students) 5 คน

YES!Delft เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็น พี่เลี้ยงให้บริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ประสบความสำเร็จ บริการให้คำปรึกษาและแนะนำเครือข่ายทางธุรกิจ ลูกค้าของ YES!Delft มีทั้งที่เป็นนักศึกษา คนทำงาน นักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเอง โดยมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการที่มี idea ในการสร้างธุรกิจที่ชัดเจน โดยอาจเป็นได้ทั้ง idea ด้าน เทคโนโลยี ด้านนวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์และกระบวนการ หรือต้องการขยายขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น จาก lab scale หรือ small scaleสู่ industrial scale

ภายใต้วิสัยทัศน์ Building tomorrow’s leading firms หมายถึง การสร้างธุรกิจให้เป็นองค์กรชั้นนำ ที่มีความสำเร็จที่ยั่งยืนและสร้างคุณค่าที่แตกต่างได้ในสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 160 บริษัท และ มากกว่า 100 บริษัท (คิดเป็น 85%) ที่ประสบความสำเร็จ

โดยมีโครงสร้างภารกิจดังนี้ 1. Inspiration: เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ และมองความเป็นไปได้ที่จะก่อตั้งธุรกิจจนประสบความสำเร็จ  2. Education: ให้ความรู้ จัดอบรมสัมมนา และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มธุรกิจเดียวกัน  3. Incubation: บ่มเพาะธุรกิจ สร้างความพร้อมก่อนทำธุรกิจ และจัดเตรียมพื้นที่ให้ทำงาน และ 4. Growth: สนับสนุนส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตขึ้น สร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

ลักษณะของบริษัทที่ YES!Delft ให้การสนับสนุนจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1. Clean Technology เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม 2. Consumer Products สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป 3. ICT เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. Industrial Solution เทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม และ 5. Medical Technology เทคโนโลยีทางการแพทย์

กิจการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 Stages ได้แก่ 1. Start-up เริ่มต้นใหม่ 2. Grow เติบโต และ 3. Alumnus เติบโตอย่างมาก มีชื่อเสียงในตลาด

นอกจากบริหารจัดการกันภายในแล้ว YES!Delft ยังมีพันธมิตร (Partners) สนับสนุนการดำเนินงาน โดยทั้ง 3 หน่วยงานก็คือ   Delft University of Technology: เป็นมหาวิทยาลัย เป็นผู้ผลิตนักศึกษาและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 

City of Delft เป็นภาครัฐ ที่เทียบเท่ากับการปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่กำหนดนโยบายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมือง Delft รวมทั้งสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินงาน YES!Delft ด้วย

และ TNO Companies: เป็นสมาคมผู้ประกอบการด้านธุรกิจเทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์

นอกจากนี้ ยังมีผู้สนับสนุนที่เป็นองค์กรเอกชนขนาดใหญ่อีกเกือบ 20 องค์กร อาทิเช่น Roche, Robabank KMPG, Roland and Berger เป็นต้น

โปรแกรมต่างๆ ที่ YES!Delft ดีไซน์ขึ้นเพื่อตอบโจทย์ ผู้ที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการ (Start-up) จนถึงผู้ที่เป็นผู้ประกอบการอยู่แล้วและต้องการพัฒนาให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

1.  Launch Lab by YES!Delft โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการทดสอบว่าแนวคิดในการประกอบธุรกิจที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบสำคัญนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถใช้เป็นต้นแบบทางธุรกิจได้หรือไม่

2. Selection YES!Delft จะมีการคัดเลือกผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมในโปรแกรมต่างๆ โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่สามารถเข้าร่วมโปรแกรม Pre-incubation 

ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ต้องมีแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม และมีความประสงค์ในการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จได้นั้น คือผู้ประกอบการต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรม Pre-incubation นี้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโปรแกรม Pre-incubation นั้นมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ประมาณ 1,900 ยูโร อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ในค่าใช้จ่ายเพียง 500 ยูโร

3. Incubation โปรแกรมสำหรับผู้ประกอบการในระดับเริ่มต้น (Start up) มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการสามารถนำพาธุรกิจของตนเองไปสู่จุดที่ต้องการ โดยที่ผู้ประกอบการที่สามารถเข้าร่วมโปรแกรม Incubation ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี YES!Delft จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษา การสนับสนุน และกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาด การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดการด้านการเงิน และอื่น ๆ

4. Growth หลังจากที่ผู้ประกอบการได้ผ่านช่วง Incubation มาแล้วก็เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องขยายกิจการให้เติบโตและสามารถอยู่รอดได้ ดังนั้น YES!Delft จึงจัดให้มีโปรแกรม Growth program สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ เพื่อรองรับผู้ประกอบกิจการหลังจาก start up มาแล้ว 3 ปี

นอกจากพัฒนาโปรแกรมที่แข็งแรงและตอบโจทย์ผู้ประกอบการรุ่นใหม่แล้ว อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ การสร้างเครือข่ายของ YES!Delft

YES!Delft มีเครือข่ายที่ของนักลงทุนจำนวนมากที่สนใจจะลงทุน มีโครงการ (project) ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2005 บริษัทได้เร่งกระจายสร้างบริษัทใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 85% ของ 140 บริษัท และมีการลงทุนอย่างน้อย 110 ล้านยูโรจากนักลงทุน โดยจะมีการติดต่อกับนักลงทุน เป็น 3 ระดับดังนี้

1. The Newsletter for Investors  2. Investor’s afternoon เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจมาร่วมทำความรู้จักโครงการใหม่นั้น โดยจะเลือกโครงการใหม่ๆ อย่างน้อย 6 โครงการ มีการนำเสนอให้นักลงทุนได้ฟัง ภายในเวลา 10 นาที และเวลาในการถามคำถามอีก 20 นาที  

และ 3. Meet the VCs ในทุกๆ ปี จะมีการจัดการเพื่อนัดพบระหว่างนักลงทุนและผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบจะมีการนำเสนอผลงาน 1 นาที และนักลงทุนสามารถถามคำถามในเรื่องที่นักลงทุนสนใจเพื่อต่อยอดการลงทุนนั้นได้เสมอๆ

สำหรับการประยุกต์แนวคิดของ YES!Delft สำหรับประเทศไทยนั้น ผลจากการเดินทางไปศึกษาดูงานของนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม รุ่นที่ 8 ประกอบด้วยจิตรลดา ศุภชัยมงคล, ปณิตา ราชแพทยาคม, ศราวณี พึ่งผู้นำ, อรชร อิงคานุวัฒน์ และ เศกสรรค์ ลีลาทิพย์ ที่ร่วมสะท้อนมุมมองว่า  การส่งเสริมผู้ประกอบการในไทยควรทำอย่างครบวงจรดังเช่นที่ YES!Delft ทำ ด้วยการความร่วมมืออย่างจริงจังและยั่งยืนระหว่างภาครัฐบาล องค์กรเอกชน และสถาบันการศึกษา ตามแบบจำลอง The Golden Triangle Model โดยภาครัฐจัดสรรงบประมาณ ออกกฎระเบียบ อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับภาครัฐ องค์กรเอกชนชั้นนำถ่ายทอดวิธีการผลิตและการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาในธุรกิจ ส่วนสถาบันการศึกษาจะถ่ายทอดองค์ความรู้ งานวิจัย ทั้งสามส่วนนี้จะร่วมมือกันสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเติบโตในระยะยาว