foodindiv อาหารสุขภาพเฉพาะบุคคล

foodindiv  อาหารสุขภาพเฉพาะบุคคล

“กินดี” มีชัยไปกว่าครึ่ง หลายๆ คนเข้าใจหลักการในข้อนี้แต่ก็อดไม่ได้เมื่อมีอาหารที่ชอบวางอยู่ตรงหน้า หากบริโภคเกินอัตราที่กำหนดย่อมนำไปสู่โรคภัยได้ง่าย

จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases) ในไทยขยายตัวอย่างน่าเป็นห่วงและมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคในลักษณะนี้มากขึ้นทุกปี จึงเป็นที่มาของแนวคิดการสร้างโมเดลธุรกิจที่่ช่วยให้คนไทยสุขภาพดีขึ้นได้โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวกำหนดในชื่อ foodindiv 

Foodindiv เป็น Personalized food platform ทำหน้าที่เสมือนนักกำหนดอาหารส่วนตัว ที่จะทำให้สามารถเลือกทานอาหารที่ดีและเหมาะกับสุขภาพของแต่ละบุคคลได้อย่างยืดหยุ่นตามตัวเลือกอาหารที่มีในขณะนั้น โดยสองผู้ก่อตั้ง ธเนศ วัฒนคุณากร และบุษรา มุกดาสกุลภิบาล

ระบบจะทำการวิเคราะห์อาหารที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลจากข้อมูลสุขภาพ ที่สร้างจากหลักการโภชนบำบัด ที่จะช่วยแนะนำอาหารตามวัตถุประสงค์ที่เหมาะสม ทั้งการลดน้ำหนัก ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล หรือ โรคเบาหวาน 

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ คุณแม่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ระบบจะให้คำแนะนำและจัดส่งอาหารให้ในทุกมื้อ

อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ธเนศ บอก foodindiv เป็น platform ที่ใช้ AI and Algorithm บนพื้นฐานของหลักการโภชนบำบัด เพื่อช่วยผู้ที่ลดน้ำหนัก ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงอาหารที่เหมาะกับสุขภาพและความชอบของแต่ล่ะคน ได้อย่างยืดหยุ่ยตามไลฟ์สไตล์การกินของแต่ละคน

“นักกำหนดอาหารจะเป็นคนให้คำแนะนำด้านการกินอาหารที่เหมาะสมกับการกินอาหารของแต่ละบุคคล เหมาะกับโรคที่แต่ละคนเป็นอยู่ โดยในโปรแกรมจะมีการ motivate ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้เปลี่ยนไปจากเดิม” บุษรา กล่าว

จากแนวโน้มที่เกิดขึ้นจะพบว่า คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น สองผู้ร่วมก่อตั้ง foodindiv บอก ส่วนใหญ่คนมักจะเข้าใจว่าข้อมูลความรู้โดยทั่วไปสามารถหาได้มากมายจากอินเตอร์เน็ต แต่จริงๆ ท่ามกลางข้อมูลมากมายเหล่านั้นไม่สามารถรู้ได้เลยว่า อะไรกันแน่ที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับตัวเอง 

“แม้ว่าหลายคนบอกว่าตัวเองรักสุขภาพ ใส่ใขสุขภาพ แต่ดูที่พฤติกรรมการเลือกรับประทานก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้น ส่วนหนึ่งอาจไม่รู้ว่าอาหารที่เลือกทานนั้นไม่เหมาะกับสุขภาพของตัวเอง ซึ่งจากที่ทำการสำรวจความคิดเห็นมาก็พบว่า คนทั่วไปมีปัญหาการเลือกอาหารที่เหมาะกับสุขภาพตัวเอง บางคนอยากใส่ใจดูแลสุขภาพ แต่ไม่รู้ว่าอาหารอะไรที่เหมาะกับตัวเอง

บางคนใส่ใจสุขภาพ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกอาหารที่เหมาะกับตัวเองได้จากที่ไหน ไม่รู้แหล่งซื้อ" 

ภายใต้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จึงมีนักโภชนาการ คอยให้คำแนะนำว่ากินอาหารครบ 5 หมู่  การใช้งานแพลตฟอร์มนี้ ทำได้โดยให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสุขภาพ แล้วระบบวิเคราะห์ว่าอาหารที่ควรจะกินเป็นอย่างไร 

"หลักๆ จะเน้นไปที่โรค NCDs สูงขึ้นมากๆ จุดเริ่มต้นมาจากความอ้วน เราเลยเน้นภาวะน้ำหนักเกิด และ เบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือด

สำหรับ ข้อมูลที่กรอกจะเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม เช่น น้ำหนักส่วนสูง ผลการตรวจเลือด โรคประจำตัว ความชอบไม่ชอบอาหาร ระบบจะวิเคราะห์ว่าอาหาร และพลังงานที่ควรกินแต่ละวันว่าควรเป็นเท่าไหร่ แบ่งออกมาเป็นอาหารแต่ละหมวด โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน ต้องเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

ระบบจะประมวลผลให้ว่าควรกินอย่างละเท่าไหร่ แล้วเฉลี่ยออกมาเป็นมื้อจากนั้นมาดูเมนูไหนบ้าง แล้วจัดให้ว่าแต่ละวันควรจะกินอะไรบ้างใน 3 มื้อ" 

ทั้งนี้ บุษรา บอก หลักการที่ใช้ในการคำนวณคุณค่าสารอาหาร เป็นหลักการของโภชนาบำบัดอยู่แล้ว โดยใช้ในการจัดอาหารให้คนไข้ที่เข้ามาปรึกษา 

ด้าน ธเนศ บอก การทำงานของ foodindiv เป็นการเปลี่ยนจาก “คน” มาสู่ “ระบบ”  เป้าหมายต้องกรช่วยคนทั้งโลกให้มีโภชนาการที่ดี ถ้ายึดกับคนต้องมีนักกำหนดอาหารกี่คน การจะสเกลคงทำไม่ได้ แต่หากเป็น AI แล้วทำให้มีสมองกลในนั้นคอยทำหน้าที่ช่วยผู้คนได้เยอะขึ้น 

“อาหารสุขภาพ มีทั้ง คลีน ออร์แกนิก อาหารเสริม บริการเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ ด้วยขนาดแล้วเทียบเท่ากับตลาดเบียร์ โดยเซ็กเม้นท์ที่เราจะเข้าไปจับคือ อินโนเวเตอร์”

ทั้งนี้มองโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจค่อนข้างสดใส วัดจากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ มูลค่าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของไทยในปี 2558 สูงถึง 170,000 ล้านบาท เติบโตที่ 42.5%  โดยที่ผลวิจัยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และ อาหารเพื่อความสวยงาม

“กลุ่มที่เราจะเน้นคือ flexible ถัดมาเป็นคนที่มีความเสี่ยง ไขมันสูง น้ำตาลในเลือดสูง ถ้าตรงนี้โอเค มีแผนขยายไปคนท้องที่ต้องการให้ลูกแข็งแรง และคลอดออกมาอย่างมีสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีตลาดสูงวัย เป็นอีกตลาดที่เป็นโอกาสและอยากจะไปให้ถึง” 

แนวทางการพัฒนา foodindiv ในตลาด ธเนศ บอก เน้นโมเดล B2C  เริ่มที่คนทำงานออฟฟิศก่อนเป็นลำดับแรก ขณะเดียวกันยังมองถึงโอกาสที่จะทำงานร่วมกับบริษัทรับตรวจสุขภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา 

สำหรับการให้บริการพิจารณาจากพฤติกรรมเป็นหลัก แบ่งได้เป็นคนที่ชอบกินอาหารนอกบ้าน กลุ่มทำอาหารกินเอง และคนที่ต้องการความสะดวกแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งระบบจะจัดสรรให้เหมาะกับพฤติกรรมของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น  ส่วนประกอบสูตรเพื่อการเลือกสำหรับคนที่ต้องการทำอาหารทานเอง เป็นต้น รวมถึงลิสต์ร้านอาหารที่แนะนำสำหรับคนที่ชอบทานอาหารนอกบ้าน

ในส่วนของแผนการเติบโตนั้น ธเนศ บอก foodindiv ไม่เน้นโตเร็ว แต่จะเสิร์ฟบริการให้กับคอมมูนิตี้เล็กๆ เริ่มจากออฟฟิศบิวดิ้งก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนจะขยายสู่กลุ่มอื่นๆ ต่อไป

“ในเฟสต่อไป คือ AI และ machine learning เพื่อให้ตอบโจทย์คอนเซ็ปที่ว่า กินถูกปาก ให้สุขภาพดี เราเลือกให้คุณแล้ว โดย Food individual จะเป็นอาหารเฉพาะคุณเท่านั้น”

แม้ว่า foodindiv จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเดินทาง แต่ท่ามกลางการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้ ธเนศ มองถึงเป้าหมายระยะไกลที่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใน 5 ปี นับจากนี้ 

บทพิสูจน์ กินดี สุขภาพดี 

foodindiv นำหลักการกำหนดอาหารของนักกำหนดอาหารวิชาชีพมาใช้ในการคัดสรรอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละคน จากเมนูอาหารมากมายที่เรารวบรวมจากร้านพันธมิตร เพื่อให้ทุกคนได้กินอาหารที่ ถูกปาก ดีต่อสุขภาพ และ ราคาไม่แพง

ภายหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าแล้ว เราจะจัดส่งมื้ออาหารที่เหมาะสมกับแต่ละคน ให้เป็นประจำถึงสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด ตามจำนวนมื้อที่ลูกค้าเลือกไม่ต้องรอ ไม่ต้องต่อคิว  

ซึ่งแนวคิดนี้สามารถชนะใจกรรมการและคว้ารางวัล อันดับหนึ่ง ในการแข่งขัน Hackathon จัดโดย Tipco Connext