Remarkable Academy ผู้ช่วย ‘องค์กร-คน’ หางานที่ใช่

Remarkable Academy  ผู้ช่วย ‘องค์กร-คน’ หางานที่ใช่

Employer brand เป็นการสร้างน้ำวนที่ดึงคนเก่งให้เข้ามา และ กันไม่ให้คนเก่งออกไป

เมื่อสถานการณ์ “เปลี่ยน” ธุรกิจก็ต้องปรับ

“Career Bolt” (แคเรีย โบลท์) จากในตอนแรกที่เคยเป็นเว็บไซต์หางานสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับกลางไปจนถึงหัวหน้างานแต่เมื่อทำไปสักระยะก็พบว่าจำนวนพนักงานกลุ่มนี้ไม่ใหญ่เท่าที่คิดไว้แต่แรก

จากนั้นก็ได้ปรับเปลี่ยนแผนมาเป็นแคเรียคิวแอนด์เอเปิดพื้นที่ให้คนมาถามตอบทุก ๆปัญหาเรื่องงาน ถามอะไรก็ได้ โดยมี แคเรียโค้ชคอยทำหน้าที่ตอบ ซึ่งจากนั้นก็ได้มีการปรับธุรกิจกันอีกครั้ง

ล่าสุด “มาร์ค เหล่าถาวรวงศ์” ผู้ร่วมก่อตั้ง &ซีอีโอ “Career Bolt” (แคเรีย โบลท์) บอก ตอนนี้เปลี่ยนแผนไปเยอะมาก

“จากที่ได้ทำไปก็พบว่าการทำ Tech Startup โดยเฉพาะ HRTech เป็นอะไรที่ไม่ง่ายเลยในไทย”

หลังจากพบว่ามีข้อจำกัดใดบ้าง ในที่สุดก็ตัดสินใจหยุดสักระยะ โดยใช้เวลาที่มีเข้าเรียนรู้ในหลายๆ งานสัมมนาวิชาการระดับโลกซึ่งก็พบว่า การกลับมาทำที่ความเชี่ยวชาญน่าจะดีกว่า

“ก็ไม่เห็นต้องทำ Tech เลย แต่ทำ Consult ซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัด”

มาร์ค เหล่าถาวรวงศ์ มีประสบการณ์การเป็นรีครูทเตอร์ให้องค์กรชั้นนำมา 10 ปี ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน HR, Recruiting, และ Career โดยเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูง, Remarkable Academy, Career Center Firm

สิ่งที่ มาร์ค มุ่งมั่นในปีนี้และต่อเนื่องถึงอนาคตในส่วนของ Remarkable Academy

ซึ่งเดินไปในทิศทางที่สอดรับกับเทรนด์ยุคนี้ดิจิทัล เพราะไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่ต่างก็ต้องการ “คน” โดยเฉพาะคนในสายเทคโนโลยีเข้าไปหนึ่งในพลังขับเคลื่อนองค์กร 

“หากจะทำเรื่องอินโนเวชั่นก็ต้องการคน โดยเฉพาะคนในสายเทค ในไทยไม่ได้มีเยอะ บริษัทต่างก็แย่งกันด้วยเงิน เด็กจบใหม่ได้เงินเดือน 3-4 หมื่นบาท นอกจากเงินแล้วองค์กรยังต้องเข้าใจด้วยว่า การจะดึงคนกลุ่มนี้มาได้ ไม่ใช่เงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้อง build brand ให้ สตรอง และ แชร์ให้เห็นถึงคุณค่าด้วย”

งานหลักๆจะเกิดขึ้นในสองส่วนคือ เทรนนิ่ง และคอนเซ้าท์ในเรื่อง Employer Brand

ข้อดีของการทำ Employer brand นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับชื่อเสียงของบริษัทต่อผู้สมัครงาน (แคนดิเดท) รวมไปถึง Value Proposition ที่มีต่อพนักงานที่ทำอยู่

เรียกว่า หากองค์กรสามารถวางแนวทางปฏิบัติ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี นอกจากจะรักษาคนเก่งเอาไว้ได้ ยังดึงดูดคนใหม่ให้เข้ามาร่วมงาน

“คนไม่อยากออกไปอยู่ที่ใหม่ แม้ว่าจะได้ รับข้อเสนอผลตอบแทนที่มากกว่า และเป็นแม่เหล็กดึงคนเก่งๆ เข้ามาทำงานที่บริษัท”

มาร์ค บอก ในส่วนกระบวนการทำงานที่เข้าไปทำกับองค์กรต่างๆ มีตั้งแต่ เทรนนิ่งให้คนในองค์กร ทั้งผู้บริหาร ผู้จัดการ ต้องเข้าใจว่าการจะได้คนที่ดีๆ เข้ามา ต้องถูกไดรฟ์จากวัฒนธรรมองค์กรหรือ Employer Brand จริงๆ

เพราะต่อให้จ้างแพงแค่ไหน เมื่อเข้ามาแล้วคนก็ออกไปได้

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้างสำหรับในต่างประเทศเกิดขึ้น เช่นที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเกิดขึ้นมานานแล้ว ส่วนในไทย มาร์ค บอกอยู่ในช่วงต้นๆ และมองว่าจะเป็นที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการแย่งชิงคนเก่ง

หนึ่งในแนวทางได้แก่ การวางกลยุทธ์ในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหาทาเล้นท์ แทนที่จะโพสต์และรอคนสมัคร อย่างนี้จะได้แค่ 20% ของตลาดแรงงาน แต่หากใช้โซเชียลเป็นช่องทางสื่อสารครอบคลุมได้มากกว่า

“เป็นการเข้าไปให้เทคนิคใหม่ๆ กับ HR เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการหาคนที่ใช่

รวมทั้งสร้าง mindset ใหม่ ต้องปรับมาใช้ Social recruiting มากขึ้น ซึ่งถูกกว่า ประสิทธิภาพมากกว่า และเข้าถึงมากกว่า”

ในความตั้งใจตลอดทั้งปีนี้และต่อเนื่องปีหน้า มาร์ค เน้นที่การหาคนจากสายเทค เช่น ซอฟต์แวร์ เอ็นจิเนียร์

ขณะที่ Remakable Academy โฟกัสกับ เทรนนิ่ง และคอนเซ้าท์ องค์กรต่างๆ

ส่วนแผนงานในปีหน้ามองถึงการเข้าไปทำงานร่วมกับองค์กร แต่ปีหน้า เข้าไปทำให้เลยในส่วนของการให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ เช่น มองหาว่าอะไรคือคุณค่าที่จะทำแบรนด์นายจ้างเพื่อดึงดูดคน และให้คนข้างในองค์กร มองเห็นถึงแวลูที่เกิดขึ้น

แม้ว่าในตอนนี้ หลายๆองค์กรยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก แต่เชื่อว่าเทรนด์นี้มาแน่นอน ยุคนี้ดิจิทัล ไดรฟ์ ด้วย อินโนเวชั่นก็ตืองการคน โดยเฉพาะคนในสายเทคโนโลยี ในไทยไม่ได้มีเยอะ

“บริษัทในไทย ถ้าลงทุนเรื่องคน ต้องการคนมาขับเคลื่อนบริษัทจริงๆ ควรจะแคร์เรื่อง Employer brand มากขึ้น เพราะเป็น น้ำวน ที่ดึงคนเก่งให้เข้ามาอยู่ในน้ำวนของเรา และกันไม่ให้คนเก่งออกไปจากน้ำวนของเราได้

เพราะยิ่งน้ำวนแรงเท่าใด แสดงว่า Employer brand ยิ่งสตรอง

อยากให้บริษัทไทย สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอี มาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น” มาร์ค กล่าว และว่า Passion ของผม เป้าหมายที่สุดแล้ว ต้องการให้คนหางานที่ใช่ บริษัทหาคนที่ใช่ โดยมีเราเป็นสะพานเชื่อม

‘ลุงหมีรีครูซ’

“ปีที่แล้ว เปลี่ยน โมเดลใหม่ แล้วผมไปอยู่อเมริกาครึ่งปี ได้เรียนรู้มากขึ้น แล้วเอากลับมาใช้กับบริษัทตัวเอง”

จากการเดินทาง หาประสบการณ์ใหม่ๆ และการได้เรียนรู้ ทำให้ มาร์ค เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การเป็นรีครูซเตอร์ที่ดีต้องมีความเป็น Human เยอะๆ

ซึ่งก็นำมาสู่ลุคใหม่ในชื่อ ‘ลุงหมีรีครูซ” ที่ มาร์ค บอกว่าเป็นการตั้งตามคาแรคเตอร์ด้วยรูปร่างของตัวเอง การพูดคุยที่เป็นกันเอง สนุกสนาน มีความเป็นกันเองมากขึ้น

“เมื่อก่อนเราแนวคอปอเรท เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแนว เรียกว่า set direction ใหม่ ที่ friendly มากขึ้น

จาก คุณมาร์ค เป็น ลุงหมี ทำให้ Personal brand ดูซอฟต์ลง”