เอ็นไอเอผุดสถาบันพยากรณ์อนาคตนวัตกรรม

เอ็นไอเอผุดสถาบันพยากรณ์อนาคตนวัตกรรม

“สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม” หน่วยงานน้องใหม่ในสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (เอ็นไอเอ) ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือคาดการณ์ทิศทางอนาคตของประเทศในมิติต่างๆ โดยเฉพาะทิศทางนวัตกรรม

“สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม” หน่วยงานน้องใหม่ในสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (เอ็นไอเอ) ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือคาดการณ์ทิศทางอนาคตของประเทศในมิติต่างๆ โดยเฉพาะทิศทางนวัตกรรมที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการเอ็นไอเอ กล่าวว่า ต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ ตุรกี สวีเดน เกาหลี ญี่ปุ่นรวมถึงเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มี หน่วยงานในลักษณะนี้แล้ว ต่างยอมรับในศักยภาพที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าของการลงทุนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด

สร้างนักอนาคตศาสตร์

สถาบันฯ (Innovation Foresight Institut : IFI) จะเป็นแหล่งรวมนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ทั้ง ดาต้าซายน์
บิ๊กดาต้า ดีฟเลิร์นนิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ บนพื้นฐานฐานข้อมูลนวัตกรรมตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสำรวจ เช่น กระแสฟู้ดทรัค เป็นหนึ่งในบริการอาหาร ข้างทาง หากใครเข้ามาก่อนก็ได้เปรียบเพราะเป็นการเปลี่ยนซัพพลายเชนซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจฟินเทค หากตรวจพบสัญญาณล่วงหน้าจะทำการเตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจากเกิด
ขึ้นจากทั่วโลก เช่น กลุ่มสตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยและความมั่นคง ที่กำลังมาแรงในอิสราเอล

ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินตามแนวทางดังกล่าว ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้า โดยอาศัยข้อมูลความไม่แน่นอนและหาสัญญาณปัจจุบันเข้ามาใช้วิเคราะห์อนาคต เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถระบุโจทย์ที่ชัดเจนในการพัฒนานวัตกรรมออกมาตอบโจทย์ได้รวดเร็วทันสถานการณ์ เป็นการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน จึง “ไม่ใช่” การพยากรณ์อนาคตจากข้อมูลในอดีต

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์หลักของสถาบันฯ ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ พัฒนาเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและเข้มแข็ง, ศึกษาภาพและแนวโน้มอนาคต โดยเฉพาะแนวโน้มที่สร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม และยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาศักยภาพทาง นวัตกรรมให้กับกลุ่มธุรกิจ

สถาบันฯ ตั้งเป้าว่าในแต่ละปีจะสำรวจเทรนด์ผ่านทางโซเชียลมีเดียและข้อมูลสื่อหลัก ปีละ 1 ครั้งเพื่อให้เห็นภาพโดยรวม ส่วนเทรนด์ในปีหน้ายังไม่ได้ทำ การสำรวจแต่ตั้งโจทย์จะให้ทุนในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมมากกว่าอุตสาหกรรม จากเดิมที่เคยนำเสนอเรื่องย่านนวัตกรรม อาทิ ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ เกี่ยวกับธุรกิจสร้างสรรค์ มีมหาวิทยาลัยศิลปากรรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะ ย่านนวัตกรรมสยามก็มีจุฬาฯ เป็นศูนย์กลางในเรื่องสตาร์ทอัพและ การศึกษา เป็นต้น ส่วนเทรนด์อาหารก็ประกอบไปด้วยอาหารสำหรับผู้สูงอายุ อาหารฟังก์ชันนัล อาหารที่ตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในเมืองที่ เน้นความสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น

“เราจะสนับสนุนทุนโครงการพัฒนาสารจากอนาคตให้กับสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานวิจัย ที่นำโจทย์มาย่อยเป็นธีมนวัตกรรมมุ่งเป้าจำนวน 10 ทุนทุนละ 3 ล้านบาท จะเน้นด้านนวัตกรรมสังคม จากที่ผ่านมาเน้นนวัตกรรมเศรษฐกิจ” พันธุ์อาจ กล่าว

อนาคตพฤติกรรมไทย

ยกตัวอย่างรายงานของ “ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์” ผู้จัดการกลยุทธ์นวัตกรรม เอ็นไอเอ นำเสนอความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่จะมีให้ เห็นมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อมีเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นปัจจัยเร่ง ได้แก่

1. User-generated Data การเข้าถึงและการสร้างข้อมูลของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วและทันเวลา เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็น อนาคต ทั้งปัญหา ความต้องการและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง คนที่จับสัญญาณอนาคตได้ย่อมได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ e-commerce ที่ทราบถึงแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถออกแบบรูปแบบทางการตลาดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

2. Robosapiens Generation การใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับหุ่นยนต์ 3. Personalized Medical Care บริการการแพทย์
เฉพาะบุคคล แทนการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับคนส่วนใหญ่ และ 4. Sharing Economy เศรษฐกิจแบ่งปัน

รูปแบบเศรษฐกิจที่ทรัพย์สินรายย่อยที่ถือครองโดยบุคคลทั่วไป ถูกนำมาแลกเปลี่ยนหรือหยิบยืมใช้งานร่วมกับผู้อื่นในวงกว้าง เกิดการสร้างมูลค่ากับทรัพย์สินรายย่อยและเกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่อยู่กระจัดกระจายอย่างคุ้มค่า ซึ่งเป็นแนวโน้มในยุคที่แพลตฟอร์มด้านดิจิทัลได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลาย ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยจับคู่ความต้องการระหว่างฝั่งอุปสงค์และอุปทาน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Airbnb หรือ Grab