กลยุทธ์เร่งโต แบบ ‘ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์’

กลยุทธ์เร่งโต แบบ ‘ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์’

งานของเราก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ขึ้นมาเยอะๆ

'ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์’ สตาร์ทอัพแถวหน้า บอกถึงการเดินทางของสตาร์ทอัพเปรียบได้กับจรวดที่พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ก่อนจะถึงวันนั้นระหว่างทางก็ต้องเจอกับปัญหาและยังต้องเหนื่อยจนกว่าจะถึงวัน EXIT 

ตลอดเส้นทาง 8-9 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ณัฐวุฒิ บอก แต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ

“โลกทุกวันนี้เป็นโกลบอล สตาร์ทอัพไม่ได้แข่งกันเองแต่แข่งกับสตาร์ทอัพต่างประเทศที่เข้ามา เมื่อพูดชื่อ Grab แล้วเค้าไม่ได้อยู่ที่ประเทศเค้า ไทยต้องอย่าคิดแค่ออกไปข้างนอก อีกด้านก็ต้องกันคนข้างนอกด้วย” 

การก้าวมายืนอยู่แถวหน้าในแวดวงสตาร์ทอัพ ณัฐวุฒิ บอกถึงการให้ความสำคัญกับสองเรื่องหลัก นั่นคือ “ทำตัวเองให้แข็งแกร่ง” และ “กลยุทธ์แบบ Win-Win”

"อย่างแรก ไม่ต้องคิดไปแข่ง เพราะรายใหญ่จากต่างประเทศไม่มองเราเป็นคู่แข่งด้วยซ้ำ สิ่งที่ทำได้ คือ ทำตัวเองให้ดี ทำให้เค้าอยากจะจับมือกับเราให้ได้ หลังจากนั้นค่อยว่ากันต่อ

เพราะพอถึงจุดหนึ่ง อาจไม่ต้องแข่งแต่สามารถจับมือกันได้ 

อย่าง อุ๊คบี จับมือเจ้าใหญ่ๆ Tencent เพราะท้ายที่สุดเป็น Win-Win ด้วยโมเดล Partnership

ขนาด Grab กับ Uber แข่งกันมาสุดท้ายก็ต้องจับมือกัน อยู่ที่ว่าเราจะทำตัวเองให้เค้าอยากจะจับมือเราได้อย่างไร“     ทำไมอาลีบาบา ต้องซื้อลาซาด้า ทำไมแกร๊บจับมือกับอูเบอร์ หรือจับมือเป็นประโยชน์กับเค้ามากกว่า ด้วยเงินจำนวนเท่ากันจะสู้กันหรือจับมือกัน ฉะนั้นกลยุทธ์ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงในระดับที่เค้ารู้สึกว่าน่าจะจับมือด้วย”

นอกจากทำตัวเองให้แข็งแรงแล้ว ถัดมา การสื่อสารก็มีความสำคัญอย่างมาก

“สตาร์ทอัพนอกจากแค่ทำงาน ก็น่าจะต้องหาวิธีในการพูดเพื่อให้คนข้างนอกรู้จักและสร้างการรับรู้กับคนจำนวนมาก”

ย้อนมองเส้นทางที่ผ่านมา และแผนการเดินทางในอนาคต ณัฐวุฒิ ย้ำถึง บทบาทที่ทำอยู่และแต่ส่วนล้วนท้าทาย

“หมวกใบแรก”  ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร อุ๊คบี (Ookbee) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2533 กับแนวคิดการเป็นแพลตฟอร์มกลางของบรรดาสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่ไทยให้เปลี่ยนจาก “กระดาษ” สู่ “ดิจิทัล” 

 โมเดลการทำงานเริ่มที่ติดต่อคู่ค้าก็คือ สำนักพิมพ์ต่างๆ ให้ตอบรับไอเดีย ซึ่งเมื่อย้อนไปวันนั้นนับเป็นเรื่องใหม่ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในไทย โดยมีจุดแข็งอยู่ที่ความเร็วในการนำเสนอสิ่งใหม่ให้กับกลุ่มผู้อ่าน

สิ่งที่ ณัฐวุฒิ นำเสนอได้รับการตอบรับมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากฝั่งสำนักพิมพ์ และผู้อ่าน หัวใจอยู่ที่ความหลากหลายของคอนเทนท์ และความสะดวกสบายที่สามารถเลือกชำระค่าบริการตามต้องการทั้งรายวันหรือรายเดือน  

การขยับอีกก้าวของ อุ๊คบี เมื่อผันตัวเองมาสู่การสร้างพฤติกรรมการอ่านแนวใหม่ผ่านแอพพลิเคชั่นชื่อ จอยลดา (Joylada) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มนักอ่าน โดยเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้แต่งคอนเทนท์ อย่างเช่น นิยาย ที่เข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ในการโชว์เคสพร้อมกับสร้างรายได้ที่คิดจากยอดวิวที่ได้รับ

จากการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้อ่านยุคใหม่และความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีทำให้จอยลดาเป็นอีกแอพฯที่มีการดาวน์โหลดกว่าแสนครั้ง จากทั้ง iOS และ Android

แนวคิดที่ปรับอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ทำให้อุ๊คบี ขยายฐานธุรกิจไปแล้วในหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ในอีกด้าน ด้วยวิธีคิดและรูปแบบการทำงานของสตาร์ทอัพที่ต้อง “คิดเร็ว” “ทำเร็ว” นั่นก็อาจทำให้ “พลาดพลั้ง” ได้

การปิดบริษัทชื่อ อุ๊คบีมอลล์ (Ookbee Mall) ที่ณัฐวุฒิ มองว่าจะทำให้ส่วนนี้เป็นอีกขาธุรกิจที่โตไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่โดยใช้ฐานลูกค้าของอุ๊คบีเป็นใบเบิกทาง

แต่ผ่านไปสักระยะก็พบว่าสนามนี้แข่งกันดุเดือด อีกทั้งต้นทุนในการสร้างตลาดกลับสูงกว่ารายได้ที่เข้ามา โมเดลธุรกิจนี้จึงไปไม่รอดและต้องปิดตัวลง  

นอกจาก อุ๊คบี หมวกอีกใบที่ ณัฐวุฒิ ให้ความสำคัญ นั่นคือ 500 TukTuks กองทุนที่โฟกัสการลงทุนไปกับสตาร์อัพระดับ Seed เป็นหลัก เริ่มจากกองแรกเมื่อปี 2558 ที่มีการลงทุนในสตาร์ทอัพจำนวนหนึ่งโดยมีเพียงหนึ่งรายที่ต้องเลิกไป

“ในมุมผม สตาร์ทอัพไทย ยังไปได้ จากที่เราลงทุนไปมีแค่เจ้าเดียวที่เจ๊ง ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ”

ล่าสุด 500 TukTuks ประกาศถึงความร่วมมือใหม่กับกองทุนที่ขยายใหญ่ขึ้นจากการเข้าร่วมลงทุนของกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ในไทย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มธุรกิจ TCP บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท วัชรพล จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งก็ทำให้กองทุน 500 TukTuks กองสองนี้มีขีดความสามารถมากขึ้นในการลงทุน โดยตั้งเป้าลงทุน ใน 150 สตาร์ทอัพ ทั้ง Disruptive Digital และ Deep Technolog ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"กองแรกเราบอกไม่ลงใน Series A นั่นก็ทำให้ได้แต่นั่งรอว่าเมื่อไหร่จะมีคนมาลงต่อ ทั้งที่ความเป็นจริงเรามองว่าบริษัทนี้ดีมากๆ ทำไมไม่มีใครมาลง ทำให้เสียโอกาสไป เพราะกองแรกบอกว่าบไม่ลง A

มาถึงกองสองจึงเน้น Hybrid Model มากขึ้นซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้จากการทำงานในกองแรก โดยจะมีการลงทุนใน Series A ด้วย แต่ถึงอย่างไรโฟกัสของเราก็ยังป็นระดับ Seed อยู่"

ถึงตอนนี้ ณัฐวุฒิ บอกทุกส่วนงานที่รับผิดชอบยังคงเดินหน้าและต้องทำให้ดีที่สุด

"ในส่วนของอุ๊คบี คงต้องมี Exit แต่คงยังไม่ใช่ในเวลานี้ สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็ คือทำในสิ่งที่ตัวเองพูด ขณะที่ 500 TukTuks เราลงทุนกับน้องๆ สตาร์ทอัพ ต้องมีเงินลงทุนคืนกลับให้นักลงทุน

นักลงทุนต้องแฮปปี้

งานของเราก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ขึ้นมาเยอะๆ เสร็จแล้วก็หวังว่าจะมี CVC ใหญ่ๆ มารับไม้ต่อ"

ณัฐวุฒิ บอก

'ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์’ สตาร์ทอัพแถวหน้า บอกถึงการเดินทางของสตาร์ทอัพเปรียบได้กับจรวดที่พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ก่อนจะถึงวันนั้นระหว่างทางก็ต้องเจอกับปัญหาและยังต้องเหนื่อยจนกว่าจะถึงวัน EXIT 

ตลอดเส้นทาง 8-9 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ณัฐวุฒิ บอก แต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ

“โลกทุกวันนี้เป็นโกลบอล สตาร์ทอัพไม่ได้แข่งกันเองแต่แข่งกับสตาร์ทอัพต่างประเทศที่เข้ามา เมื่อพูดชื่อ Grab แล้วเค้าไม่ได้อยู่ที่ประเทศเค้า ไทยต้องอย่าคิดแค่ออกไปข้างนอก อีกด้านก็ต้องกันคนข้างนอกด้วย” 

การก้าวมายืนอยู่แถวหน้าในแวดวงสตาร์ทอัพ ณัฐวุฒิ บอกถึงการให้ความสำคัญกับสองเรื่องหลัก นั่นคือ “ทำตัวเองให้แข็งแกร่ง” และ “กลยุทธ์แบบ Win-Win”

"อย่างแรก ไม่ต้องคิดไปแข่ง เพราะรายใหญ่จากต่างประเทศไม่มองเราเป็นคู่แข่งด้วยซ้ำ สิ่งที่ทำได้ คือ ทำตัวเองให้ดี ทำให้เค้าอยากจะจับมือกับเราให้ได้ หลังจากนั้นค่อยว่ากันต่อ

เพราะพอถึงจุดหนึ่ง อาจไม่ต้องแข่งแต่สามารถจับมือกันได้ 

อย่าง อุ๊คบี จับมือเจ้าใหญ่ๆ Tencent เพราะท้ายที่สุดเป็น Win-Win ด้วยโมเดล Partnership

ขนาด Grab กับ Uber แข่งกันมาสุดท้ายก็ต้องจับมือกัน อยู่ที่ว่าเราจะทำตัวเองให้เค้าอยากจะจับมือเราได้อย่างไร“     ทำไมอาลีบาบา ต้องซื้อลาซาด้า ทำไมแกร๊บจับมือกับอูเบอร์ หรือจับมือเป็นประโยชน์กับเค้ามากกว่า ด้วยเงินจำนวนเท่ากันจะสู้กันหรือจับมือกัน ฉะนั้นกลยุทธ์ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงในระดับที่เค้ารู้สึกว่าน่าจะจับมือด้วย”

นอกจากทำตัวเองให้แข็งแรงแล้ว ถัดมา การสื่อสารก็มีความสำคัญอย่างมาก

“สตาร์ทอัพนอกจากแค่ทำงาน ก็น่าจะต้องหาวิธีในการพูดเพื่อให้คนข้างนอกรู้จักและสร้างการรับรู้กับคนจำนวนมาก”

ย้อนมองเส้นทางที่ผ่านมา และแผนการเดินทางในอนาคต ณัฐวุฒิ ย้ำถึง บทบาทที่ทำอยู่และแต่ส่วนล้วนท้าทาย

“หมวกใบแรก”  ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร อุ๊คบี (Ookbee) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2533 กับแนวคิดการเป็นแพลตฟอร์มกลางของบรรดาสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่ไทยให้เปลี่ยนจาก “กระดาษ” สู่ “ดิจิทัล” 

 โมเดลการทำงานเริ่มที่ติดต่อคู่ค้าก็คือ สำนักพิมพ์ต่างๆ ให้ตอบรับไอเดีย ซึ่งเมื่อย้อนไปวันนั้นนับเป็นเรื่องใหม่ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในไทย โดยมีจุดแข็งอยู่ที่ความเร็วในการนำเสนอสิ่งใหม่ให้กับกลุ่มผู้อ่าน

สิ่งที่ ณัฐวุฒิ นำเสนอได้รับการตอบรับมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากฝั่งสำนักพิมพ์ และผู้อ่าน หัวใจอยู่ที่ความหลากหลายของคอนเทนท์ และความสะดวกสบายที่สามารถเลือกชำระค่าบริการตามต้องการทั้งรายวันหรือรายเดือน  

การขยับอีกก้าวของ อุ๊คบี เมื่อผันตัวเองมาสู่การสร้างพฤติกรรมการอ่านแนวใหม่ผ่านแอพพลิเคชั่นชื่อ จอยลดา (Joylada) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มนักอ่าน โดยเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้แต่งคอนเทนท์ อย่างเช่น นิยาย ที่เข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ในการโชว์เคสพร้อมกับสร้างรายได้ที่คิดจากยอดวิวที่ได้รับ

จากการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้อ่านยุคใหม่และความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีทำให้จอยลดาเป็นอีกแอพฯที่มีการดาวน์โหลดกว่าแสนครั้ง จากทั้ง iOS และ Android

แนวคิดที่ปรับอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ทำให้อุ๊คบี ขยายฐานธุรกิจไปแล้วในหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ในอีกด้าน ด้วยวิธีคิดและรูปแบบการทำงานของสตาร์ทอัพที่ต้อง “คิดเร็ว” “ทำเร็ว” นั่นก็อาจทำให้ “พลาดพลั้ง” ได้

การปิดบริษัทชื่อ อุ๊คบีมอลล์ (Ookbee Mall) ที่ณัฐวุฒิ มองว่าจะทำให้ส่วนนี้เป็นอีกขาธุรกิจที่โตไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่โดยใช้ฐานลูกค้าของอุ๊คบีเป็นใบเบิกทาง

แต่ผ่านไปสักระยะก็พบว่าสนามนี้แข่งกันดุเดือด อีกทั้งต้นทุนในการสร้างตลาดกลับสูงกว่ารายได้ที่เข้ามา โมเดลธุรกิจนี้จึงไปไม่รอดและต้องปิดตัวลง  

นอกจาก อุ๊คบี หมวกอีกใบที่ ณัฐวุฒิ ให้ความสำคัญ นั่นคือ 500 TukTuks กองทุนที่โฟกัสการลงทุนไปกับสตาร์อัพระดับ Seed เป็นหลัก เริ่มจากกองแรกเมื่อปี 2558 ที่มีการลงทุนในสตาร์ทอัพจำนวนหนึ่งโดยมีเพียงหนึ่งรายที่ต้องเลิกไป

“ในมุมผม สตาร์ทอัพไทย ยังไปได้ จากที่เราลงทุนไปมีแค่เจ้าเดียวที่เจ๊ง ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ”

ล่าสุด 500 TukTuks ประกาศถึงความร่วมมือใหม่กับกองทุนที่ขยายใหญ่ขึ้นจากการเข้าร่วมลงทุนของกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ในไทย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มธุรกิจ TCP บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท วัชรพล จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งก็ทำให้กองทุน 500 TukTuks กองสองนี้มีขีดความสามารถมากขึ้นในการลงทุน โดยตั้งเป้าลงทุน ใน 150 สตาร์ทอัพ ทั้ง Disruptive Digital และ Deep Technolog ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"กองแรกเราบอกไม่ลงใน Series A นั่นก็ทำให้ได้แต่นั่งรอว่าเมื่อไหร่จะมีคนมาลงต่อ ทั้งที่ความเป็นจริงเรามองว่าบริษัทนี้ดีมากๆ ทำไมไม่มีใครมาลง ทำให้เสียโอกาสไป เพราะกองแรกบอกว่าบไม่ลง A

มาถึงกองสองจึงเน้น Hybrid Model มากขึ้นซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้จากการทำงานในกองแรก โดยจะมีการลงทุนใน Series A ด้วย แต่ถึงอย่างไรโฟกัสของเราก็ยังป็นระดับ Seed อยู่"

ถึงตอนนี้ ณัฐวุฒิ บอกทุกส่วนงานที่รับผิดชอบยังคงเดินหน้าและต้องทำให้ดีที่สุด

"ในส่วนของอุ๊คบี คงต้องมี Exit แต่คงยังไม่ใช่ในเวลานี้ สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็ คือทำในสิ่งที่ตัวเองพูด ขณะที่ 500 TukTuks เราลงทุนกับน้องๆ สตาร์ทอัพ ต้องมีเงินลงทุนคืนกลับให้นักลงทุน

นักลงทุนต้องแฮปปี้

งานของเราก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ขึ้นมาเยอะๆ เสร็จแล้วก็หวังว่าจะมี CVC ใหญ่ๆ มารับไม้ต่อ"

ณัฐวุฒิ บอก 500 TukTuks เป็นฝันใหญ่ที่ต้องการผลักดันสตาร์ทอัพไทยให้เติบโต

อุ๊คบี จากนี้ต้องเดินต่อจาก Series B น่าจะก้าวถึง Series C ได้ภายในปีนี้ โดยปลายปีที่แล้วรับทุนจากบริษัท Tencent Holdings Limited

รวมทั้งยังมี  “SIX Network” เครือข่าย Blockchain ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดิจิทัลครีเอทีฟ เป็นอีกความท้าทายครั้งใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น  

จากที่กล่าวมา ณัฐวุฒิ บอก “คงต้องเหนื่อยไปอีกหลายปี”

อุ๊คบี จากนี้ต้องเดินต่อจาก Series B น่าจะก้าวถึง Series C ได้ภายในปีนี้ โดยปลายปีที่แล้วรับทุนจากบริษัท Tencent Holdings Limited

รวมทั้งยังมี  “SIX Network” เครือข่าย Blockchain ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดิจิทัลครีเอทีฟ เป็นอีกความท้าทายครั้งใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น  

จากที่กล่าวมา ณัฐวุฒิ บอก “คงต้องเหนื่อยไปอีกหลายปี”