สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

บ่ายวันนี้ (8 สิงหาคม 2561) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์  แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการต่อต้านวัณโรคระดับชาติ UNITE TO END TB TOGETHER WE CAN  จัดโดยกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ตามแนวทางการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย เน้นการระดมความคิด สร้างองค์ความรู้ และประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ได้ตามเป้าหมาย 88 ต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2564 มีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ร่วมประชุมกว่า 800 คน

สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล ให้สัมภาษณ์ว่า องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาวะวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยกำหนดเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลก ภายในปี พ.ศ.2578 สำหรับประเทศไทย ได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้เหลือ 88 ต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2564 ด้วยมุ่งเน้นแนวทาง “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาระบบเครือข่าย นโยบายมุ่งมั่น สร้างสรรค์นวัตกรรม” เพื่อให้ประชาชนในประเทศไทยปลอดจากเชื้อวัณโรคร่วมกันในอนาคต

สธ. ผนึกกำลัง พัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนยุติวัณโรคในไทย

ทั้งนี้ ในระยะปีที่ผ่านมาแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (National TB Program) ของประเทศไทย มีการปรับปรุงมาตรการอย่างต่อเนื่องทุกมิติ สามารถเพิ่มอัตรารักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก มากกว่าร้อยละ 85 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และสามารถเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคนำเข้าสู่ระบบการรักษา โดยเฉพาะการคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคในเรือนจำ และดูแลบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศกว่า 400,000 คน ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยสามารถตรวจเชื้อได้ภายใน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงบประมาณพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม โดยมีการนำวิทยาการทันสมัยค้นหาผู้ติดเชื้อให้เข้าสู่กระบวนการรักษาวัณโรค ส่งเสริมการเข้าถึงระบบการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐาน