KTB - ซื้อ

KTB - ซื้อ

แนวโน้มสดใสและมูลค่าหุ้นยังถูก

เราคาดผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2561 จะฟื้นตัว หนุนโดยสินเชื่อเติบโตและการตั้งสำรองหนี้สูญฯ ลดลง เราประเมินกำไรปี 2561 ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 16% YoY หลังจากที่กำไรลดลง 31% ในปี 2560 ปัจจุบันมูลค่าหุ้น KTB ยังถูกอยู่ โดยซื้อขายที่ PBV ปี 2561 เพียง 0.8 เท่า คงคำแนะนำ “ซื้อ”

สินเชื่อ SME และลูกค้ารายย่อยที่น่าจะเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี 2561 หนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย

แม้สินเชื่อโตเพียง 1.1% ในครึ่งแรกของปี 2561 KTB ยังคงเป้าหมายสินเชื่อปี 2561 ขยายตัวในกรอบ 6-7% (เราประเมินที่ 4%) นอกเหนือจากธุรกิจภาครัฐฯ ธนาคารคาดสินเชื่อในกลุ่มรายย่อยและ SME จะโตขึ้นด้วยในครึ่งหลังของปี 2561 (สำหรับครึ่งปีแรก สินเชื่อ SME ลดลง 2.9% นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน และสินเชื่อบรรษัทลดลง 3.1% นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน) ทั้งนี้สินเชื่อภาครัฐฯ ขยายตัว 20.4% นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน มาอยู่ที่ 1.56 แสนล้านบาทในครึ่งแรกของปี 2561 ดังนั้นเราคาดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะขยายตัวจาก 2.87% ในครึ่งปีแรกเป็น 2.95% ในครึ่งปีหลัง หนุนโดยสัดส่วนสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้น

คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2560

อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมสูงขึ้นจาก 4.3% ณ สิ้นเดือนมี.ค. มาอยู่ที่ 4.5% ณ สิ้นเดือนมิ.ย. แต่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้นจาก 120% เป็น 124% ระหว่างช่วงดังกล่าว (เป้าหมายของธนาคารอยู่ที่ 120%) เราคาดการตั้งสำรองหนี้สูญฯ ปี 2561 จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากปี 2560 (ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท) หลังจากที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ออกไปจากปี 2562 เป็นปี 2563 อย่างไรก็ตาม NPL formation สุทธิ
ในครึ่งแรกของปี 2561 ดีขึ้นจากปี 2560 KTB คาดการตั้งสำรองฯ ในครึ่งหลังของปี 2561 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก (ที่ 1.37 หมื่นล้านบาท) หากเป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร จะมีอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ของเรา เนื่องจากเราคาดสำรองหนี้สูญฯ ปี 2561 ของธนาคารที่ 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าธนาคาร 13%

แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมดีกว่าคาด

ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ที่ไม่ได้มาจากค่าธรรมเนียมสุทธิที่เติบโต 5-7% ในปี 2561 หลังจากที่ขยายตัว 3.4% YoY มาอยู่ที่ 1.74 หมื่นล้านบาทในครึ่งปีแรก หนุนโดย trade finance การบริหารสินทรัพย์ รายได้ธุรกิจประกัน และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ (KTB ยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลในไตรมาส 2/61) ธนาคารกล่าวว่าการเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเติบโตของรายได้ที่ไม่ได้มาจากค่าธรรมเนียมไม่มาก เนื่องจากธนาคารมีลูกค้าที่ทำ ธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออินเตอร์เน็ตไม่มาก อีกทั้งผู้บริหารกล่าวว่ามีความเสี่ยงที่ลูกค้าที่ใช้ ATM (คิดเป็น 44% ของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิในครึ่งแรกของปี 2561) จะหันไปทำธุรกรรมออนไลน์เพื่อเลี่ยงการโดนเก็บค่าธรรมเนียมไม่มาก เนื่องจากลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่าน ATM ส่วนมากอยู่ในต่างจังหวัด ซึ่งไม่คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมออนไลน์

อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่ารายได้ที่ไม่ได้มาจากค่าธรรมเนียมปี 2561 ลดลง 6% หากผู้บริหารคาดถูกต้องว่าลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่าน ATM ในต่างจังหวัดจะหันไปทำธุรกรรมออนไลน์ไม่มาก จะมีอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรปี 2561 ของเรา