KTB - ซื้อ

KTB - ซื้อ

กำไรพุ่ง จากสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลง

กำไรไตรมาส2/61 สูงกว่าที่เราคาด 64% จากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลง

KTB รายงานกำไรไตรมาส2/61อยู่ที่ 7.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 139% YoY และ 14% QoQ ซึ่งสูงกว่าที่เราคาด 64% และสูงกว่าที่ตลาดคาด 28% เนื่องจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลงมากกว่าคาด ธนาคารตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯไตรมาส2/61 อยู่ที่ 6.8 พันล้านบาท โดยเราคาดอยู่ที่ 9 พันล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานที่ไม่รวมสำรองหนี้เสียอยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท ลดลง 6% YoY แต่เพิ่มขึ้น 7% QoQ กำไรในครึ่งแรกของปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 23% YoY มาอยู่ที่ 1.45 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 66% ของประมาณ
การปี 2561 ที่เราคาดอยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท

ประเด็นหลักผลประกอบการ

ในปลายเดือนมิ.ย. 2561 สินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.6% QoQ แต่เพิ่มขึ้นเพียง 1.1% YTD (ต่ำกว่าสมมติฐานปี 2561ที่ 4.0% YoY) หากแบ่งตามประเภท สินเชื่อธุรกิจบริษัทเพิ่มขึ้น 2.5% QoQ สินเชื่อรายย่อยอยู่ที่ 2.4% QoQ และสินเชื่อรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 1.3% QoQ ในขณะที่สินเชื่อ SME ปรับตัวลดลง 1.6% QoQ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง 37bps YoY (แต่เพิ่มขึ้น 6 bps QoQ) มาอยู่ที่ 2.90% เนื่องจากธนาคารมุ่งเน้นไปที่สินเชื่อที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำในไตรมาสนี้

KTB ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ 6.8 พันล้านบาทสำหรับไตรมาส2/61 ลดลง 51% YoY และ 2% QoQ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.52% ในปลายเดือนมิ.ย. 2561 จาก 4.33% ในช่วงสามเดือนก่อนหน้านี้ อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 124% เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 120% ในปลายเดือนมี.ค. รายได้ค่าธรรมเนียมปรับตัวเพิ่มขึ้น 9% YoY มาอยู่ที่ 7 พันล้านบาท หนุนโดยสินเชื่อที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม, ธุรกิจประกันภัยและค่าคอมมิชชั่นจากการขายกองทุนรวม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 1.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY แต่ลดลง 9% QoQ อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับอยู่ที่ 44.3% สำหรับไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นจาก 41.7% ในไตรมาส2/60

แนวโน้ม

เราคาดกำไรไตรมาส3/61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูง YoY เนื่องจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ลดลง นอกจากนี้ข้อกำหนดการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ถูกเลื่อนออกไปเป็นปี 2563

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ ที่ลดลงอย่างมากของ KTB ส่งผลให้เราปรับลดสมมติฐานการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯปี 2561 จาก 3.95 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท ดังนั้นเราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น 18.7%จาก 2.19 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท

คำแนะนำ

การเลื่อนกำหนดการของ IFRS9 จากเดือนม.ค. 2562 เป็น ม.ค. 2563 จะหนุนให้ KTB ชะลอการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ ดังนั้นเราคาดว่ากำไรสุทธิจะฟื้นตัวอยุ่งมากในช่วงครึ่งหลังปี 2561และปี 2562 ซึ่งได้แรงหนุนจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯ (นอกจากนี้เราคาดว่าสินเชื่อรัฐวิสาหกิจจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้น) ราคาหุ้นยังคงไม่แพงนัก ด้วยค่า PBV ปี 2561 ที่ 0.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 1.15 เท่า  ดังนั้น เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำของ KTB จาก ขาย เป็น ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 ที่ 21.80 บาท อ้างอิงจากค่า PBV ณ สิ้นปี 2561 ที่ 1.0 เท่า