ผบ.ทอ.กระตุ้นใช้ 'โดรน-ยูเอวี' ถูกต้อง ลั่นพบบินพื้นที่ควบคุม สอยร่วง

ผบ.ทอ.กระตุ้นใช้ 'โดรน-ยูเอวี' ถูกต้อง ลั่นพบบินพื้นที่ควบคุม สอยร่วง

"พล.อ.อ.จอม" กระตุ้นภาคประชาชน ใช้ "โดรน-ยูเอวี" ถูกต้อง ชี้เป็นภัยคุกคาม สร้างความเสียหายมหาศาล เทียบโดรนบินใกล้ mi17 ถ้ำหลวง หากชน ตายยกลำ ลั่นพบบินพื้นที่ควบคุม สอยร่วง 

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่หอประชุมกองทัพอากาศ พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.)เป็นประธานเปิดงานเสวนา “โดรนและยูเอวีในห้วงอากาศ ความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยด้านการบิน” เพื่อสร้างการตระหนักรู้แก่ประชาชนในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รัศมี 9 กิโลเมตรรอบสนามบิน และพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความมั่นคง ตลอดจนสร้างเครือข่ายสอดส่องผู้กระทำความผิด รวมทั้งหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้เล่นโดรนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายและความมั่นคง นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการจัดแสดงเกี่ยวกับโดรนและยูเอวีของหน่วยงานและบริษัทต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตอบข้อซักถาม

ทั้งนี้ พล.อ.อ.จอม กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “บทบาทกองทัพอากาศในกรณีโดรนและยูเอวีกับความมั่นคงและความปลอดภัยด้ายการบิน” ตอนหนึ่งว่า การปรากฏตัวของโดนเมื่อ10 ปีที่ผ่านมาไหลสู่ภาคประชาชนจนสร้างความสับสนและตื่นตระหนกให้กับภาครัฐทุกชาติมั่วโลก ในการกำกับดูแล แต่ในส่วนของทหารมีการใช้โดนมานาน โดรนหมายถึง เทคโนโลยีแและการควบคุมระยะไกล เราใช้โดรนสร้างขีปนาวุธต่อสู้ข้าศึกถล่มให้ย่อยยับ รวมถึงใช้ในกิจการอื่นๆมากมาย

พล.อ.อ.จอม ย้ำว่า ในห้วง 10- 20 ปีที่ผ่านมา โดรนไหลเข้าสู่ภาคประชาชนทำให้เกิดความสับสนในการกำกับดูแลมากมาย แม้ว่า โดรน จะเป็นเครื่องมือทางทหารเศรษฐกิจสังคมแล้วแต่ยังคุกคามทางสิทธิเสรีภาพ และโดรนยังเป็นอากาศยานตามตามคำนิยามของพระราชบัญญัติ หมายความว่าจะต้องทำตามกฎหมาย ให้เกิดประโยชน์ ในขณะที่กฎหมายยังไล่ไม่ทันถึงความก้าวหน้าของโดน

พล.อ.อ.จอม.ยังระบุอีกว่า ในทางกฎหมายการกำกับดูแลห้วงอากาศของการบินพลเรือน เป็นหน้าที่ของ Cat หรือ กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีประกาศของ Cat มากมายในการกำกับดูแล

โดรน ในขณะที่กองทัพอากาศมีบทบาท เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ว่าด้วย พรบ.การเดินทางอากาศ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมาย ของอากาศยาน ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานตามประกาศของ Cat  หรือกระทรวงคมนาคม ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นเจ้าพนักงานและร้องขอให้กองทัพอากาศเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน

พล.อ.อ.จอม กล่าวต่อว่า หากเรามีโดนที่เป็นอากาศยานจะต้องจดทะเบียน แต่ในขณะเดียวกันโดรนที่เป็นเครื่องเล่นที่มีกล้องถ่ายรูปแต่ไม่มีอุปกรณ์พิเศษติดตั้ง เรียกว่า เครื่องเล่นซึ่งอาจไม่ต้องจดทะเบียน แต่ถ้าหากเป็นอากาศยานที่มีนักบินต้องขออนุญาตบินต้องมีการส่งแผนการบินเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของอากาศยาน การชนกันของอากาศยานสร้างความเสียหายใหญ่หลวง เช่น หากอากาศยานไร้นักบินชนกับเครื่องบินของสายการบินตก ประกันจะจ่ายเงินหรือไม่ หากจ่ายเงิน มูลค่าประมาณ 7 หมื่นล้านเศษ จะส่งผลให้บริษัทประกัน 3-4 บริษัทล้มทันที เศรษฐกิจชาติพังพินาศแน่นอน ดังนั้นจึงต้องไปพิจารณากันว่าเราจะกำกับดูแลการบินของโดรนให้ถูกต้องตามกฎหมายและสมประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม อย่างไร พร้อมทั้งไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ 

พล.อ.อ.จอม ยืนยันว่า โดรนเป็นภัยคุกคามทางทหาร บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่ากองทัพอากาศ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย ขณะที่ทางทหารใช้เป็นยุทโธปกรณ์ คุกคามข้าศึก แต่ก็ยังมีระบบพัฒนาต่อต้านโดรนตามมา ยิ่งโดรนมีความก้าวหน้าและคุกคามเรามากเท่าไร ระบบป้องกันโดรนก็จะก้าวหน้าตามไปเช่นกัน ปัจจุบันในโลกเรามีระบบป้องกันโดรนมากมาย

พล.อ.อ.จอม กล่าวว่า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเรื่อง ยูเอวี ที่ถูกใช้ในทางที่ผิดเช่น การจารกรรม การก่อการร้ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล กับประเด็นที่ว่าเมื่ออากาศยานที่เป็นโดรนเกิดความเสียหาย ตกลงพื้นดินส่งผลกระทบทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น โดรนของกองทัพอากาศเคยเกิดอุบัติเหตุชนเด็ก จ. สุราษฎร์ธานีจนเกือบตาบอด จึงต้องถูกกำกับดูแลจากภาครัฐให้ถูกต้องเหมาะสม

พล.อ.อ.จอม ยังยกตัวอย่าง กรณี ภารกิจการติดตามช่วยเหลือทีมฟุตบอลเด็กพร้อมโค้ช รวม  ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ว่า  ยูเอวี ที่สื่อนำไปถ่ายภาพ มีศักยภาพสูงมาก และเคยได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นถ่ายภาพทางอากาศในงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่การขออนุญาตบินอาจไม่ถูกต้อง และการบินเข้าไปใกล้อากาศยาน เป็นการกระทำความผิด ซึ่งอาจจะเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

"ส่วนกรณี โดรนบินเข้าไปใกล้ เครื่อง mi 17 หากโดนรหมุนไปตีด้านท้ายเครื่องของmi 17 เชื่อหรือไม่ว่า ตายทั้งหมด เคยมีกรณีที่ โดรนชนท้ายหาง เฮลิคอปเตอร์พยาบาล นำเครื่องลงฉุกเฉิน เกือบเสียชีวิตทั้งลำ กรณีการนำโดรนเข้าใกล้เครื่อง mi 17 ก็เช่นเดียวกัน" พล.อ.อ.จอม

พล.อ.อ.จอม กล่าวต่อว่า ในช่วงพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีโดรนไม่ปรากฎสัญชาติบินขึ้นมากมาย เราได้เข้าจับกุม และส่งดำเนินคดี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและในอนาคตข้างหน้าเราก็จะมีงานพระราชพิธีสำคัญซึ่งการดูแลกำกับการใช้โดนทางกองทัพอากาศก็จะยึดถือแบบเดิม

" ต่อไปในอนาคต ผู้บินโดรนจะต้องมีใบขับขี่ เหมือนกับการขี่เจ็ตสกี เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เนื่องจากกฎหมายไม่รองรับ ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ การเดินทางอากาศอีกหลายประเด็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้บินโดรน ต้องผ่านการอบรมให้เข้าใจ และเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากกฎหมายสมบูรณ์แล้ว และมีผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษโดยสารอาจจะไม่ปราณีเหมือนที่ผ่านมา" พล.อ.อ.จอม กล่าวและว่า

ในทางทหารถือว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงเราถึงได้ มีการเตรียมการสอยโดรนให้ร่วงจากท่องฟ้า ไม่ทำใครบาดเจ็บ แต่หากเป็นโดรนขนาดใหญ่ที่เหมือนกับทางทหารใช้ ก็จะยิงทิ้ง ด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน โดนถือเป็นเรื่องใหม่ การกำกับดูแลของภาครัฐถือเป็นเรื่องยากมากเนื่องจากโดนไหลสู่ประชาชนอย่างแพร่หลายและมีราคาไม่แพง และคุกคามในหลายๆเรื่องโดยที่ไม่ตั้งใจ จึงต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้สังคมตื่นตัวในการใช้โดรนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นภาระต่อสังคม