คุมเข้มวายร้าย 'ไขมันทรานส์' ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า

คุมเข้มวายร้าย 'ไขมันทรานส์' ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า

คุมเข้มวายร้าย "ไขมันทรานส์" ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า : กระทบอุตสาหกรรมอาหาร?

ทางวิทยาศาสตร์เป็นที่รู้กันในวงกว้างและสากลว่า “ไขมันทรานส์” หรือที่เรียกกันว่า “ทรานส์แฟต” ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ และมีความพยายามเรียกร้องมาตลอดให้รัฐควบคุมจนถึงออกคำสั่งให้เลิกใช้ “ไขมันทรานส์” ในอาหาร

และที่สุด เมื่อวันที้่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขก็ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุจ เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

โดยระบุ ด้วยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acid) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน “Partially Hydrogenated Oils” ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

แปลความง่ายๆว่า จากนี้ไปอีก 180 วัน ห้ามผลิค นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มี “ไขมันทรานส์” เป็นส่วนประกอบ คำถามสำหรับคนทั่วไปคือ อะไรคือ ไขมันทรานส์" และอันตรายอย่างไรถึงขนาดต้องห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

ตามปกตินั้น ไขมันจะมีสองประเภท ไขมันอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว ซึ่งไขมันอิ่มตัวนั้นมีคุณสมบัติหนึ่งคือสามารถจับตัวให้แข็งเป็นรูปทรงได้ ซึ่งพบได้มาในไขมันสัตว์และอาหารจำพวกนม ขณะที่ไขมันไม่อิ่มตัวนั้นจะมีคุณสมบัติตรงข้ามคือจะไม่สามารถจับตัวได้ นอกจากนี้บางชนิดยังทนความร้อนที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งนำมาทำอหารและขนมลำบาก แต่ข้อดีคือมีราคาถูก

ดังนัั้นจึงต้องนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการเติม “ไฮโดรเจน” เข้าไป ซึ่งจะทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวนั้นมี คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือสามารถแข็งตัวได้ เหม็นหืนช้าลง ทนความร้อนได้สูง มีคุณสมบัติและรสชาติใกล้เคึยงกับไขมันอิ่มตัวตจากสัตว์

ฟังดูแล้วเป็นเรื่องดี ถ้า......

ไขมันทรานส์ไม่ทำให้ให้คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับ LDL สูงขึ้นในเลือด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเหล่านี้คล้ายไขมันอิ่มตัวที่มาจากสัตว์ แต่เจ้าไขมันทรานส์ร้ายกาจกว่านั้น เพราะนอกจากจะเพิ่มไขมันตัวไม่ดีแล้ว แต่มันยังลดระดับ HDL หรือที่เราเรียกกันว่าไขมันดี ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเสนอว่าไขมันทรานส์อาจจะนำมาซึ่งอีกหลายๆโรค ไม่ว่าจะเป็น จอประสาทตาเสื่อม โรคนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งอาจทำให้ผู้หญิงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นด้วย

แล้วอาหารอะไรที่มี “ไขมันทรานส์” อยู่บ้างเอาเป็นว่าขนมที่เราพบเห็นตามท้องตลาดทุกวันนี้ทุกชนิดแทบจะมีเจ้านี่เป็นตัวประกอบ แต่ที่ดูจะตกเป็นจำเลยคือเบเกอรีทั้งหลายที่ต้องใช้ของเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็น “ช็อตเทนนิง” ที่เราเรียกกันว่า “เนยขาว” หรือ “มาการีน” ที่เราเรียกว่าเนยเทียม

นักโภชนาการให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเบเกอรี จะสังเกตุได้ว่าเบเกอรี่ราคาถูกจะใช้เนยเทียมเพราะราคาถูก นอกจากนี้การคงรูปและทนความร้อนสูงจะทำให้เก็บได้นาน แม้วางจำหน่ายในตลาดที่มีอุณหภูมิสูงก็จะไม่เสียรูปไป

และบางครั้งก็นำมาทอดอาหารต่างๆเพราะมีราคาที่ถูกและทนความร้อนได้ดี ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอด โดนัท หรือเฟรนช์ฟราย

นอกจากนี้แล้ว ขนมขบเคี้ยว ขนมปังกรอบที่ขายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ็มีเจ้าพวกนี้ทั้งสิ้น

และที่สำคัญคือ “ครีมเทียม” ก็เป็นอีกหนึ่งประภทที่มี “ไขมันทรานส์” เพราะนำไขมันพืชมาทำให้เปลี่ยนสภาวะเป็นของแข็ง แม้ว่าขณะนี้ผู้ผลิตบางยี่ห้อมีวิธีทำที่ลดไขมันทรานส์ลง แต่ก็ยังมีอยู่บ้าง และที่สำคัญคือกาแฟประเภท 3 in 1 ซึ่งได้รับความนิยมสูงเพราะสะดวกเป็นสิ่งที่ไม่สามรรถบอกได้ใช้ครีมเทียมประเภทไหนมีคุณภาพหรือไม่

รวมไปถึงนมข้นหวาน ที่หากไปดูตามท้องตลาดแล้วจะพบ เปลี่ยนแปลงจาก “นมข้นหวาน” ที่มีมาแต่อดีต ไปเป็นครีมเทียมข้นหวาน

ซึ่งการประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่าย นี้อาจจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารเปลี่ยนไป หลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนสูตร และอีกหลายเจ้าอาจต้องเพิ่มราคาขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ทำให้อาหารมีไขมันทรานส์น้อยที่สุด แต่ต้องทำให้ถึงขั้น “ปราศจาก” เลยทีเดียว

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑาศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ ว่า คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ 180 วัน จะทำให้ผู้ประกอบการผู้ผลิต นำเข้าไม่ส่ามารถนำทรานส์แฟตมาใช้ได้และต้องมีการควบคุม

โดยมาตรการและคำสั่งนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะตั้งแต่ 2558 เป็นต้นมาต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาก็มีการให้ระบุว่าผลิตภัณฑ์อาหารว่ามีทรานส์แฟตเท่าไหร่ ซึ่งจากนี้ไปคำสั่งนี้จะทำให้ผู้บริโภคสบายใจได้ เพราะหากแค่กำหนดให้แสดงว่ามีหรือไม่ก็อาจมีวิธีเลี่ยงได้

จากนี้ไปผลิดภัณฑ์ที่เราจะไม่เห็นอีกในตลาดคือเนยเทียมในขนมทั้งหลายแหล่ ทั้งพวกโดนัท และเบเกอรี่ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ผู้ผลิตก็ได้เริ่มปรับตัวให้ไม่มีทรานส์แฟตแล้ว

ต่อข้อสงสัยว่าราคาจะสูงขึ้นหรือไม่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุว่า “ไม่น่าจะสูงขึ้น ในผู้ผลิตเขาก็มีความต้องการไม่ให้มีทรานส์แฟตอยู่แล้ว ผมไม่คิดว่าจะเพิ่มราคา”

อยากเรียนให้ทราบว่า ขนมที่ติดอันดับ เช่นพายกรอบ คุกกี้เนย ทอฟฟัเค้ก บราวนี่ ขนมเนยสุด พายทูน่า แยมโรล พวกนี้เป็นพวกที่เราไม่ส่งเสริมให้รับประทานอยู่แล้ว เพราะในโภชนาการ 2018 เราพยายามให้ลดปริมาณอาหาร และพลังงาน ให้มีแป้งและคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง

เขาระบุด้วยว่า ในส่วนของการนำเข้า คงจะคุมง่าย โดยในไทยก็มีสำนักงานอาหารและยาที่ปัจจุบันกำลังมีการปฏิีูปให้เข้ารูปเข้ารอย

ทั้งนี้การผลิต “ทรานส์แฟต” หรือการเติมไฮโดรเจนในไขมันไม่อิ้่มตัว ศ.นพ.ธีระวัฒน์เปิดเผยว่า เท่าที่ทราบมีผู้ผลิต สามารถทำได้ในประเทศไทย แต่ในส่วนของผู้ค้ารายย่อย เขาก็ต้องสั่งจากรายใหญ่ เขาคงไม่เสียเวลาไปผลิตเอง และเท่าที่ทราบ เขาได้ปรับตัวมาระยะหนึ่ง เท่าที่ทราบจากสองสามเจ้าก็ยืนยันว่าขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนแล้ว

“คำสั่งนี้มีผลมหาศาล หากเราปรับเปลี่ยน อย่าไปนึกถึงผลได้ผลเสียธุรกิจ จะได้ไม่ต้องนั่งเสียสตางค์ค่ารักษาพยาบาล” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว

ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้จริงหลังจากที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ในอีก180วัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ควรเริ่มเข้าควบคุมการนำเข้าวัตถุดิบที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการสต๊อกสินค้าเพื่อจำหน่าย และควรเริ่มดำเนินการโดยทันที สำหรับเวลาการปฏิบัติเพื่อให้อาหารปลอดไขมันทรานส์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ภายใน6 เดือนหลังจากนี้ เชื่อว่าจะเพียงพอที่ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้

“6เดือนจากนี้เป็นไปได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องควบคุมปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นข้อห้าม เพื่อไม่ให้เกิดการกักตุน และเมื่อทำได้เชื่อว่าการการผลิตอาหาร ขนมปัง ที่ใช้ไขมันทรานส์เป็นหลักจะลดลงด้วย เพราะหาซื้อวัตถุดิบได้ยาก และจะเริ่มปรับเปลี่ยนการประกอบอาหารให้ใช้วัตถุดิบที่เป็นเป็นอันตรายกับสุขภาพของผู้บริโภค” น.ส.สารี กล่าว

น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นต้องตรวจสอบโรงงานหรือผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับ อาหารที่ส่งออกนอกประเทศที่ปราศจากไขมันทรานส์ แบบ100 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศที่ห้ามนำเข้า แต่ในประเทศไทยยังจำหน่ายอาหารที่มีวัตถุดิบของไขมันทรานส์เป็นส่วนผสม

เมื่อถามว่ากรณีการห้ามใช้ ห้ามปรุงดังกล่าวอาจมีผลกระทบกับผู้บริโภคด้านราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น น.ส.สารี กล่าวว่า “เชื่อว่าหากผู้บริโภคจ่ายเงินเพิ่มขึ้น1 บาท เพื่อซื้ออาหารที่ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ เชื่อว่าเขาจะยอมจ่ายแน่นอน อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวตนเชื่อด้วยว่า การสนับสนุนและการส่งเสริมให้ประชาชนรับประทานอาหาร หรือขนมไทยจะมีเพิ่มมากขึ้นและถือเป็นโอกาสดีของขนมไทย เช่น ข้าวต้มมัด, ขนมกล้วย เป็นต้น”

ขณะที่นายแพทย์พูลลาภ ฉันทะวิจิตรวงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมกาารอาหารและยาเปิดเผยว่า หากประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ ก็จะเข้าไปดูแลผู้ผลิต เบื้องต้นไม่ให้มีการใช้ไขมันทรานส์ ดังนั้นการจะผลิตต้องบอกเราก่อนว่าใช้กระบวนการใดในการผลิต จากนั้นเราจึงไปสุ่มตรวจอาหารที่มีความเสี่ยง เพราะเราไม่มีกฎหมายบังคับว่าเขาต้องส่งตรวจ โดยการตรวจคงจะไม่แบ่งว่าเป็นรายใหญ่รายย่อย แต่จะดูจากความเสี่ยงเป็นหลัก ทั้งนี้ในอาหารก็ต้องมีการติดฉลากอยู่เช่นเดิม เพราะไขมันทรานส์มีทั้งไขมันทรานส์ธรรมชาติ และไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน