ผบ.ศอร. เผยออกซิเจนในถ้ำเหลือ15% บีบให้ตัดสินใจนำ13ชีวิตออก

ผบ.ศอร. เผยออกซิเจนในถ้ำเหลือ15% บีบให้ตัดสินใจนำ13ชีวิตออก

ผบ.ศอร. เผยออกซิเจนในถ้ำเหลือ 15% บีบให้ตัดสินใจนำ 13 ชีวิตออก เตรียมถอดเป็นบทเรียน ป้องกันเหตุซ้ำรอย

เมื่อเวลา 18.00 น.วันนี้ (11 ก.ค.) นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย หรือ(ศอร.) แถลงปิดศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ในวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ยืนยันว่าเราเปิดศูนย์ ฯกู้ภัย ช่วยเหลือน้องๆ 13 คนออกมาแล้ว ซึ่งมันเป็น Mission Possible ทำให้ไทยได้ชื่อเสียงระดับโลกไปแล้ว ในเหตุการณ์ในครั้งนี้ ถือว่าอยู่ในสายพระเนตร พระกรรณของในหลวง ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานสิ่งของต่างๆ ที่ทางเราไม่สามารถหาได้ ความสำเร็จในครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้เพราะความสามัคคี ไม่ใช่เพราะแค่คนไทย ในประเทศ แต่รวมไปถึงต่างประเทศด้วย ทลายภาษา ทลายเชื้อชาติเพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน สิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือ ความร่วมมือ ความร่วมมือที่ดีมากๆ ทั้งความร่วมมือในเทคโนโลยี ความรู้ อุปกรณ์ ที่เอามาแลกเปลี่ยนกัน ใช้ในภารกิจเดียวกัน ถึงแม้เราปิดภารกิจได้ ด้วยการสืบค้น กู้ภัย ช่วยน้องๆ มาได้ ยังคงเหลือเรื่องของการส่งกลับ ซึ่งน้องๆ ตอนนี้ยังอยู่ที่ รพ. และยังเหลือในส่วนของกรมอุทยานฯ ที่ยังต้องดูแล ฟื้นฟูสภาพธรรมชาติกันต่อไป อุปกรณ์ที่นำมาใช้ นั้นก็ยังต้องนำมาแจกแจง และนำส่งคืนให้กับหน่วยงานต่างๆ ต่อไป

และบทเรียนในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่บทเรียนในประเทศไทย แต่เป็นบทเรียนในโลกนี้ บทเรียนครั้งนี้มิใช่ภัยที่เกิดจากถ้ำธรรมดา แต่ครั้งแรกของโลก ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์กู้ภัยในถ้ำที่น้ำเต็มมาก่อนเลย เป็นความยากง่ายที่ผู้คนบอกว่าเป็นอะไรที่ยากมาก เป็นสิ่งที่หลายคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เราจะถอดนำมาเป็นบทเรียน บางส่วนนำมาใช้สอนเด็ก ให้รู้ถึงอันตราย บางส่วนนำมาใช้ให้เป็นบทเรียนสำหรับหน่วยงานที่จะต้องเรียนรู้ บางส่วนก็จะเป็นบทเรียนที่เราได้เรียนดู เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องที่อยู่รอบๆ

สำหรับผมแล้วในฐานะ ผบ. เหตุการณ์ ที่ต้องขออภัยจริงๆ เพราะบางครั้งต้องเข้มข้นในการควบคุมพื้นที่ ซึ่งบางครั้งจะรู้สึกว่า ทางเราปิดบังข่าวรึเปล่า บางคนรู้สึกว่ามันช้าไปรึเปล่า จึงอยากเรียนว่า ในภาวะวิกฤติที่อยู่ในภาวะเป็นตายของน้องๆ ทั้งหมด ซึ่งขอให้เข้าใจว่ามันเป็นความสำคัญและเกี่ยวกับความเป็นตายของน้องๆ ซึ่งยืนยันว่า ข่าวจากศอร. นั้นถือเป็น ข่าวที่จริง อาจจะช้าไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นบทเรียนของทุกฝ่าย ซึ่งเราจะได้ปรับปรุงพัฒนากันในทุกฝ่าย หลายครั้งที่อาจจะดูล่าช้าไปบ้าง เช่น รถพยาบาลออกไปแล้ว แต่ทำไมเรายังไม่บอก นั้นเพราะว่าเราต้องมั่นใจว่า น้องๆ นั้นถึง รพ.อย่างปลอดภัยแล้วซึ่งก็ต้องขอบคุณสื่อที่ให้ความร่วมมือ

บนสื่อออนไลน์บางที่มองว่าน้องๆ เป็นผู้ร้ายบ้าง มองว่าเค้าเป็นฮีโร่ บ้าง แต่เราถือว่าน้องๆ เค้าเป็นเด็กได้ประสบเหตุโดยสุดวิสัย ผมเชื่อว่า น้องๆ เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก เค้าอยู่บนพื้นที่กำลังใจของคน 60 ล้านคน ซึ่งเชือ่ว่า เขาจะเป็นคนดีแน่นอนเขาจะตอบแทนคืนสังคมในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน

ในอนาคตอันใกล้ อาจจะได้ฟังเสียงของน้องๆบ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณหมอ ส่วนของการปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้เชียวชาญมากมาย เฉพาะทีมดำน้ำ ก็จะเป็นต่างประเทศถึง 1 ใน 4 ของปฏิบัติการ ซึ่งเราจะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ หากเกิดเหตุอีกเราจะได้รู้ว่า ทรัพยากรที่มีคุณค่าของโลกเราอยู่ที่ไหน ในขณะเดียวกันอุวนอุทยานถ้ำหลวง จะเปิดที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งจะเป็นที่ท่องเที่ยวที่มี story สำหรับพท.ตรงนี้ ซึ่งรองอธิบดีกรมอุทยานฯ มีรายละเอียดไปไกลมาก ถึงการมีตัวตนของทุกๆ คนทุกๆ ทีม จุดนี้จะกลายเป็นจุดหนึ่งที่เป็นไฮไลท์ของประเทศไทย ผมฝากตรงนี้กับกรมอุทยานฯ ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้เด็กได้เรียนรู้ ให้นักดำน้ำทั้งโลกได้เรียนรู้ และมันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

เมื่อวานนี้เราพูดไปแล้ววีรบุรุษตัวจรงิของเราคือ "จ่าแซม" ซึ่งผมถือว่า ท่านเป็นพระเอกตัวจริง ในวันนั้น ทุกคนเศร้าหมด ซึ่งเราได้นำเหตุการณ์นั้นมาเป็นพลังของพวกเรา ทำให้เรามุ่งมั่นและเราได้รับความมุ่งมั่นจากจ่าแซมด้วย ทำให้เราทำสำเร็จ

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องน่าเสียใจคือ ท่านนายกฯ ได้รับแจ้งยืนยันว่า บิดาของนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส คุณหมอชาวออสเตรเลีย ที่สูญเสียบิดาในช่วงเวลาที่คุณหมอมาร่วมปฏิบัติการพาหมูป่ากลับบ้าน ร่วมกับเราที่ถ้ำนางนอนในครั้งนี้ในนามของศอร. ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของบิดา ของนายแพทย์แฮร์ริส

"ฮีโร่ตัวจริงอีกคนนึงของผมคือ หัวหน้าทีมซีล ฉลามจากสัตหีบ ที่มีช่วยเราบนเขาที่เชียงราย" ผบ.ศอร. กล่าว

ด้านพลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กล่าวว่า ฮีโร่นั้นคือหลายๆ คน งานสำเร็จได้เพราะหลายหน่วยร่วมกัน สำหรับหน่วยซีล เราได้ฝึกมาสำหรับภารกิจแบบนี้อยู่แล้ว สโลแกนของ ทร. คือ ทร.จะไม่ทิ้งประชาชน เมื่อได้รับแจ้งให้ซีลทีมมาช่วยผู้ประสบภัย กองทัพเรือก็สั่งโดยทันที ชุดแรก เครื่องบินออกจากสัตหีบ เที่ยงคืน ถึงเชียงรายตีสอง ระลอกแรก 20 ท่าน ตี4 ก็ปฏิบัติการเลย ตอนนี้แรกเราไปได้ถึง จุดสามแยก ซึ่งกู้ภัยชุดแรกไม่สามารถทะลุไปยังจุดดังกล่าวได้ เนื่องจากทรายได้ไหลมาอุดช่องดังกล่าว ในขณะนั้นเมื่อเราทะลุช่องไปแล้ว ก็ได้ดำไปจนถึงพัทยาบีช ซึ่งเจอแต่รอยเท้า ไม่เจอน้องๆ ซึ่งวันนั้นสภาพในถ้ำนั้น เราไม่เคยเจอ มืดมาก ฝนตกหนักมาก ทำให้ต้องถอยร่นจากสามแยก ถอยมาเรื่อยๆ จนถึงโถงสาม ในช่วงนั้นได้รับรายงานมาเรื่อยๆ แต่ผมไม่ทราบว่า มันยากขนาดไหน เลยขออนุญาตบินมาเชียงราย จากหกโมงเย็น ผมเข้าถึงโถงสาม ก็พยายามสูบน้ำ สุดท้ายเราก็สู้น้ำไม่ได้ ต้องถอยร่นออกมา ก็ได้เห็นความยากลำบาก จึงได้ขอกำลังพลมาเป็นระลอกที่ 2-3 ด้วยสภาพน้ำ แต่ก็ยังสู้น้ำไม่ได้ ถอยมาจนถึงปากถ้ำ ตอนนั้นความหวังเหลือนิดเดียว ทำให้ห่วงว่าจะช่วยได้อย่างไร น้องๆ จะอยู่อย่างไร ช่วงนั้นความหวังเราเหลือนิดเดียวซึ่งในขณะนั้นก็มีหน่วยอื่นมาช่วยสูบน้ำออก เราสู้กับน้ำมา 2 วันซึ่งน้ำมันลดไป 1-2 ซม เท่านั้น ซึ่งเราก็พยายามเข้าไปดู มุดน้ำเข้าไป ทำให้พบว่า โถง 3 ยังคงมี่ที่วางให้วางกองบก.ได้ แต่การเข้าไปไม่ง่าย ลุยน้ำ มุดน้ำเข้าไป

แต่เราจำเป็นต้องสู้ ไม่งั้นความหวังที่ช่วยก็ไม่มี สุดท้ายตัดสินใจว่า เราจะสู้กับน้ำ โดยเราต้องหาขวดอากาศมาเป็นจำนวนมาก ในช่วงแรกได้รับการบริจาคจากภาคเอกชน 200 ขวด ต้องขอบคุณด้วย ต่อมาได้รับพระราชทานมาอีก 200 ขวด พร้อมอุปกรณ์อื่นๆ อีก เราก็ตั้งใจว่า เราจะเป็นมนุษย์น้ำ วางขวดอากาศไปวางให้ได้ ใครดำไปก็เอาขวดอากาศไป 3 ขวด ขวดไหนหมด ก็เปลี่ยนกับขวดที่ติดไว้ก็โชคดีเรามีเพื่อนๆ นานาชาติมาช่วยเรามีนักดำน้ำจากต่างประเทศ ในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสุดท้ายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำจริงๆ ต่อจากนั้นเราก็มีแผนว่าจะทำยังไงจะหาน้องๆเจอ เราก็วางแผนทีละ 200 เมตร เป็นเทศนี้ 200 เมตร แบ่งๆกันช่วยกันต่อระยะเข้าไป แต่สุดท้ายก็โชคดี เมื่อเราต่อระยะของไลน์ไปเรื่อยๆ ทำให้นักดำน้ำไปเจอน้องๆ เค้าในถ้ำ และได้ถ่ายภาพดังที่เราได้เห็นไปแล้ว เราดีใจนะครับ น้องๆ อยู่ได้อย่างไร นักดำน้ำบอกว่าน้องๆ วิ่งลงมาหาเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องศึกษากันว่า น้องๆ ทำได้อย่างไร ซึ่งหลักจากที่เจอแล้ว เราได้ส่ง พันโทภาคย์ ที่เห็นซีลและเป็นหมอ เข้าไป ระลอกแรก เราส่งหมอภาคย์ และซีล เข้าไป 4 คนอยู่กับน้องๆ ต่อมาส่งไปอีก 3 คน หลังจากวันนั้น มันมีรายละเอียดเยอะ ขอไม่ลงแล้วกันไม่งั้นเป็นนิยายยาวเลย

สุดท้ายแล้วมี 4 คนอยู่กับน้องๆ เค้า ซึ่งก็ได้แถลงข่าวไปแล้วว่า น้องๆ อยู่ได้เป็นเดือน แค่ส่งน้ำ อาหารเข้าไป เพื่อรอการหาทางเข้าไปในทางอื่น แต่สุดท้ายมาเจอข้อจำกัด เนื่องจากอากาศน้อย ปริมาณออกซิเจนน้อยลง วันแรกที่ตรวจเจอว่า ออกซิเจนมันแค่ 15% ก็คิดล่ะเราก็กังวล ทีมงานก็พยายามเอาไปเติม อีกอย่างคือปริมาณน้ำฝน ตอนนี้เป็นหน้าฝนเราสู้กับธรรมชาติยากมาก จะทำอย่างไรถ้าน้ำเต็มร้อย% อากาศจะเป็นยังไง ถ้ำจะเจาะได้หรือไม่ เพราะมันหนา 500ม. ไม่นับที่เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ซึ่งทีมดำน้ำก็มาคุยกัน ก็ได้นักดำน้ำมือดีๆ ระดับโลก มาคุยกัน ซึ่งผบ.ก็ปลื้มใจมากที่ได้พูดคุยกับคนเก่งๆ ซึ่งก็ได้แผนอย่างที่เห็น และได้รับการอนุมัติจากท่านผบ.เหตุการณ์

สุดท้ายเราก็นำน้องๆออกมาครบ ทั้ง 13 ชีวิต รวมทั้ง หน่วยซีลทั้ง 4 ชีวิตตามที่ได้เห็นกัน ภารกิจในครั้งนี้ถือว่ายากมากจริงๆ ทำให้เราต้องพัฒนาบุคคลากรของเราให้เก่งขึ้นไปอีก ให้รับกับภัยพิบัติในหลายๆรูปแบบซึ่งเราเจอกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่กี่วันก็ที่ใต้ ดังนั้น ทร. เราก็จะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เพราะ กองทัพเรือเราไม่ทิ้งประชาชน

ขณะที่ ผบ.ศอร.กล่าวต่อว่า ในออกซิเจนนั้น ถ้าเหลือ 12% น้องๆจะเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บีบให้เราทำงานเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ วันนั้น ออกซิเจนเหลือ 15% ถ้ามันเหลือ 12% จะซีเรียสมาก และฤดูฝนของภาคเหนือกำลังมาก ฤดูฝนของภาคเหนือ ไม่ได้แบบภาคกลาง มันจะมาแบบน้ำตกเลย ดังนั้นพท.ที่นอ้งๆ ยืนอยู่ในถ้ำ จะเหลือน้อยมากๆ

การปฏิบัติการครั้งนี้คนที่อยู่เบื้องหลังยังมีอีกมากๆ แต่คนที่สำคัญมากๆ คือทีมสูบน้ำ น้องๆ หลายท่านถามว่า สูบน้ำเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับปฏิบัติการ ซึ่งซีลทีม กับทีมดำน้ำ ขอแค่พื้นที่ให้ขึ้นมาหายใจได้ซึ่งน้ำมันลดลงทีละ เซนติเมตร ทำให้ทีมดำน้ำรอไม่ไหวล่ะ จึงวางแผนวางขวดอากาศกนันล่ะ ทำให้เราดำน้ำได้โดยขาไม่ต้องแตะพื้น วันที่ระดับน้ำดีๆ ก็คือวันที่เราประกาศ ดีเดย์ นั่นเอง ที่มันแห้งพอให้เราปฏิบัติการได้ ทีมสูบน้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในวันที่สูบน้ำพร่องออกไปได้เยอะ ซึ่งปริมาณน้ำที่เราพร่องออกไปได้นั้นคือเกือบๆ หนึ่งล้าน ลบ.ม. น้ำที่อยู่ในถ้ำ เกือบ 5 แสนลบ.ม. ซึ่งน้ำเติมมาวันละ 2-3 หมื่น ลบ.ม. ซึ่งเมื่อวานนี้ (10 ก.ค.) ก็มีน้ำเติมเข้ามาเยอะ หากเรายังรออยู่เราก็ยังปฏิบัติการได้ยากมาก อีกทีมหนึ่ง คือทีมที่อยู่บนเขา ที่ค้นหาปล่อง-หลุม ซึ่งในการเจาะนั้นไม่ง่าย อย่างในชิลีเรารู้พิกัดชัดเจน ยังเจาะอยุ่ 2 เดือน ซึ่งเรารอไม่ได้ ซึ่งต้องยกความดีให้กับทีมลาดตระเวนด้วย สำหรับทีมอีกทีมหนึ่งที่สำคัญคือ ทีมหมอ ที่มาจากที่ต่างๆ เพื่อช่วยเราในภารกิจนี้

ด้านนพ.ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำหรับในภารกิจที่ได้รับนั้น ยืนยันได้ว่า มาตรฐานที่ใช้นั้นเป็นไปตามทฤษฏีอย่างชัดเจน ซึ่งในระหว่างทำงานนั้น ผู้ป่ายทั่วไปยังไม่ได้รับผลกระทบในการดำนเนินงานนี้ ผู้ป่วยชุดแรก 4 คน กลุ่มที่ 2 อีก 4 คน กลุ่มที่ 3 อีก 5คน รวมกับซีลอีก 4 คนนั้น บาดเจ็บเล็กน้อย ผลเลือดก็ยังต้องรออยู่ เบื้องต้นต้องอยู่ในรพ. 7-10 วัน และขอประเมินเป็นระยะๆ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลต่อเนื่องอีก 30 วัน

pBQPUWyg

เราได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของน้องๆให้เปิดเผยได้ คลิปสำหรับ 5 คนเมื่อคืนนี้ ก็มีสุขภาพดี ฟื้นเร็วกว่า 2 กลุ่มแรก ทุกคนยกไม้ยกมือโบกให้ดูได้ แต่ทุกท่านต้องอยู่ในการควบคุมโรคตามมาตรฐานก่อน ต่อจากเรื่องร่างกายเป็นเรื่องของจิตใจซึ่งทางญาติก็ได้เข้าเยี่ยมแล้ว แต่ยังเป็นการเยี่ยมผ่านกระจก ซึ่งคลิปนี้เพิ่งถ่ายมาเมื่อบ่ายนี้ (11 ก.ค.)

_ERT8341

ด้านนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า สำหรับกรมอุทยานฯ เป็นทีมตั้งแต่วันแรก ที่เป็นชุดเล็กๆ ที่สนับสนุนทีมอื่นๆ ให้ดำเนินการไปได้ ในภารกิจแรกคือการสำรวจโพรง ปล่องถ้ำ ซึ่งประกอบไปด้วยทีมจำนวนเป็นร้อยคน รวมมาจากหลายๆ หน่วยงานทั้ง ตร. ตชด. ทีมรังนก กู้ภัย ซึ่งภารกิจคือเพื่อค้นหาปล่องโพรง และสองคือ ค้นหาเบี่ยงทางน้ำ ต้องขอบคุณท่านอธิบดีกรมชลฯ ด้วย ที่ทำให้เราต้องการข้อมูลในการดำเนินการ ซึ่งหากเราสังเกตด้วยตาเราจะไม่รู้เลยว่า น้ำหายไปตรงไหน เราได้ทีมนักธรณีวิทยา เอาเครื่องมือมาสำรวจ และพิสูจน์ด้วยหลักวิชาการว่า น้ำมันหายเข้าไป จุดที่พบคือตรงห้วยน้ำดั้น ซึ่งน้ำหลุดเข้าไปตรงจุดนั้นราวๆ 1 หมื่นลบ.ม. ซึ่งแม้ว่าไม่ได้หลุดไปเป็นสายแบบลำห้วย แต่มันก็ไปบรรจบกันในถ้ำ หลังจากที่ได้สรุปแล้ว จึงได้รวมทีมงานกรมอุทยานฯ จนท.ฝ่ายต่างๆ และชาวบ้าน ซึ่งทั้งหมดได้ลงไปทำงานขนท่อกันขึ้นไป ถือว่าเป็นการบูรณาการจริงๆ ท่อได้รับการสนับสนุนจากเชฟร่อน ซึ่งท่อมาถึง ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันแบกขึ้นไป ช่วยกันทำฝาย แล้วสอดท่อเข้าไป ซึ่งท่อยาว 2.8 กม. ซึ่งปริมาณน้ำ ที่ดำเนินการไปนั้น ก็ยังไม่เพียงพอเมื่อตรวจสอบก็บพว่า มันยังมีน้ำหลุดเข้าไปอยู่ แต่ก็ใช้วิธีเดิม คือ ทำฝายเข้าไปอีก เพื่อเบี่ยงเบนทางน้ำให้ไหลออกไปให้หมด ทีมเบื้อหลังมีเป็นร้อย พูดยังไงก็ไม่หมดแต่เราหลอมรวมเป็นหนึ่งใจเป้าหมายเราคือน้อง 13 คน ตรงหน้าถ้ำ ได้ทีมจากกรมทรัพยากรณน้ำบาดาล ดึงน้ำจากหน้าถ้ำได้อีก ชม. ละ 200 กว่า ลบ.ม. ทางผบ. มทบ. 31 ก็ดึงน้ำออกด้านล่างได้อีก ซึ่งจากการคำนวนคร่าวๆ จะมีน้ำเข้าไปในถ้ำได้อยู่ แต่เราก็มั่นใจว่า ยังควบคุมได้

เรื่องการฟื้นฟูอุทยานฯ ท่านรมต.กระทรวงทรัพฯ ได้มาคุยกันตั้งแต่วันแรกๆ ในเรื่องของแผนฟื้นฟู เพราะเชื่อว่าหลังๆจากน้องๆ ออกมาแล้วก็ต้องทำซึ่งในการทำฝาย เบี่ยงทางน้ำ ขนท่อต่างๆ ได้มีการเก็บข้อมูลไว้หมด ซึ่งเมื่อจบแล้วจะไป จุดใดที่น้ำไหลเคยเป็นอย่างไร ก็ต้องทำให้มันคืนสภาพเป็นอย่างนั้น

แผนการฟื้นฟูที่จะทำออกมานั้น ก็เป็นแผนระดับกระทรวง เพราะต้องมีการทำงานหลายกรม หลายกระทรวงมากๆ เป็นการบูรณาการระดับชาติ แต่คร่าวๆคือ มีแผนความปลอดภัย แผนฟืนฟูทั้งหน้าถ้ำ บนถ้ำ ในถ้ำ แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอก ซึ่งเชื่อว่ามันจะเป็นจุดท่องเที่ยวแน่นอนตามที่นายกฯ ได้บอกเอาไว้ ก็จะต้องมีแผนรองรับไว้ ซึ่งแผนฟื้นฟูเริ่มแล้ว ตอนนี้ปิดถ้ำแล้ว ไม่มีการเข้าออกแล้ว ของที่อยู่ข้างในถ้ำ ก็ปล่อยไว้ก่อน เมื่อสถานการณ์น้ำดีขึ้นแล้ว ก็คงเข้าสู่แผนฟื้นฟู ทุกหน่วยงานที่ช่วยกันทุกๆ ส่วนทั้งส่วนที่ปิดทองหลังพระ ปิดทองหน้าพระก็ตาม ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ช่วยให้น้องๆ เค้าออกมาได้ ผมถือว่าทุกคนสำคัญทั้งหมด

ทางด้าน รองอธิบดี ป.ภ. กล่าวว่า ทางป.ภ. ได้ประสานกับทางท่านผู้ว่าฯ ประกาศพท.ภัยพิบัติ เพื่อเรื่องที่ต้องหลายๆอย่าง การประกาศเป็นพท.ภัยพิบัตินั้น ทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นในหลายๆ ส่วนเพราะภารกิจนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เครื่องไม้จำนวนมาก เลยจำเป็นต้องเปิดเป็นพท.ภัยพิบัติ ซึ่งทางก.คลังก็ได้ให้เราเบิกงบพิเศษเพราะจำเป็นต้องใช้ในหลายๆส่วน

ขณะที่ นายสุขชัย เจรียงประเสริฐ เกษตรจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนกู้ภัยในนาไว้แล้ว ซึ่งก็จากการสำรวจพื้นที่นั้น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้แล้ว ภายใน 2-3 วันก็สูบน้ำกู้นาขึ้นมาได้ เรามีคณะลงไปสำรวจรวมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ได้มีการเตรียมมาตรการเยียวยาไว้แล้วตามระเบียบก.คลัง ผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด 126 ราย 1,126 ไร่ ซึ่งก็จะมีการเสนอต่อไปตามขั้นตอน โดยคาดว่าจ่ายเงินช่วยเหลือภายในปลายเดือนนี้ โดยใช้งบฉุกเฉิน

ด้านพล.ต.ต.ชูรัตน์ ปานเหง้า รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นั้นได้รวมปฏิบัติในสามส่วน กำลังพลใช้กำลังพลทั้งหมด 922 นาย ใช้ฮ.10 ลำ รถพยาบาล 7คัน รถยนต์อีก 100 กว่าคัน ไม่นับอุปกรณ์อื่นๆ ภารกิจแรกคือ การรักษาความปลอดภัย ภารกิจด้านการจราจร ซึ่งจากถนนพหลฯ เข้าไปยังหน้างาน จำเป็นต้องมีการจัดการจราจรเป็น one way และเส้นทางคับแคบ ดังนั้น จึงต้องมีการขยายพื้นที่ออกมา และรวมไปถึงเส้นทางลำเลียงไปยังลาน ฮ. ซึ่งต้องดูแล-อำนวยความสะดวกใหักับทุกๆฝ่าย เพราะมีรถใหญ่ๆ เช่นรถโมบาย รถปั่นไฟ รถขนดิน ฯลฯ ทำให้ต้องมีแบ่งกำลังจัดจุดตรวจต่างๆ มากมาย

อีกส่วนหนึ่งคือการจัดระเบียบสื่อฯ เมื่อมีสื่อมีเยอะ ก็เลยตอ้งมีการจัดระเบียบกัน ซึ่งหลังจากนำสื่อมาด้านนอกแล้ว ทำให้การทำงานง่ายขึ้นด้วย ในด้านอาชญากรรมก็ได้การดูแลทรัพย์สินของส่วนต่างๆ นะครับ ซึ่งก็ได้ดูแล เฝ้าระวัง พบเหตุ 3 คดีด้วยกัน ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือภารกิจดูแลชาวต่างชาติ ที่มาร่วมในภารกิจนี้ ได้จัดจนท. ตม. เข้ามาช่วยเหลือต่างๆ กับชาวต่างประเทศที่มาช่วยงานเราโดยชาวต่างประเทศที่เข้ามาช่วยเรานั้น ถือเป็นอาคันตุกะของเราก็ต้องดูแล