สนช.ผ่าน 'ร่างพรบ.สงฆ์' 3 วาระรวดด้วยเสียงเอกฉันท์

สนช.ผ่าน 'ร่างพรบ.สงฆ์' 3 วาระรวดด้วยเสียงเอกฉันท์

ที่ประชุม สนช. ผ่านร่าง "พ.ร.บ.สงฆ์" 3 วาระรวด ด้วยเสียงเอกฉันท์ "วิษณุ" แจงมุ่งถวายพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์ ทรงโปรดตั้ง กรรมการมส. ย้ำเพื่อเป็นการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ ชี้จุดอ่อนมส. คือ กรรมการฯบางคนมีปัญหาทางคดีความ ลดศรัทธาจากปชช.

ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม ได้รับหลักการ พร้อมให้ความเห็นชอบอย่างเอกฉันท์ 217 เสียงหลังพิจารณาเนื้อหาแบบ 3 วาระรวด ต่อ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คณะสงฆ์ (ฉบับที่... )พ.ศ.... ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้นำเสนอ โดยสาระส่นใหญ่ไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ยกเว้นการเติมถ้อยคำเพิ่มเติมให้เนื้อหามีความสมบูรณ์เท่านั้น

lores_20180705124159673

โดย วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ชี้แจงต่อที่ประชุม ว่า ข้อเรียนกร้องของประชาชนให้เรียกร้องปฏิรูป ที่เรียกว่าปฏิรูปศาสนา, ปฏิรูปคณะสงฆ์ ข้อเท็จจริง คือ การปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ ดังนั้นสิ่งที่คิดเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นพยายามหาวิธีและกลไก แต่อาจถูกมองว่าฆราวาสที่จะปฏิรูปคณะสงฆ์นั้นไม่มีความชอบธรรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอหรือไม่ จึงได้ข้อยุติว่า สิ่งที่ควรทำ เพื่อให้การปฏิรูปคณะสงฆ์ได้แท้จริง คือ คณะสงฆ์ ขณะที่ฆราวาสเป็นเพียงผู้เสนอแนะเท่านั้น ดังนั้นร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ จึงเป็นส่วนของการวางหลักการที่เกี่ยวกับคณะสงฆ์ไทยเท่านั้น

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า สำหรับแนวทางการปฏิรูปและจัดระเบียบคณะสงฆ์ นั้นมีข้อเสนอแนะที่หลากหลาย แต่รัฐบาลมองว่ากลไกที่สามารถขับเคลื่อนและบัญชาเรื่องดังกล่าว ได้ คือ คณะกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) จำนวน 21 รูป แต่ที่ผ่านมา กรรมการ มส. มีจุดอ่อน สำคัญ คือ กรรมการ มส. ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นโดยตำแหน่ง มีอายุมาก ไม่สามารถเข้าประชุม มส. ได้ และ กรณีที่กำหนดวาระดำรงตำแหน่งของ มส. แม้กฎหมายกำหนดให้เป็นได้คราวละ 2 ปี แต่ข้อเท็จจริงพบว่าตามธรรมเนียมและภิกษุจะมีความเกรงใจ หากไม่มีข้อบกพร่องยังเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่ทำงานต่อไป แต่กรณีดังกล่าวกรรมการ มส. อาพาธระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นหลายสิบปี

lores_20180705124200979

หากมุ่งหวังให้ มส. เป็นผู้นำในการปฏิรูป ต้องเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และที่มาใหม่ เดิมไม่ได้คิดถึงเรื่องที่มา คิดแค่คุณสมบัติ แต่ระยะหลังเกิดปัญหา กรรมการ มส. มีปัญหาต้องคดี ถูกกล่าวหา คดีความนั้นจะเป็นอย่างไรดำเนินต่อไปทั้งฝ่ายวินัยสงฆ์ และกระบวนการยุติธรรม แต่ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนด้านการจัดระเบียบปกครองคณะสงฆ์ตามรูปแบบปัจจุบัน ทำให้คิดได้ถึงเรื่องการแก้ไขที่มา และได้คำตอบหลังจากที่ดูกฎหมายคณะสงฆ์ โบราณราชประเพณี และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.24561 ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และ ถอดถอนฐานันดรศักดิ์ ซึ่งหมายถึง ฐานันดรศักดิ์เจ้า และฐานันดรศักดิ์พระ จึงได้ข้อสรุปว่า ต้องแก้ไขกฎหมาย นายวิษณุ ชี้แจง

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่าสำหรับข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปคณะสงฆ์ ที่หลายฝ่ายมองว่า มีเรื่องสำคัญแต่ไม่ทำ นั้น ตนขอชี้แจงว่าต้องใช้เวลาศึกษา และรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายมากกว่าที่สามารถทำได้ มากกว่าการเสนอแก้ไข มส. ฐานะองค์กรปกครองปกครอง เพื่อให้ มส. ได้รับความเคารพ ศรัทธา เชื่อถือ ที่มาจากที่มาซึ่งได้รับความไว้วางใจ ดังนั้นควรจึงย้อนกลับไปใช้ที่มา ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเหมือนในอดีต ส่วนการรับฟังความเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ นั้นได้ดำเนินการรับฟัง 7 วันจากเดิมที่มติครม. ระบุ 15วัน เพื่อไม่ให้กระทบกับ กรรมการ สม. ชุดปัจจุบัน ที่จะครบวาระในเดือนกันยายน โดยการรับฟังได้ทำอย่างเข้มข้นจากฆราวาส, สงฆ์ และ สำนักพระราชวัง ผู้บริหารราชการแผ่นดิน เจ้าหน้าที่

lores_20180705124200175

นายวิษณุ ชี้แจงส่วนท้ายด้วยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบ มส. เพื่อเป็นองค์กรทำหน้าที่เชิงปฏิรูปและขับเคลื่อนการปฏิรูปต่อไป ทั้งนี้หลักการของร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ได้แก้ไขจำนวนของกรรมการ มส. ที่กฎหมายเดิมกำหนดให้มี 21 รูป ไม่เปลี่ยนแปลงวาระดำรงตำแหน่ง เพียงแต่กรรมการ มส. จะเป็นไปตามพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา ส่วนที่ร่างกฎหมายกำหนดให้นายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น เป็นไปตามหลักการปกติของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ให้อำนาจนายกฯ ฐานะนักการเมืองแทรกแซง สอดแทรกเข้ามาเสนอแนะ หรือขอมีส่วนแต่งตั้ง ดังนั้นการแต่งตั้ง กรรมการ มส. จึงเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นระบบที่แก้ไขขอให้คณะสงฆ์ ฆราวาสเข้าใจว่าระบบมุ่งถวายให้พระมหาษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจส่วนนี้โดยแท้